14 ม.ค. 2023 เวลา 04:47 • หุ้น & เศรษฐกิจ

My 2022 Books | บทเรียนที่ได้จากหนังสือ 30 เล่มในปีที่ผ่านมา

เหมือนกับการเลือกดูหนัง ผมมักเลือกอ่านหนังสือที่หลายคนบอกว่าดี จากนักเขียนที่ผมชอบ หรือจากการบอกต่อจากเพื่อน ๆ พี่ ๆ นักลงทุนเท่านั้น เพราะ cost ในการอ่านหนังสือที่งั้น ๆ คือเวลาที่เสียไป (หนังเรื่องหนึ่ง 2 ชม. แต่หนังสือหนึ่งเล่ม 6 ชม.)
ส่วนใหญ่หนังสือที่ผมเลือกอ่านจะมาจากความสนใจจากการลงทุน สำหรับผมแล้ว การอ่านเป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการขยาย ‘Circle of Competence’ ในโลกของการลงทุน มันทำให้เรามีโอกาสในการเลือกหุ้นมาศึกษาได้มากขึ้น เหมือนกับการพลิกหินที่ Peter Lynch เคยกล่าวไว้ว่า ‘คนพลิกหินได้มากที่สุดคือผู้ชนะ’ [1]
1
ผมอ่านหนังสือไปได้ 30 เล่ม จากที่ตั้งไว้ 20 ช่วงครึ่งปีหลัง ผมเริ่มจดโน้ตขณะอ่านไว้หน้าเล่ม ไว้ช่วยจับประเด็นที่สำคัญ เลยก็อยากจะมาแบ่งปันกัน (บางเล่มผมอาจจะเขียนสั้นบ้าง ยาวบ้าง เพราะบางเล่มก็ลืม ไม่ได้จด หรืออย่าง fiction ก็กลัวจะ spoil 555+) ผมจะแบ่งความดีงามเป็น เหรียญทอง เงิน ทองแดง แบบไม่เรียง และ honourable mentions ทิ้งท้าย
TL;DR จัดแยกตามประเภทได้ดังนี้:
🏆 Best overall: The Code Breaker
🏅 Best investing-related: Capital Returns
🏅 Best fiction: A Gentleman in Moscow
🏅 Best non-fiction: Think Again
🏅 Best Thai fiction: ลับแล, แก่งคอย
🏅 Best Thai non-fiction: ขุนศึก ศักดินา และ พญาอินทรี
🥇 A Gentleman in Moscow — Amor Towles (2016)
คะแนน: 10/10
เป็นเรื่องของตัวละครหลักอย่าง Count Alexander Rostov ที่โดนตัดสินกักบริเวณในโรงแรม Metropol ตลอดชีวิต ช่วงการปฏิวัติรัสเซีย ในปี 1922 ความเป็นสุภาพบุรุษ มีกัลยาณิมิตร และการหาความสุขจากสิ่งเล็ก ๆ เป็นสามสิ่งที่ผมได้จากเล่มนี้
การใช้ศัพท์แสงสำหรับผมอ่านยากนิดหน่อย แต่หลังอ่านเล่มนี้ Amor เข้า list เป็นหนึ่งในนักเขียนที่ผมชอบที่สุดเรียบร้อย
🥈 Chip War — Chris Miller (2022)
คะแนน: 8.5/10
ผมเริ่มสนใจอุตสาหกรรม semiconductor มาได้ซักพัก เนื่องจากเป็น product ที่เราใช้กันอยู่เป็นประจำ และบริษัทชั้นนำที่เรารู้จักกันในอุตสาหกรรมนี้มีความได้เปรียบทางธุรกิจค่อนข้างแข็งแรงด้วย Chris บอกเล่าประวัติความเป็นมาของ semi ทั้ง supply chain ได้ครบถ้วน ในมุมมองทางธุรกิจ และผลกระทบทางการเมือง/เศรษฐกิจ รวมไปถึงฝั่ง technical ความยากเย็นในการผลิต semi ให้ได้ตาม Moore’s Law ด้วย
  • Semi เป็นหนึ่งในส่วนสำคัญของการพัฒนา AI นอกเหนือจาก data และ algorithm และยังเป็นหนึ่งในตัวแปรทางยุทธศาสตร์ของประเทศมหาอำนาจด้วย
