3 ม.ค. 2023 เวลา 04:45 • ข่าว

ฟ้องทางปกครอง เรื่อง PDPA อย่างไร

การถูกละเมิดทาง PDPA นั้น อย่างที่ทราบกันดีว่าสามารถฟ้องกันได้ทั้งแบบอาญา แพ่ง และปกครอง ขึ้นอยู่กับรูปแบบของการถูกละเมิด ซึ่งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถเลือกที่จะฟ้องในรูปแบบที่เหมาะสมได้ แล้วการถูกละเมิดแบบไหนที่เข้าข่ายการ ฟ้องทางปกครอง และขั้นตอนการฟ้องร้องทางปกครองจะต้องทำอะไรบ้าง
ความผิดทางปกครองของ PDPA
PDPA กำหนดโทษทางปกครอง ตามมาตรา 82-87
ปรับไม่เกิน 1 ล้านบาทในกรณีต่อไปนี้
-ไม่ขอความยินยอมให้ถูกต้อง ไม่แจ้งรายละเอียดให้เจ้าของข้อมูลทราบ ไม่ให้เจ้าของข้อมูลเข้าถึงข้อมูลได้ตามสิทธิ
-ไม่จัดทำบันทึกรายการ
-ไม่จัดให้มีเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไม่จัดให้มีการสนับสนุนการทำหน้าที่ของ DPO
ปรับไม่เกิน 3 ล้านบาทในกรณีต่อไปนี้
-เก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากฐานทางกฎหมาย
-ไม่แจ้งวัตถุประสงค์ในการใช้งานใหม่
-เก็บข้อมูลเกินความจำเป็น
-ขอความยินยอมที่เป็นการหลอกลวงให้เข้าใจผิด
-ไม่จัดให้มีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสม
-ไม่แจ้งเหตุเมื่อมีการละเมิดข้อมูล
-โอนข้อมูลไปต่างประเทศโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
-ไม่ตั้งตัวแทนในราชอาณาจักร
ปรับไม่เกิน 5 ล้านบาทในกรณีต่อไปนี้
-เก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การ ฟ้องทางปกครอง
เนื่องจากคดีปกครองมีลักษณะพิเศษต่างไปจากคดีแพ่งและคดีอาญา ดังนั้น จึงต้องมีวิธีพิจารณาที่เหมาะสมกับสภาพของคดีปกครองเอง ซึ่งได้แก่วิธีพิจารณาแบบไต่สวน อันเป็นวิธีการที่มีหลักสำคัญในการให้อำนาจศาลในการแสวงหาข้อเท็จจริงได้ อย่างกว้างขวาง และเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาเอง
อย่างไรก็ดี การพิจารณาคดีปกครองยังคงต้องเคารพหลักทั่วไปของระบบวิธีพิจารณาคดี อันเป็นหลักการที่มุ่งเน้นให้มีการพิจารณาคดีอย่างยุติธรรมและมีประสิทธิภาพ เช่น การฟังความสองฝ่าย การพิจารณาไปตามกรอบของคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้อง การคัดค้านตุลาการ เป็นต้น
จากหลักการของกระบวนพิจารณาคดีปกครองดังกล่าวข้างต้น ได้นำมาสู่การวางระบบวิธีพิจารณาคดีปกครองที่ส่วนหนึ่งอันเป็นกรอบสาระสำคัญ ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และอีกส่วนหนึ่งกำหนดไว้ในระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543
ในเรื่องของ PDPA กรณีที่จะสั่งฟ้องศาลปกครองต้องเป็นคดีที่ทาง สำนักงานคณะกรรมการการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลพิจารณาแล้วว่าควรส่งฟ้อง
เราเองในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก็ต้องพิจารณาให้ดีว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเรานั้นมันมากมายเพียงพอที่จะฟ้องร้องคดีทางแพ่งหรือไม่ ทางที่ดีควรติดต่อ DPO ของหน่วยงานหรือบริษัทฯ ที่ทำการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของเราก่อนจะดีที่สุด บางทีเรื่องอาจจะไม่ต้องถึงขั้นขึ้นโรงขึ้นศาลก็ได้
โฆษณา