Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
VI จำเป็น
•
ติดตาม
9 ม.ค. 2023 เวลา 14:27 • หุ้น & เศรษฐกิจ
อัตราส่วนทางการเงินที่เกี่ยวกับหนี้สินของบริษัท
ปกติแล้ว เวลาอยากรู้ว่าบริษัทไหนหนี้มากหรือน้อย อัตราส่วนขั้นพื้นฐานที่นิยมดูกันก็คือ D/E คือเอา "หนี้สิน" หารด้วย "ส่วนของผู้ถือหุ้น" บริษัทไหนหนี้มากกว่าเงินของผู้ถือหุ้น แปลว่ากู้มามากแล้ว ต้องเพิ่มความระมัดระวัง
หรือหากจะพิจารณาให้ละเอียดกว่านั้น ก็เลือกเอาเฉพาะหนี้ที่มีดอกเบี้ย หรือที่เรียกว่า IBD/E (Interest bearing debt to Equity) ซึ่งไม่ควรเกิน 1 อันหมายถึงการ "สร้างหนี้เกินตัว"
IBD/E = หนี้สินทั้งหมดที่มี ภาระดอกเบี้ย ซึ่งไม่รวมหนี้สินตามสัญญาเช่า (Lease Liabilities) / ส่วนของผู้ถือหุ้นรวม (สินทรัพย์สุทธิ)
อย่างไรก็ตาม บางบริษัทแม้จะมีหนี้สินมาก แต่ก็มีความสามารถในการจ่ายชำระได้สบายๆ ดังนั้น หากอยากรู้ให้ลึกลงไปว่าบริษัทไหนจ่ายชำระหนี้ได้หรือไม่ได้ เราต้องใช้อัตราส่วนอีกตัวหนึ่งที่ชื่อว่า DSCR
DSCR หรือ Debt Service Coverage Ratio คำนวณโดยเอา EBITDA ซึ่งก็คือ EBIT หรือกำไรจากการดำเนินงาน บวกกลับด้วยค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย หารด้วยเงินต้นบวกดอกเบี้ยที่บริษัทต้องจ่ายชำระในแต่ละปี
ถ้าค่าที่ออกมามากกว่า 1 แปลว่าบริษัทสามารถเอากำไรในแต่ละปีมาชำระหนี้ได้สบายๆ แต่ถ้าน้อยกว่านั้น ก็ต้องระวังไว้ให้ดี เพราะอาจเกิดภาวะเงินขาดมือ ไม่มีเงินจะใช้หนี้ได้
หรือถ้าจะดูเฉพาะความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยอย่างเดียวโดยไม่นับเงินต้น ก็เปลี่ยนตัวหารเป็น ดอกเบี้ย โดยไม่รวมเงินต้นเข้ามาด้วย ซึ่งจะเรียกว่า ICR หรือ Interest Coverage Ratio
สมการหน้าตาแบบนี้ครับ
DSCR = EBITDA / เงินต้น + ดอกเบี้ย ที่ต้องชำระในปีนั้น
ICR = EBITDA / ดอกเบี้ย ที่ต้องชำระในปีนั้น
เหตุที่ทั้ง DSCR และ ICR ใช้ EBITDA เป็นตัวตั้งก็เพราะว่า ในการจ่ายชำระหนี้นั้น บริษัทใช้ "เงินสด" จ่าย แต่บางบริษัทอาจมีเงินสดเยอะ กำไรน้อย เนื่องจากต้องหักค่าเสื่อมฯ ค่าตัดฯ ออกไป ทั้งๆ ที่บริษัทไม่ได้เสียเงินสดส่วนนั้นออกไปจริง จึงต้องใช้ EBITDA ซึ่งเป็นกำไรที่บวกทั้งสองค่ากลับเข้ามาแล้วมาคิด
นักลงทุนเพียงแค่รู้จัก D/E, IBD/E, DSCR และ ICR สี่ตัวนี้ ก็สามารถวิเคราะห์หนี้สินและความสามารถในการจ่ายหนี้ของบริษัทได้ในระดับหนึ่งแล้ว
ยิ่งหากวิเคราะห์ปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น วงเงินกู้ อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลา รวมถึง นโยบายด้านหนี้สินของบริษัท ก็จะเพิ่มความแม่นยำในการประเมินหุ้นได้มากขึ้นครับ
CR.ClubVI
1 บันทึก
1
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย