8 ม.ค. 2023 เวลา 23:50 • ธุรกิจ

#ขั้นตอน1: การหาค่า KPIV

KPIV หรือ Key Process Input Variable หมายถึงตัวแปรปัจจัยเข้าที่มีผลกระทบที่มีนัยสำคัญต่อ KPOV : Key Process Output Variable
ตัวอย่างเช่น การฉีดพลาสติก KPOV คุณลักษณะทางคุณภาพที่สำคัญได้แก่
 
#ขนาดชิ้นงาน
#ลักษณะปรากฏของชิ้นงาน
#ความแข็งแรงของชิ้นงาน
ตัวแปรปัจจัยเข้าที่สำคัญ(KPIV)ที่มีผลต่อ KPOV คือ
#อุณหภูมิการฉีดพลาสติก (Injection Temperature)
#เวลาการฉีด(Injection Time)
#ความดัน(Pressure)
 
เป็นต้น
หรือกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า KPOV
#คุณลักษณะทางคุณภาพที่สำคัญได้แก่
#ความหนาของการชุบ
#ลักษณะปรากฏของชิ้นงาน
ตัวแปรปัจจัยเข้าที่สำคัญ(KPIV)ที่มีผลต่อ KPOV คือ
#กระแสไฟฟ้า
#ความเข้มข้นของสารเคมีในแต่ละบ่อชุบ
#การทำความสะอาดชิ้นงานก่อนชุบ เป็นต้น
โดยการหาตัวแปรปัจจัยเข้าที่มีผลต่อคุณลักษณะที่สำคัญของผลิตภัณฑ์สามารถทำได้หลายวิธี เช่น
#การใช้ผู้เชี่ยวชาญ
#ผู้มีความรู้ประสบการณ์และเทคนิคการผลิต หรือ
#การระดมสมองของผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการ
#รวมทั้งการใช้เทคนิคทางสถิติ เช่น DOE : Design of Experiment การทดสอบสมมติฐาน Test of Hypothesis เป็นต้น
#ขั้นตอน2: การควบคุมค่า KPIVs
เมื่อองค์การสามารถหาตัวแปรปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมกระบวนการที่ก่อให้เกิดคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่สำคัญได้แล้ว
ซึ่งหมายถึงการหาค่าควบคุมตัวแปร(KPIVs) องค์การสามารถประยุกต์การใช้หลักการควบคุมค่าตัวแปรที่สำคัญ โดย
การประยุกต์ใช้แผนภูมิควบคุม แผนภูมิฮิสโตแกรม และการศึกษาค่า Cp, Cpk เพื่อควบคุมตัวแปรดังกล่าว
โดยทางทฤษฎีนั้น
เมื่อเราสามารถควบคุมตัวแปรปัจจัยเข้าให้มีความแปรปรวนของกระบวนการต่ำ จะส่งผลให้ความแปรปรวนของผลิตภัณฑ์มีค่าต่ำเช่นเดียวกัน
ซึ่งหมายถึงองค์การสามารถควบคุมกระบวนการให้ผันแปรภายใต้สาเหตุทั่วไป (Common Cause) ไม่เกิดความแปรปรวนหรือสาเหตุพิเศษ (Special cause) จนออกนอกค่าควบคุมหรือข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์
นอกจากนี้การควบคุมกระบวนการที่มีประสิทธิผล และสามารถส่งผลให้คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่สำคัญมีความสามารถกระบวนการที่เสถียร และมีความสามารถกระบวนการสูง
องค์การจะต้องคำนึงถึงการควบคุมปัจจัยเข้าเชิงคุณภาพร่วมด้วย ตัวอย่างเช่น
#การควบคุมการฝึกอบรมพนักงาน
#การตรวจสอบรับเข้าวัตถุดิบที่มีคุณภาพ
#การควบคุมประสิทธิภาพของเครื่องจักร เป็นต้น
#ขั้นตอนที่3: การเฝ้าติดตามค่า Cpk และ KPIV, KPOV อย่างต่อเนื่อง
การเฝ้าติดตามค่า Cpk และ KPIV, KPOV อย่างต่อเนื่องสามารถศึกษาในรูป
#แผนภูมิควบคุม
#การวิเคราะห์กราฟแนวโน้ม Trend line
#และมีการดำเนินการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
โดยการประยุกต์ใช้วัฎจักรเดมมิ่ง(Deming Cycle) Plan Do Check Action คือการทบทวนการควบคุมกระบวนการที่ผ่านมา การเปรียบเทียบความสามารถกระบวนการ (Benchmarking)
โดยผลจากการทบทวนจะนำไปสู่การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เช่น
#การออกแบบวิธีการเก็บข้อมูล
#การสุ่มตัวอย่างใหม่
#การวิเคราะห์หาค่าตัวแปร KPIVs ใหม่
หรือ
#การปรับปรุงเครื่องจักร
#การหาวัตถุดิบจากผู้ขายที่มีศักยภาพ
เป็นต้น
โฆษณา