10 ม.ค. 2023 เวลา 09:48 • สุขภาพ

ยาลดการหลั่งกรด

🎉Proton pump inhibitors (PPIs) เป็นยายับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของโปรตอนปั๊ม (proton pump) หรือเอนไซม์ hydrogen/potassium adenosine triphosphatase (H+/K+ ATPase) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำงานในขั้นตอนสุดท้ายของการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร
ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ เช่น omeprazole, esomeprazole, lansoprazole, dexlansoprazole, pantoprazole, rabeprazole
🎯ยาในกลุ่มนี้นำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางในการรักษาโรคหรือความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับกรดในกระเพาะอาหาร เช่น
รักษาโรคกรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux disease หรือ GERD) รักษาและควบคุมภาวะหลอดอาหารอักเสบมีแผล (erosive esophagitis)
รักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร (gastric ulcers)
รักษาโรคแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenal ulcers)
รักษาและป้องกันการเกิดแผลในทางเดินอาหารจากการใช้ยาบรรเทาอาการอักเสบในกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID-induced ulcers)
รักษาภาวะที่มีการหลั่งกรดมากเกิน (รวมถึง Zollinger-Ellison syndrome) รักษาการติดเชื้อ Helicobacter pylori โดยใช้ร่วมกับยาต้านจุลชีพ
‼️การใช้ยาในกลุ่มนี้อาจเสี่ยงต่อการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์หลายอย่างโดยเฉพาะเมื่อใช้เป็นเวลานาน เช่น
ลดการดูดซึมสารอาหาร
ลดการดูดซึมเหล็ก
ลดการดูดซึมวิตามินบี 12
เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ
เกิดภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำ
เพิ่มความเสี่ยงต่อกระดูกหัก
เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม
เกิดผลเสียต่อไต
ยับยั้งเอนไซม์ในกลุ่ม CYP450 จึงอาจเกิดปฏิกิริยากับยาได้หลายชนิด
ดังนั้นผู้ที่ใช้ยาดังกล่าวเป็นระยะเวลานาน​ พึงระวังปัญหา​ต่างๆที่อาจเกิดขึ้น​จากการใช้ยา​ ซึ่งสามารถขอคำปรึกษา​ได้จากเภสัชกร​ประจำ​ร้านยา
😀มีปัญหา​เรื่อง​การ​ใช้​ยา​เชิญ​ปรึกษา​เภสัชกร​
.
.
💢
.
.
💊ยาลดกรดกลุ่ม Proton pump Inhibitors (PPIs) ยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร.โดยจะออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ Proton pump ที่เซลล์ผนังของกระเพาะอาหารซึ่งทำงานในขั้นตอนสุดท้ายของการผลิตกรด เพื่อไม่ให้เกิดการหลั่งกรดเข้าสู่กระเพาะอาหาร
▶️การใช้ยาลดกรดกลุ่ม PPIs ในระยะสั้น พบอาการข้างเคียงที่ไม่รุนแรง ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดหรือไม่สบายท้อง แน่นท้อง ปวดศีรษะ เป็นต้น
ภาพจาก https://www.medslant.com/acid-reflux-medicine-the-side-effects-and-alternatives/ .
⚠️สำหรับกรณีที่ใช้ยาเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ ดังนี้
❗ผลต่อระบบทางเดินอาหาร เช่น
– เกิดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากกว่าปกติเมื่อหยุดใช้ยา พบได้ในผู้ที่ใช้ยาติดต่อกันนาน 8 สัปดาห์ หรือมากกว่า ดังนั้นในผู้ป่วยบางรายอาจต้องปรับลดขนาดยาลงก่อนหยุดยา
– เกิดการติดเชื้อในทางเดินอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อ Clostridium difficile ทำให้เกิดอาการท้องเสีย ซึ่งความรุนแรงอาจแตกต่างกันในแต่ละรายเนื่องจากการใช้ยาทำให้กระเพาะอาหารมีความเป็นกรดน้อย จึงมีโอกาสทำให้เชื้อนี้เจริญเติบโต
– การดูดซึมสารอาหารลดลง ทำให้เกิดการขาดวิตามินและแร่ธาตุ เช่น วิตามินบี 12 แคลเซียม และแมกนีเซียม
❗ผลต่อไต การใช้ยาเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดโรคไตเรื้อรังและการดำเนินของโรคแย่ลง ดังนั้นการใช้ยากลุ่มนี้เป็นเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุจึงควรมีการติดตามค่าการทำงานของไต หรือค่า Glomerular filtration rate (GFR)
❗ผลต่อระบบทางเดินหายใจ พบว่าผู้ที่ใช้ยาลดกรดกลุ่ม PPIs มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคปอดอักเสบ (Community acquired pneumonia) จากการที่กระเพาะอาหารมีความเป็นกรดน้อยลง​ ทำให้เชื้อ​ที่สะสมรวมอยู่บริเวณหลอดคอมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น​ จนลงไปสู่เนื้อปอดจนทำให้เกิดปอดอักเสบ
❗ผลต่อระบบจิตประสาท
การใช้ยาลดกรดกลุ่ม PPIs ในผู้สูงอายุเป็นเวลานานมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคสมองเสื่อม จากการสะสมของเบต้าอะไมลอยด์ (Beta-amyloid) ทำให้เกิดพยาธิสภาพของโรคอัลไซเมอร์​ได้
❗ผลต่อกระดูก การใช้ยาในระยะยาวและขนาดสูงอาจทำให้เสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน​ และพบความเสี่ยงของการเกิดกระดูกสะโพกและกระดูกไขสันหลังหักได้ ดังนั้นจึงควรระมัดระวังอย่างยิ่งในการใช้ยานี้ในกลุ่มผู้สูงอายุ
🧙‍♂️ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ในกลุ่มผู้สูงอายุเป็นเวลานาน ๆ โดยไม่ปรึกษาแพทย์ หรือหากจำเป็นต้องใช้ ควรพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อติดตามผลการใช้ยาและเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด
ภาพจาก https://makerx.com/ditch-your-ppi/ . .
