4 ม.ค. 2023 เวลา 04:30 • ธุรกิจ
ตำนาน มาม่า มาช้ากว่า ยำยำ แต่วันนี้ ขายดีกว่า
พูดถึง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ก็ต้องบอกว่า คนไทยใช้คำว่า “มาม่า” แทนไปแล้ว เกือบ 100%
ซึ่ง มาม่า คือแบรนด์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ที่ถือกำเนิดมากว่า 50 ปีแล้ว โดยเครือสหพัฒน์
ซึ่งรู้หรือไม่ว่า มาม่า ไม่ใช่เจ้าแรก
แต่เป็น “ยำยำ” ที่มาก่อน และยังมี “ไวไว” ที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันด้วย
มาวันนี้ มาม่า คือเจ้าตลาด บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในไทย
และทำให้คนไทย ลืมคำว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไปเลย แล้วเรียกชื่อ มาม่า แทน
2
ตำนาน มาม่า เป็นมาอย่างไร ?
BrandCase จะเล่าเคสนี้ให้อ่านกัน แบบเข้าใจง่าย ๆ
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบรนด์ มาม่า ได้ถือกำเนิดขึ้นโดย คุณเทียม โชควัฒนา ผู้ก่อตั้ง เครือสหพัฒน์
ซึ่งปัจจุบัน เครือสหพัฒน์ เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภค
ของแบรนด์ดังต่าง ๆ ที่เราคุ้นเคยกันดี
1
ไม่ว่าจะเป็น
ผงซักฟอก เปา, แป้งเด็ก โคโดโม, สบู่ โชกุบุสซึ, ชุดชั้นใน WACOAL, เสื้อผ้าแบรนด์ ARROW, เครื่องสำอางแบรนด์ BSC Cosmetology
และหากพูดถึงตำนาน มาม่า ก็ต้องย้อนเวลากลับไปเมื่อ 50 ปีก่อน
ในตอนนั้น คุณเทียม ผู้ก่อตั้งเครือสหพัฒน์ ได้มองเห็นอนาคตต่อจากนี้ว่า อาหารชนิดแป้งพร้อมทานอย่างบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป จะต้องเติบโตขึ้นมากในไทยแน่ ๆ
เพราะประเทศไทยในช่วงนั้น เริ่มมีการตั้งถิ่นฐานกันเป็นชุมชนเมือง ซึ่งจะทำให้ผู้คนต้องใช้ชีวิตแบบเร่งรีบมากขึ้น
1
ซึ่งก็ต้องบอกว่า มาม่า ไม่ใช่แบรนด์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบรนด์แรก ที่ตีตลาดในประเทศไทย
โดยแบรนด์ดัง ๆ ก็คือ ซันวา และยำยำ
1
โดยบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรายแรกในประเทศไทยคือ ยี่ห้อ ซันวา ที่ต้องต้มก่อนกิน
ซันวา เริ่มวางขายในไทย เมื่อราวปี 2514
1
ต่อมา ยำยำ ได้นำเสนอในรูปแบบที่เติมน้ำร้อน แล้วทานได้ทันทีเป็นเจ้าแรก โดยเริ่มผลิตครั้งแรกเมื่อปี 2514 ผลิตและจัดจำหน่ายโดย บริษัท วันไทยอุตสาหกรรมการอาหาร จำกัด
1
ยำยำ พยายามฉีกแนว โดยใช้ตัว “ยำยำ จัมโบ้” ที่มีปริมาณมากกว่าเป็นตัวชูโรง และยังเพิ่ม Segment ไปยังกลุ่มเด็ก คือ ยำยำ ช้างน้อย ทำให้ ยำยำ ช้างน้อย เป็นผู้นำในตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปสำหรับเด็ก
1
เวลาไล่เลี่ยกัน ไวไว ก่อตั้งเมื่อปี 2515 ผลิตและจำหน่ายโดยบริษัท โรงงานผลิตภัณฑ์อาหารไทย จำกัด
1
