19 ม.ค. 2023 เวลา 02:30 • ธุรกิจ
สรุป วิธี สร้าง Passive Income จาก Canva
Canva แพลตฟอร์มกราฟิก ที่มีผู้ใช้งานมากถึง 85 ล้านคน
และยังเป็นยูนิคอร์นที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก
ด้วยมูลค่าบริษัทสูงถึง 1.4 ล้านล้านบาท
หรือถ้าเทียบให้เห็นภาพชัด ๆ คือ มูลค่าของบริษัท Canva มากยิ่งกว่ามูลค่าของบริษัทที่ใหญ่สุดในตลาดหุ้นไทย อย่าง DELTA เสียอีก
ซึ่งนอกจาก Canva จะช่วยให้การออกแบบงานกราฟิกต่าง ๆ เป็นเรื่องง่ายสำหรับคนทั่วไปแล้ว Canva ยังเป็นช่องทางสร้างรายได้อีกด้วย
แล้ว Canva มีช่องทางไหน ให้ผู้ใช้งานสร้างรายได้ได้บ้าง ?
ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง..
5
อย่างที่ทราบกันดีว่า Canva จะมีเทมเพลตให้เลือกหลากหลาย
ตั้งแต่การ์ด, เรซูเม, โปสเตอร์, โลโก ไปจนถึงปฏิทิน
โดยที่ไม่จำเป็นว่าผู้ใช้งานจะต้องมีสกิลด้านกราฟิก ก็สามารถทำ ArtWork ให้ออกมาสวย ดูเป็นมืออาชีพได้
ด้วยคุณสมบัติของ Canva ที่ “ใคร ๆ ก็ออกแบบเองได้” จึงทำให้หลายคนมองว่า อาจจะทำให้ Adobe Photoshop และ Illustrator สั่นคลอนทีเดียว
อย่างไรก็ตาม Canva ไม่ได้คิดที่จะแข่งขันกับพี่ใหญ่ ที่อยู่มาก่อน
แต่ Canva กลับมองเห็นโอกาส ที่จะเติบโตไปด้วยกัน
2
เนื่องจาก เทมเพลตส่วนใหญ่ของ Canva มักถูกสร้างผ่าน Adobe Photoshop และ Illustrator
ดังนั้น เรื่องนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นไอเดียของ “Canva Creators” ที่เปิดให้เราสามารถนำชิ้นงานของตัวเองไปลงขายใน Canva ได้
โดยเจ้าของผลงานจะได้รับ ค่าตอบแทน ทุก ๆ ครั้งที่มีคนคลิก นำชิ้นงานของตนไปใช้ และ Export ไฟล์
1
ดังนั้น Canva จึงกลายเป็นช่องทางหารายได้แบบ Passive ให้กับสายอาชีพศิลปะ และการออกแบบ
คล้ายกับวงการ Content Creator ที่อัปโหลดผลงานของตัวเองลง YouTube, Spotify, หรือ Blockdit เพื่อสร้างรายได้ตามยอดวิว, ยอดสตรีม และยอดอ่านนั่นเอง
โดย Canva ได้แบ่งหมวดครีเอเตอร์ ออกเป็น 3 หมวด ได้แก่
1
- Template Creators
สำหรับผลงานที่เป็นเทมเพลต โดยครีเอเตอร์ในหมวดนี้ต้องแนบพอร์ตโฟลิโอ ให้ทีมงานพิจารณา ก่อนจะอัปโหลดผลงานลงแพลตฟอร์มได้
1
- Element Creators
สำหรับชิ้นงานที่เป็น รูปกราฟิก, ภาพถ่าย, ตัวการ์ตูน, ฟอนต์, คลิปวิดีโอ, เสียง เป็นต้น
- Specialty Creators
ถือเป็นหมวดใหม่ล่าสุด สำหรับชิ้นงานที่เฉพาะทาง
โดยตอนนี้ Canva เริ่มเปิดพื้นที่ให้คนที่อยู่ในแวดวงการศึกษา
เช่น ครูอาจารย์ มาผลิตชิ้นงานที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน
ส่วนเกณฑ์ในการพิจารณาชิ้นงานนั้น มีทั้งเรื่องความสวยงาม, คุณภาพของชิ้นงาน (ขนาดและความละเอียดของแต่ละองค์ประกอบ) และคอนเซปต์ของชิ้นงานต้องคำนึงถึงการนำไปใช้งานของผู้ใช้งาน
1
นอกจากนี้ Canva ยังมีอีกช่องทางหารายได้ สำหรับคนที่ไม่ใช่สายออกแบบ นั่นก็คือ “Affiliate Program”
โดยอินฟลูเอนเซอร์ หรือเจ้าของสื่อ จะได้รับค่าตอบแทน เมื่อมีคนคลิกสมัคร Canva Pro จาก ลิงก์ของตน
ซึ่งคนที่จะมาเข้าร่วมโปรแกรม Canva Affiliate ได้นั้น จะต้องเป็นอินฟลูเอนเซอร์ สายดิไซน์ หรือมีช่องทางการสอนทางออนไลน์ เกี่ยวกับดิไซน์
แต่ถ้าไม่ใช่สายดิไซน์เต็มตัว ก็ต้องมีช่องทาง ที่มีเรตเข้าชม มากกว่า 1 ล้านครั้งต่อเดือน และมีเนื้อหาเกี่ยวกับการดิไซน์อยู่บ้าง เพื่อให้มั่นใจว่า เหล่าผู้ติดตามจะมีความสนใจในเรื่องงานดิไซน์มากพอ จนยอมควักกระเป๋ามาสมัครสมาชิกกับ Canva นั่นเอง..
1
สรุปแล้ว Canva ก็ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางการสร้างรายได้ที่น่าสนใจ
และในขณะเดียวกัน Canva ก็ยังได้ประโยชน์จากการที่มีคนมาช่วยป้อนผลงาน และมีผู้ใช้งานใหม่ ๆ เข้ามาอย่างไม่ขาดสาย โดยที่ Canva แทบจะไม่ต้องลงทุนลงแรงเองมากนัก..
1
โฆษณา