12 ม.ค. 2023 เวลา 10:47 • การศึกษา

การทำหนังสือ

หนังสือ มี 2 รูปแบบ คือแบบที่ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสาร และแบบที่ใช้สำหรับการยินยอม หรือแสดงเจตนาฝ่ายเดียว
📚 หนังสือแบบที่ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสาร รูปแบบคล้ายกับหนังสือราชการภายนอก
ส่วนสัญญา เป็นบันทึกการตกลงระหว่างคู่สัญญา ตั้งแต่ 2 ฝ่าย ขึ้นไป เพื่อให้มีผลผูกพันทางกฎหมาย
ดังนั้น การทำหนังสือกับการทำสัญญา จึงแตกต่างกัน
การทำหนังสือในทางกฎหมาย ที่สำคัญ มีดังนี้
🗞🗞🗞🗞🗞🗞🗞🗞🗞🗞🗞🗞🗞🗞🗞
1.หนังสือบอกกล่าวทวงถาม ✨(ออกสอบทุกครั้ง)
หนังสือบอกกล่าวทวงถาม เป็นเอกสารที่เจ้าหนี้ หรือผู้ที่จะใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งในทางกฎหมาย บอกกล่าวไปยังลูกหนี้ หรือบุคคลที่ทำให้เสียสิทธิใด ๆ รับทราบว่าตนจะต้องปฏิบัติตามคำบอกกล่าวก่อน หากเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามจะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
หนังสือบอกกล่าวทวงถาม ใช้รูปแบบเดียวกันกับจดหมายราชการภายนอกทั่วไป ✉️ 📮
รายละเอียดในการทำหนังสือบอกกล่าวทวงถาม
1. สถานที่ที่ทำ
2. วัน เดือน ปี ที่ทำ
3. เรื่อง (สอดคล้องกับเนื้อหา)
4. เรียน (ชื่อลูกหนี้ หรือบุคคลที่ถูกบอกกล่าว)
5. อ้างถึง (นิติกรรมสัญญา, เอกสารที่ผู้รับมีอยู่แล้ว)
6. สิ่งที่ส่งมาด้วย (เอกสารที่ฝ่ายผู้รับไม่เคยมีมาก่อน)
7. เนื้อหา (โดยทั่วไปจะมี 2 หรือ 3 ย่อหน้า แล้วแต่กรณี ๆไป)
👉 ย่อหน้าแรก > บรรยายนิติสัมพันธ์
👉 ย่อหน้าที่สอง > ลูกหนี้ หรือบุคคลที่ถูกบอกกล่าว ได้ปฏิบัติผิดนัด หรือผิดสัญญาอย่างไร
👉 ย่อหน้าที่สาม > แนะนำตัว เจ้าหนี้ หรือผู้บอกกล่าว มีความประสงค์อย่างไร
8. คำลงท้าย
9. ลงนาม
* หนังสือบอกกล่าวประเภทต่างๆ จะมีระยะเวลาในการกำหนดให้อีกฝ่ายปฏิบัติตามสัญญาแตกต่างกันออกไป เช่น บอกเลิกสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ ต้องกำหนดระยะเวลาให้ 1 งวด (30 วัน) หรือบอกกล่าวบังคับจำนองต้องบอกกล่าวให้ผู้จำนองไถ่ถอนจำนองภายในระยะเวลาอย่างน้อย 60 วัน
  • การฟ้องคดีไม่จำเป็นต้องมีหนังสือบอกกล่าว [โนติ๊ส] เสมอไป แต่เพื่อตัดปัญหา ไม่ต้องคิดมาก มีหนังสือบอกกล่าวไปก่อนจะดีกว่า
  • การบอกกล่าวเรียกให้ ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ > ไม่สามารถให้ลูกหนี้ชั้นต้นและผู้ค้ำประกัน “ร่วมกัน หรือแทนกัน รับผิดชำระเงิน” ได้อีกต่อไป [ม.681/1 แก้ไขใหม่กำหนดห้ามไว้]
  • เนื้อหาตามข้อที่ 7 ต้องครบถ้วนตั้งแต่ต้นจนจบ อ่านแล้วเข้าใจง่าย ไม่ต้องตีความ ไม่สองแง่สองง่าม
  • การส่งหนังสือติดต่อทวงถาม ต้องตรวจสอบที่อยู่ผู้รับ และต้องส่งไปรษณีย์ลงทะเบียน “ตอบรับ”
  • เพื่อประโยชน์ในการประสานงาน ควรให้เบอร์โทรศัพท์สำนักงานทนายความ ไปในท้ายหนังสือ
2.รูปแบบหนังสือร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน
3.รูปแบบหนังสือให้คำปรึกษาทางกฎหมาย
ออกสอบ ตั๋วปี 3/2566
4.รูปแบบหนังสือรับสภาพหนี้
หนังสือรับสภาพหนี้ จะลงชื่อผู้รับสภาพหนี้ฝ่ายเดียวก็ได้ หรือจะลงชื่อทั้งสองฝ่ายก็ได้ หากมีพยานลงชื่อพยานด้วย
กรณีเป็นนิติบุคคล กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อ จะต้องมีตราประทับ
5.รูปแบบหนังสือมอบอำนาจ (ออกสอบบ่อย)
ป.แพ่ง ม.798 วรรคแรก > กิจการอันใดท่านบังคับไว้โดยกฎหมายว่าต้องทำเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้น ก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วย
