7 ม.ค. 2023 เวลา 03:50 • ธุรกิจ
กรณีศึกษา ไทวัสดุ เครื่องจักรทำเงิน ของ CENTRAL RETAIL
2
ทุกวันนี้ เวลาที่เราขับรถออกไปย่านชานเมืองกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล หรือตามจังหวัดต่าง ๆ ก็มักจะเห็นห้างค้าปลีกวัสดุก่อสร้างอย่าง “ไทวัสดุ” อยู่ตามถนนเส้นใหญ่ ๆ
แต่หากย้อนกลับไปเมื่อ 20 ปีก่อน ตอนนั้นยังไม่มีชื่อ ไทวัสดุ เกิดขึ้นมา
7
จนกระทั่งเวลาต่อมา กลุ่มเซ็นทรัล ได้เห็นโอกาสในการเติบโต ของธุรกิจค้าปลีกวัสดุก่อสร้าง
ต่อเติม และตกแต่งที่อยู่อาศัย ในรูปแบบของ Warehouse Store
2
จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้กับกลุ่มเซ็นทรัล ในการสร้างแบรนด์ใหม่ มาจับตลาดนี้โดยเฉพาะ นั่นก็คือ “ไทวัสดุ”
เรื่องราวของ ไทวัสดุ ที่วันนี้อยู่ภายใต้ CENTRAL RETAIL ของกลุ่มเซ็นทรัล เป็นอย่างไร
BrandCase จะสรุปให้อ่านกัน แบบเข้าใจง่าย ๆ
1
ไอเดียการสร้าง ไทวัสดุ มีผู้ริเริ่มคนสำคัญ คือ คุณสุทธิสาร จิราธิวัฒน์
ซึ่ง ไทวัสดุ เปิดให้บริการสาขาแรก ที่อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ในปี 2553
โดยตั้งใจให้ ไทวัสดุ เป็นแหล่งรวมสินค้า และวัสดุอุปกรณ์ตกแต่งบ้าน แบบครบวงจร
สำหรับกลุ่มลูกค้าของไทวัสดุ ก็มีทั้ง ร้านค้าวัสดุก่อสร้างรายย่อย ผู้รับเหมาก่อสร้าง เจ้าของโครงการต่าง ๆ และลูกค้ารายย่อยที่เป็นเจ้าของบ้าน
ซึ่งแตกต่างจาก แบรนด์ค้าปลีกสินค้าเกี่ยวกับบ้าน ของกลุ่มเซ็นทรัลแบรนด์ก่อนหน้า ที่ชื่อว่า HomeWorks ที่เน้นจำหน่าย ของใช้ในบ้าน
1
กลยุทธ์หลักของไทวัสดุก็คือ จะต้องขายสินค้าในราคาถูกกว่าคู่แข่ง
และปรับจากห้างแบบติดแอร์ มาสู่โกดังค้าวัสดุแบบ Open air
ซึ่งตรงนี้ ก็จะทำให้ทางห้างสามารถลดต้นทุน เกี่ยวกับค่าไฟ ซึ่งเป็นค่าบริหารจัดการลงได้อีก
1
ต่อมาในปี 2555 ก็นับเป็นจังหวะที่ดี ของไทวัสดุ ที่มียอดขายเติบโตขึ้น หลังจากวิกฤติน้ำท่วมปี 2554
ซึ่งในตอนนั้นคนไทยมีความต้องการวัสดุก่อสร้าง และปรับปรุงบ้านมากขึ้น
6
ด้วยยอดขายที่เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ไทวัสดุ สามารถขยายสาขาได้เป็น 22 สาขา
ซึ่งนับว่า ไทวัสดุ ใช้เวลาเพียง 2 ปี ในการขยายสาขามากกว่า 20 แห่ง
โดยจะเน้นเจาะตลาดลูกค้าต่างจังหวัด
ซึ่งในปีเดียวกันนั้นเอง HomePro ก็ได้เห็นธุรกิจ ค้าวัสดุก่อสร้าง
และของตกแต่งบ้านแบบ DIY กำลังเติบโตเช่นเดียวกัน
2
จึงใช้โอกาสนี้ในการเปิดห้างค้าวัสดุก่อสร้าง
ภายใต้แบรนด์ใหม่ นั่นคือ “MEGA Home” เป็นแห่งแรกในปี 2556