ปัจจุบัน ไวไว จะมี แบรนด์ “ควิก” ที่เล่นกับไลฟ์สไตล์ของกลุ่มวัยรุ่นโดยตรง และใช้รสชาติจัดจ้านที่ฉีกออกไปจากรสต้มยำกุ้งของมาม่าเป็นตัวชูโรง
1
ส่วนบริษัท สหพัฒนพิบูล ของเครือสหพัฒน์ เมื่อเห็นโอกาส จึงได้ตัดสินใจร่วมทุนกับ บริษัทไต้หวันชื่อ เพรซิเดนท์ เอ็นเตอร์ไพรส์
ซึ่งเพรซิเดนท์ เอ็นเตอร์ไพรส์ คือผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
1
โดยในปี 2515 ได้ตั้งโรงงานผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในประเทศไทย
ซึ่งหลังจากดำเนินธุรกิจไปได้ 1 ปี เครือสหพัฒน์ ก็ได้ซื้อหุ้นทั้งหมดจากบริษัทไต้หวัน
จึงทำให้โรงงานแห่งนี้ เป็นของคนไทย 100%
1
โดยคุณเทียม ได้เลือกให้ คุณพิพัฒ พะเนียงเวทย์
เพื่อนร่วมก่อตั้งธุรกิจของคุณเทียม มาดูแลธุรกิจบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปต่อไป
ซึ่งก็ต้องเล่าย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ว่า คุณพิพัฒ ก็เคยศึกษาตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในประเทศไทยมาแล้ว ด้วยการออกสินค้าบะหมี่ ฮกเกี้ยน เพื่อมาตีตลาด
แต่ ฮกเกี้ยน ก็ไม่ค่อยประสบความสำเร็จมาก เนื่องจากสินค้ายังทำตลาดได้ไม่ดี และแบรนด์ยังไม่มีความชัดเจน
1
ต่อมาคุณพิพัฒเอง ก็ได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการขาย ยกเครื่องผลิตภัณฑ์ พร้อมกับตั้งชื่อแบรนด์ใหม่ว่า “มาม่า”
มาม่ารสชาติแรกที่ออกวางจำหน่ายคือ รสซุปไก่ โดยเริ่มวางจำหน่ายในปี 2516 ในราคาซองละ 2 บาท
2
ตั้งแต่มาม่าเริ่มออกไปตีตลาด ก็ได้รับความนิยมทันที
เนื่องจากรสชาติของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอันแปลกใหม่ ที่ถูกปากคนไทยมาก ๆ ในสมัยนั้น
4
ซึ่งคุณพิพัฒได้เล่าว่า เขาได้ยกเครื่องผลิตภัณฑ์ โดยต่อยอดจากบะหมี่ฮกเกี้ยนที่เคยทำมา ด้วยการส่ง มาม่า รสชาติต่าง ๆ ออกสู่ตลาด
โดยมาม่าจะต้องมีความชัดเจนในแต่ละรสชาติ และเน้นไปที่ความจัดจ้าน
3
อย่างเช่น ถ้าจะทำรสหมู เขาก็จะทำให้ออกมาเป็น รสชาติหมูสับไปเลย
และรสกุ้ง ก็จะต้องทำออกมาให้รสชาติเป็นต้มยำกุ้งไปเลย
1
มาม่า ได้รับความนิยม และมียอดขายแซงหน้า ไวไว ยำยำ และซันวา ที่ตีตลาดเมืองไทยมาก่อนเสียอีก
2
เพราะถ้าลองมาดู ส่วนแบ่งการตลาดของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในไทย ในปี 2565
อ้างอิงจากเว็บไซต์ Modernist
- มาม่า 45%
- ไวไว 24%
- ยำยำ 22%
1
สรุปกันอีกทีคือ มาม่า เกิดช้ากว่า ซันวา ยำยำ
และมาพร้อม ๆ กันกับ ไวไว
แต่วันนี้ กลายเป็น No.1 ครองตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในไทย
และตัวการันตีความสำเร็จของแบรนด์นี้
ก็คือการทำให้คนไทย ลืมคำว่า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป แล้วพูดคำว่า มาม่า แทนไปแล้ว..
โฆษณา