  • ช่วงเริ่ม semi ถูกใช้ในทางทหารมากกว่า และสร้างความแตกต่างให้ฝั่งสหรัฐอย่างชัดเจนในสงครามอ่าว จากการนำมาใช้กับขีปนาวุธให้มีความแม่นยำมากขึ้น
  • การผลิต chip นั้นเป็นปัญหาทาง engineering และ economic ในคราวเดียวกัน และการประดิษฐ์คิดค้น (invention) กับการผลิต (manufacturing) เป็นของคนละอย่างกัน (different ball game)
  • Chris เชื่อว่าทางสหรัฐฯ ยังมีความได้เปรียบในเรื่องของ semi เหนือจีนอยู่มาก เนื่องจากทั้ง supply chain ของอุตสาหกรรมอยู่ในการควบคุมของสหรัฐและพันธมิตรเกือบทั้งหมด
🥇 Liftoff — Eric Berger (2021)
คะแนน: 10/10
เป็นหนังสือเกี่ยวกับ Elon Musk เล่มที่ 2 ที่ผมอ่าน (เล่มแรกของ Ashlee Vance) ส่วนตัวจากการเป็นนักเรียนวิศวะฯ และสนใจในเรื่องของธุรกิจ/การลงทุนอยู่แล้ว Elon Musk นั้นนำความเทพทั้งสองสิ่งนี้มารวมกันในคน ๆ เดียว
I make the spending decisions and the engineering decisions in one head, normally those are at least two people…
Elon Musk
Eric ได้สัมภาษณ์กับพนักงานรุ่นบุกเบิกหลายคนของ SpaceX รวมไปถึงตัว Elon เอง เล่มนี้บอกเล่าการมาของ SpaceX ที่มาเขย่าถ้ำเสือนอนกินในวงการ aerospace และการพิสูจน์ตัวเอง ในการส่งจรวด Falcon 1 ไป orbit เป็นอีกหนึ่ง milestone ที่สำคัญของที่สุดของบริษัท จากจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ที่หลายคนน่าจะไม่เคยรู้กับเป้าหมายสูงสุดของการไปดาวอังคาร
สิ่งที่ผมเห็นคือหนึ่งในจุดเด่นของ Elon เป็นการดึงโคตร top talent ในด้านนั้น ๆ ให้มาทำงานกับบริษัท โดยใช้ mission statement ที่ยิ่งใหญ่และทรงพลัง รวมไปถึง expectation ของ Elon ที่ drive พนักงานแบบทะลุ ceiling นี่เป็นสิ่งหนึ่งที่ผมว่า Twitter อาจจะแป้กก็ได้ เพราะ mission statement อาจจะดึงดูดและรักษา talent ไม่ได้ดีเท่า Tesla หรือ SpaceX
Twitter needs to become by far the most accurate source of information about the world. That’s our mission
Elon Musk
🥇 Think Again — Adam Grant (2021)
คะแนน: 10/10
เล่มนี้เปลี่ยนมุมมองในการมองโลกของผมแบบสิ้นเชิง ถ้าเลือกหนังสือเล่มเดียวที่แนะนำให้ทุกคนได้อ่านคงเป็นเล่มนี้ เราคงเคยได้ยินกันมาว่าให้ทำตัวเป็นน้ำครึ่งแก้ว และพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่ตลอดเวลา จริง ๆ เราต้องพร้อมที่จะเทน้ำนั้นทิ้งและรับน้ำใหม่ตลอดเวลาด้วย
Adam นำเสนอแนวคิดใหม่แบบไม่น่าเบื่อ ย่อยง่าย มีหลักฐาน การทดลอง และตัวอย่างประกอบ เล่มนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน โดยเริ่ม rethink จากตัวเอง กับคนอื่น และระดับองค์กร
  • คิดแบบนักวิทยาศาสตร์ ใช้หลักการและเหตุผล ตั้งคำถามทุกอย่าง ไม่มีสิ่งไหนที่เป็น best practice ถาวร