4
โดยขายสินค้าเน้นไปที่วัสดุก่อสร้าง และอุปกรณ์ตกแต่งบ้าน
และเจาะตลาดลูกค้าในต่างจังหวัด แบบเดียวกันกับ ไทวัสดุ
4
จะเห็นได้ว่า ไทวัสดุ ของกลุ่มเซ็นทรัล ที่กำลังจะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ
ก็ต้องเจอกับคู่แข่งรายใหม่เพิ่มอีก 1 ราย นั่นคือ MEGA Home
1
อีกทั้งยังต้องเจอกับห้างคู่แข่ง ด้านวัสดุก่อสร้างจากต่างจังหวัด
ที่กำลังจะขยายสาขาไปทั่วประเทศอย่าง Dohome
และคู่แข่งรายสำคัญในตลาดต่างจังหวัด ก็คือ Global House ที่ครองหัวเมืองสำคัญในต่างจังหวัด และไม่ก้าวขาเข้ามาตั้งสาขา ในกรุงเทพมหานครเลย
หลังจากที่ได้ขยายสาขาออกไป 42 สาขา ห้างไทวัสดุ ก็ต้องเจอปัญหามากมายหลายอย่าง เช่น
- การจัดการสินค้าคงคลังที่ไม่ดีพอ
- การบริหารคนไม่ดีพอ
- ความเรียบร้อยต่าง ๆ ภายในห้างแต่ละสาขา
4
และที่น่าสนใจคือ ตอนที่เปิดเป็นโกดังค้าวัสดุแบบ Open air ก็เจอปัญหาสำคัญคือ มีนกเข้ามาในห้างเป็นจำนวนมาก
ทำให้หลังจากนั้น จึงได้ตัดสินใจทำเป็นห้างติดแอร์
2
เมื่อปัญหาทุกอย่างได้รับการแก้ไข และธุรกิจเริ่มเข้าที่เข้าทาง
ไทวัสดุ จึงขยายสาขาต่อไปอีกเรื่อย ๆ โดยจะขยายสาขาต่อไปในต่างอำเภอมากขึ้น เพื่อรองรับตลาดลูกค้าวัสดุก่อสร้าง
4
โดยวิธีขยายสาขา ก็จะดูจาก จำนวนประชากร และจำนวนบ้านที่อยู่ในพื้นที่นั้น ๆ ให้ลูกค้าสามารถเดินทางมาได้โดยใช้เวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมง
1
ทีนี้ลองมาดู ผลประกอบการของ ไทวัสดุ
บริษัท ซีอาร์ซี ไทวัสดุ จำกัด
ปี 2560 รายได้ 21,799 ล้านบาท กำไร 681 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 29,046 ล้านบาท กำไร 1,258 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 34,226 ล้านบาท กำไร 1,963 ล้านบาท
4
ซึ่งถ้านำผลประกอบการของ CENTRAL RETAIL มาเทียบดู
ปี 2564 รายได้ 195,654 ล้านบาท กำไร 59 ล้านบาท
9 เดือนแรก ปี 2565 รายได้ 171,098 ล้านบาท กำไร 3,864 ล้านบาท
5
แบบนี้ก็พอจะมองเห็นภาพว่า
ไทวัสดุ ก็คือหนึ่งเครื่องจักรผลิตเงิน ตัวสำคัญ ของบริษัทแม่ อย่าง CENTRAL RETAIL ..
3
-56-1 : แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 2545 บมจ.โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์
-56-1 : แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 2554 บมจ.โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์
-กรมพัฒนาธุรกิจการค้า บริษัท ซีอาร์ซี ไทวัสดุ จำกัด
โฆษณา