3 ม.ค. 2023 เวลา 03:01 • หุ้น & เศรษฐกิจ
7 หัวข้อใน Fund Fact Sheet
Fund Fact Sheet เป็นการสรุปข้อมูลสำคัญที่ต้องรู้ก่อนลงทุนในกองนั้น ภายใน 2-3 หน้า ถ้าเราจะลงทุนในกองทุนรวมนั้น เราต้องอ่านเพื่อเข้าใจสิ่งที่เราจะลงทุนนะ
1. ประเภท/กลุ่มกองทุน ข้อมูลกองทุน
เพื่อให้เรารู้ภาพรวมก่อนว่า กองลงทุนในสินทรัพย์อะไร เช่น ลงทุนในหุ้น/ตราสารหนี้ ในไทยหรือต่างประเทศ จัดอยู่ในกลุ่มกองทุนไหน จัดตั้งเมื่อไหร่ จ่ายปันผลไหม
2. นโยบายและกลยุทธ์การลงทุน
นโยบายการลงทุนของกองทุนนั่นเอง เช่น ลงทุนในหุ้น หรือตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ หรือหน่วยลงทุนกองทุนรวม เป็นกองแบบ active หรือ passive fund
ถ้ากองทุนแบบ active คือ มุ่งหวังให้ผลตอบแทนสูงหว่าดัชนีชี้วัด ส่วนถ้าเป็นกองทุนแบบ passive คือ มุ่งหวังผลตอบแทนตามดัชนีชี้วัด ซึ่งกองทุนแบบ active ก็มักจะมีค่าธรรมเนียมสูงกว่าแบบ passive fund
3. ระดับความเสี่ยงกองทุน
ความเสี่ยงจะแบ่งตามสินทรัพย์ ที่กองลงทุน มี 8 ระดับ
ระดับ 1-4: เป็นตราสารหนี้
ระดับ 5: กองทุนผสมตราสารหนี้และหุ้น
ระดับ 6-7: ลงทุนในหุ้นเป็นหลัก
ระดับ 8: สินทรัพย์ทางเลือก
4. ผลการดำเนินงานและดัชนีชี้วัด
ะมีแสดงถึงผลการดำเนินงานที่ผ่านของกอง โดยเทียบกับดัชนีตัวชี้วัด และเทียบกับค่าเฉลี่ยของกองทุนในกลุ่มเดียวกัน ซึ่งเวลาที่เราดูผลงานของกองทุนที่เราสนใจจะลงทุนนั้น ควรดูด้วยว่าเมื่อเทียบกับตัวเทียบทั้งกับ ดัชนีชี้วัด และเทียบกับกลุ่มเป็นยังไง
5. สัดส่วนประเภททรัพย์สิน และทรัพย์สินที่ลงทุน 5 อันดับแรก
แสดงลักษณะสินทรัพย์ที่กองลงทุน และมีสัดส่วนเป็นเท่าไหร่ของ NAV และแสดงสินทรัพย์ที่ลงทุน 5 อันดับแรก ซึ่งมักจะเป็นทรัพย์สินที่กองลงทุนเป็นส่วนใหญ่ของพอร์ต ถ้าเราอยากอ่านรายละเอียดในการลงทุนของกองทุน เราต้องไปอ่านในรายงานรอบ 6 เดือน / ประจำปี
6. ค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมมีผลกระทบต่อผลตอบแทนที่คุณจะได้รับ ค่าธรรมเนียมจะแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่
-ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากกองทุน คือจะหักจากทรัพย์สินของกองโดยตรงที่เราเรียก total expense ratio เป็นค่าธรรมเนียมที่มีผลมากต่อผลตอบแทนที่เราจะได้รับ ซึ่งจะเป็นค่าธรรมเนียมบริหารจัดการกองทุน ผู้ดูแลผลประโยชน์ และอื่นๆ ค่าธรรมเนียมนี้เขียนเป็น % ต่อปี ซึ่งทยอยหักเฉลี่ยเป็นรายวันนะ
-ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุนโดยตรง คือ ค่าธรรมเนียมซื้อ-ขาย-สับเปลี่ยน บางกองเก็บ บางกองไม่เก็บ บางกองมีขั้นต่ำด้วย
7. ข้อมูลสถิติ และข้อมูลอื่นๆ
Maximum drawdown, Sharpe ratio, ค่า Alpha, Beta จะมีเสดงไว้ด้วย
Maximum drawdown: เปอร์เซ็นต์ผลขาดทุนสูงสุดของกองทุนรวมในระยะเวลา 5 ปี ย้อนหลัง บอกว่าเจ็บประมาณนี้รับได้ไหม
Sharpe ratio: ผลตอบแทุนส่วนเพิ่มของกองทุนรวมเมื่อเทียบกับความเสี่ยงจากการลงทุน เป็นการเทียบกับสินทรัพย์ที่ปราศจากความเสี่ยง
Alpha: ผลตอบแทนส่วนเพิ่มของกองทุนรวมเมื่อเทียบกับดัชนีชี้วัด
Beta: ระดับและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของอัตราผลตอบแทนของพอร์ตกองทุนรวม เทียบกับตลาด
สำหรับกองตราสารหนี้ จะมีบอกอายุคงเหลือเฉลี่ยของตราสารหนี้ของกอง และ Yield to Maturity (อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารหนี้โดยถือจนครบกำหนดอายุ)
ถ้าเป็นกองทุนที่ลงทุนต่างประเทศ: การป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (FX Hedging)
ส่วน ISIN และ Bloomberg code เพื่อไปหารายละเอียดเพิ่มเติม สำหรับกองทุนที่ไปลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ
Fund fact sheet ควรต้องอ่านก่อนที่เราจะลงทุนในกองทุนรวม อย่าแค่ฟังคนอื่นบอกว่า กองนี้ดีก็ซื้อเลย โดยที่ยังไม่ได้อ่านหนังสือชี้ชวนเลย เพราะมีรายละเอียดที่เราต้องรู้และเข้าใจให้ดีก่อนซื้อ อยู่ในนี้นะ
หมอยุ่งอยากมีเวลา พูดคุยเรื่องหุ้นและกองทุน เข้าใจง่าย ใช้ได้จริง
ติดตามความรู้ทางการเงินแบบเข้าใจง่าย
ในช่องทางอื่นๆ ได้ที่
#หมอยุ่งอยากมีเวลา #กองทุนรวม #หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ #FundFactSheet #alpha #beta #sharperatio #YieldtoMaturity #อายุคงเหลือเฉลี่ย #ตราสารหนี้ #FXHedging #ลงทุนกองทุนรวม #เริ่มลงทุนผ่านกองทุนรวม #ลงทุนเริ่มต้นด้วยกองทุนรวม
โฆษณา