  • ความมั่นใจต้องอยู่ในระดับที่สมดุล (confidence humility) น้อยไปก็ไม่ดี (imposter syndrome) มากไปก็ไม่ดี (armchair quarterback)
🥇 Capital Returns — Edward Chancellor (2015)
คะแนน: 9/10
ผมคิดว่านักลงทุนต้องมีเครื่องมือหลายชนิดอยู่ในหัว เหมือนกับ Swiss Army Knife เล่มนี้จะมาบอกเล่าการลงทุนสายวัฏจักร (cyclical) ผ่านตัวอย่างจริงหลายเคสจากการลงทุนในตลาดทุนหลายประเทศ เหมือนได้เรียนประวัติศาสตร์ของ cycle ของตลาดทุนผ่านตัวหุ้นจริง ๆ
  • ถ้า product/service ของบริษัทไม่มีข้อแตกต่าง หรือ competitive advantage ภาวะในอุตสาหกรรมจะไหลไปตาม capital cycle อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
  • ให้ความสำคัญในการทำความเข้าใจกับปริมาณ supply ในอุตสาหกรรมนั้น ๆ เพราะ ปริมาณของ demand คาดการณ์ได้ยาก
  • GDP ของประเทศที่เติบโตขึ้น ไม่ได้ความว่าตลาดหุ้นของประเทศนั้นจะขึ้นตาม Edward เล่าว่าทำไม ณ ตอนนั้นเขาและนักลงทุนหลาย ๆ คนยังไม่กล้าที่จะเข้าไปลงทุนในจีน (การไปลงทุนในเวียดนาม เราต้องมีความระมัดระวังมากกว่านี้หรือเปล่า?)
🥇 The Everything Store — Brad Stone (2013)
คะแนน: 9.5/10
ไม่แปลกใจที่ Charlie Munger เคยกล่าวชม Jeff Bezos ไว้ว่า ไอหมอนี่ฉลาดเป็นกรด Brad บอกเล่าจุดเริ่มต้นของ Jeff จากการเป็นเด็กนักเรียนในโรงเรียนพิเศษ (เพราะว่าฉลาดเกินไป 555) การก่อตั้ง Amazon ที่มาจากการขายหนังสือสู่ e-commerce ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก, การทำธุรกิจที่เคี่ยว และให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง เล่มนี้ถือว่า insightful มาก ๆ เพราะ Brad ได้เข้าไปสัมภาษณ์ Jeff ด้วยตัวเอง
  • การรีด margin ให้ต่ำที่สุด เพื่อกำจัดคู่แข่ง, สร้าง barrier to entry ให้กับคนที่ยังไม่เข้ามา และการเป็นผู้นำในระยะยาว อย่างที่ Jeff เคยพูดไว้ว่า “Your margin is my opportunity” เป็นหนึ่งใน flywheel ในขาธุรกิจ commerce ของ Amazon
  • การ explore สิ่งใหม่ ๆ ที่ทำให้เกิด Amazon Web Service และธุรกิจยิบย่อยมากมายของ Amazon ในวันนี้ และการ exploit commerce
  • ผมพึ่งรู้ด้วยว่า Jeff เป็นเด็ก nerd จรวดมาตั้งแต่เด็กแล้ว ไม่ได้มาตามกระแสใคร
ผมคิดว่า ถึงแม้ว่า Jeff ไม่ได้เป็น CEO แล้ว Amazon ก็ยังมีความเป็น Jeffism อยู่ มาจากการวาง culture ตั้งแต่วันแรก ขุนพลข้างกายที่พาบริษัทมาจนถึงทุกวันนี้ด้วยกัน และตัวบริษัทเองที่ mature พอสมควรแล้ว ประเด็นนี้น่าจะรวมไปถึงบริษัทอื่น ๆ ที่นักลงทุนอาจจะกังวลว่า CEO มากฝีมือจะลงจากตำแหน่งจากบริษัทที่เขาสร้างมา
🥈 Moats and Marathons (Part 1 and 2) — Jeff Towsen (2022)
คะแนน: 8.5/10