6. รูปแบบของหนังสือพินัยกรรมมี 5 แบบ ได้แก่
1.พินัยกรรมแบบธรรมดา เป็นการทำเป็นหนังสือโดยจะเขียนหรือพิมพ์ก็ได้ และต้องลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำขึ้น ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน และพยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น
2.พินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ เป็นการเขียนด้วยลายมือของผู้ทำพินัยกรรมเองทั้งฉบับ ไม่ต้องมีพยานก็ได้ แต่ต้องลงวัน เดือน ปี และลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรม
3.พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง เป็นการถ้อยคำต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายเมือง (เช่น เจ้าพนักงานการทะเบียน) เพื่อให้บันทึกความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรมให้อยู่ในเอกสารฝ่ายเมือง โดยต้องมีพยานอย่างน้อยสองคน
4.พินัยกรรมทำเป็นเอกสารลับ เป็นการทำเป็นหนังสือโดยจะเขียนหรือพิมพ์ก็ได้ และต้องลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรม เจ้าหน้าที่ฝ่ายเมืองจะไม่ได้อ่านข้อความในหนังสือ แต่จะปิดผนึกและให้ผู้ทำพินัยกรรม, เจ้าหน้าที่, และพยาน (ถ้ามี) ลายมือชื่อไว้หน้าซอง
5.พินัยกรรมด้วยวาจา เป็นการถ้อยคำต่อหน้าพยานสองคน โดยต้องอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นอันตรายหรือฉุกเฉิน เช่น อยู่ในสงคราม หรือในสถานที่ที่ไม่สามารถทำพินัยกรรมแบบอื่นได้ พยานจะต้องไปให้ถ้อยคำต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายเมืองเพื่อให้บันทึกข้อความของผู้ทำพินัยกรรม
รูปแบบหนังสือพินัยกรรม แบบเขียนเองทั้งฉบับ
ต้องมีประโยคที่สำคัญคือ “เมื่อข้าพเจ้าถึงแก่กรรมแล้ว ให้จัดการ...…….”
👉ต้องเขียนเองด้วยลายมือเองทั้งฉบับ (ห้ามพิมพ์)
👉ห้ามมีพยาน
👉หากมีการแก้ไข ลบ เพิ่มเติม ต้องเซ็นกำกับทุกครั้ง
👉ต้องลงลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรม จะใช้ลายนิ้วมือ หรือแกงได ไม่ได้
รูปแบบหนังสือพินัยกรรมแบบธรรมดา *เคยออกสอบ
ประโยคที่สำคัญคือ “เมื่อข้าพเจ้าถึงแก่กรรมแล้วให้จัดการ.......”
ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน จะลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์นิ้วมือก็ได้ แต่จะใช้ตราประทับ หรือลงแกงได ไม่ได้
พยานลงแกงได ไม่ได้เช่นเดียวกัน
การแก้ไขเปลี่ยนแปลง ต้องลงวันเดือนปีที่แก้ไข และต้องลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์นิ้วต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน และพยานทั้งสองคนต้องลงลายมือชื่อเช่นกัน
พยานจะเป็นผู้รับพินัยกรรมไม่ได้ (ม.1653 วรรคแรก)
บุคคลที่จะเป็นพยานในพินัยกรรมไม่ได้มีดังนี้ (ม.1670)
1. ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ
2. บุคคลวิกลจริต หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ
3. บุคคลที่หูหนวก เป็นใบ้ หรือจักษุบอดทั้งสองข้าง
วิธีการทำพินัยกรรม
7.รูปแบบหนังสือให้ความยินยอมของทายาท
8.รูปแบบหนังสือให้ความยินยอมเป็นผู้จัดการมรดก
🙏 ถ้าเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ กรุณากด “ถูกใจ” และกด “แชร์” ด้วยครับ 🙇‍♀️🙇🙇‍♂️
แนะนำหนังสือสำหรับอาชีพทนายความ
1.คู่มือการเขียนพินัยกรรม
โฆษณา