👨‍🔬จากการศึกษาด้านความปลอดภัยของการใช้ยากลุ่ม PPIs ในระยะยาว พบว่า อาจส่งผลทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพได้หลากหลายและทำให้โรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่​ อาการแย่ลงเมื่อหยุดยา​ แม้ว่าผลเสียที่เพิ่ม
ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆนั้นไม่สูงนัก แต่เมื่อเกิดโรค ก็อาจทำให้เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ ดังนั้นจึงควรระวังการใช้ยากลุ่ม PPIs ในระยะยาว โดย
1️⃣ใช้ยากลุ่ม PPIs เท่าที่จำเป็นอย่างสมเหตุสมผล ในบางกรณีอาจพิจารณาใช้ยา H2RAs แทน
2️⃣ใช้ยาขนาดต่ำที่สุดที่ให้ผลในการรักษา
3️⃣ป้องกันผลข้างเคียงของยา โดย
3.1.แนะนำการดูแลสุขภาพที่ไม่ใช้ยา ซึ่งจะช่วยให้ใช้ยาน้อยลงได้
3.2.ระวังเรื่องความสะอาดของอาหาร
3.3.พิจารณาเสริมวิตามินบี 12 แคลเซียม แมกนีเซียม และเหล็กอย่างเหมาะสม
4️⃣เฝ้าระวังผลข้างเคียงของยาที่อาจเกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด ได้แก่
4.1.อาการท้องร่วงร่วมกับมีไข้
4.2.ภาวะซีด
4.3.ค่าการทำงานของไตลดลง
4.4.อาการปวดเค้นหัวใจ
4.5ภาวะสมองเสื่อม โดยเฉพาะใน(ผู้สูงอายุ)
4.6.ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง (โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ผู้ป่วยที่ใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์หรือ หญิงวัยหมดประจำเดือน)
👩‍🔬ยาลดกรด PPI นั้นจริงๆมีประโยชน์สามารถใช้ได้ แต่ไม่ควรใช้ยาเป็นเวลานานเกินไป ใช้เมื่อมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน มีการกำหนดเวลาการใช้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลข้างเคียงตามมา
😀มีปัญหา​เรื่อง​การ​ใช้​ยา​เชิญ​ปรึกษา​เภสัชกร​
.
.
💢
.
.
ผลระยะยาวของยา Proton Pump Inhibitors
.
.
Acid suppressants use and risk of atherosclerotic cardiovascular disease in middle-aged and older adults
Evidence of association between proton pump inhibitors (PPIs) and atherosclerotic cardiovascular disease (ASCVD) is lacking.
PPI use was related to a higher risk of ASCVD.
Histamine‐2 receptor antagonists (H2RAs) use was not related to the risk of ASCVD.
Effect of different types of PPIs on the risk of ASCVD was various.
Higher ASCVD risks were observed among PPI users without indications for medication.
Published:September 06, 2022
Proton Pump Inhibitors Use and Risks of Cardiovascular Disease and Mortality in Patients with Type 2 Diabetes: A Prospective Study in the UK Biobank
During median follow-up of about 11 years, regular use of a PPI by people with type 2 diabetes was significantly linked with a 27% relative increase in the incidence of coronary artery disease compared with nonuse of a PPI, after full adjustment for potential confounding variables.
The results also show PPI use was significantly linked after full adjustment with a 34% relative increase in myocardial infarction, a 35% relative increase in heart failure, and a 30% relative increase in all-cause death, say a team of Chinese researchers in a recent report in the Journal of Clinical Endocrinology and Metabolism.
The authors of the report speculate that mechanisms that might link PPI use and increased CVD and mortality risk could include changes to the gut microbiota and possible interactions between PPIs and antiplatelet agents.
March 2022
Proton Pump Inhibitors Directly Block hERG-Potassium Channel and Independently Increase the Risk of QTc Prolongation in a Large Cohort of US Veterans
this study provides, for the first time, strong evidence that PPIs can per se promote heart rate–corrected QT interval prolongation, by directly inhibiting hERG function. A careful evaluation of the benefit/risk ratio is recommended whenever PPIs are administered in subjects with other QT-prolonging risk factors, even in the absence of hypomagnesemia.
PPI users had more QT-prolonging risk factors compared with PPI nonusers. Patients with multiple comorbidities are more likely to have polypharmacy including PPIs. The additional use of a PPI may be particularly harmful to these patients, more frequently burdened by preexisting QT-prolonging risk factors (and drug-drug interactions), because of synergistic effects on the ventricular repolarization.
In fact, by specifically focusing on the bivariate interaction existing between PPIs and each one of the other risk factors present, we found that in most cases, the PPI administration was associated with additional and significant QT-prolonging effects. Accordingly, multivariate adjustments for concomitant risk factors attenuated PPI-associated ORs for QTc prolongation.
POSTED 2023.01.10
ยาที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะ
ยาที่ทำให้เกิดกระดูกพรุน
โฆษณา