อาจารย์ Jeff ใช้ framework อธิบายปัจจัยเชิงคุณภาพ (qualitative) ของธุรกิจจากปีระมิด จากการต่อสู้กันของบริษัท 6 ระดับ เปรียบเทียบกับการต่อสู้จาก tactics การเตะต่อยมวยวัดจากชั้นล่าง ขึ้นไปชั้นบน ซึ่งเป็นปราสาท ที่แสดงถึงความแข็งแกร่งด้านโครงสร้างของบริษัท โดย 3 ชั้นล่างนับเป็นความสามารถในการ execute ที่ใช้ตัวแทนเป็น Elon Musk และ 3 ชั้นบน ที่จะเริ่มเป็นความได้เปรียบทางโครงสร้าง เหมือนแนวการเลือกลงทุนของ Buffett
Concept ที่ผมเข้าใจสั้น ๆ คือ moat (แนวคิดของ Buffett) ที่อยู่บนปีระมิดชั้นบน ไม่ใช่อยู่ดี ๆ จะโผล่ขึ้นมา out of no where แต่เกิดจากการวาง strategy ของผู้บริหาร และความสามารถในการ execute (อาจารย์ใช้ Elon Musk เป็นตัวอย่าง) โดย 2 อย่างนี้ (moat กับ execution) ช่วยส่งเสริมและเติมเต็มกันและกันด้วย
ปีระมิดการแข่งขัน 6 ระดับ (www.jefftowsen.com)
  • การวิเคราห์ธุรกิจ สำหรับอาจารย์ Jeff ต้องดู 3 อย่าง ซึ่งเล่มนี้จะเน้นแค่ปัจจัยที่ 2 เท่านั้น 1. Market size and growth (ขนาดตลาดและการเติบโต) 2. Competitive Strength (ข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน) 3. Unit Economics (กำไรในการทำธุรกิจ)
  • การ execute ที่ดีกว่าคู่แข่ง (3 ชั้นล่าง) ถึงแม้จะเป็นส่วนต่างที่ไม่มาก แต่ถ้าสามารถยืนระยะได้ยาวนาน ก็สามารถทิ้งคู่แข่งแบบไม่เห็นฝุ่นได้ เปรียบเสมือนกับการวิ่ง marathon เช่น SpaceX ที่ทำจรวดได้เก่งที่สุดเป็นเวลานานก็นับเป็นความได้เปรียบอย่างหนึ่ง อย่างที่อาจารย์ได้ tweet ไว้ว่า ระยะทาง 350 ล้านไมล์จากโลกไปดาวอังคารนั้นก็ถือเป็นคูเมืองเหมือนกัน
  • Defensability > Growth: ให้ความสำคัญของความแข็งแกร่งของธุรกิจก่อนการเติบโต การโตแบบ hypergrowth ที่ไม่มี moat ไม่นานเดี๋ยวก็ตาย
  • ในยุค digital (บาง)บริษัทต้องการทั้ง:
  • 1. Structural Moat เช่น network effect, brand, scale หรือ สัมปทานจากรัฐ ฯลฯ
  • 2. Pace of innovation ความสามารถในการ execute ของผู้บริหาร ความเก่งของคน ถ้าปราศจากสิ่งนี้ก็เหมือนกับเหล่านักรบที่นอนรอความตายอยู่ในปราสาท
  • ธุรกิจ B2C ในจีน ค่อนข้างต่างจากโลกตะวันตก เพราะแข็งแกร่งสุด ๆ จาก network effect ในการเข้าถึง user เป็นพันล้านคน
เล่มนี้อาจารย์แบ่งออกเป็น 6 เล่ม ครอบคลุมถึงการแข่งขันทั้ง 6 ระดับ ถ้าเทียบกับ Five Forces Model และ 7 Powers ผมว่า Framework นี้อาจจะทำความเข้าใจและย่อยได้ยากกว่า แต่ยังมีรายละเอียดยิบย่อยในปีระมิดแต่ละขั้นที่ครอบคลุมกว่ามาก ๆ อาจารย์จะมีเล่านอกเรื่องหลังจบแต่ละบทด้วย เช่น การไปทานข้าวกับ Warren Buffet หรือการสนทนากับ CEO ของ Huawei
🥇 How to Avoid a Climate Disaster — Bill Gates (2021)
ถ้าพูดถึงเทคโนโลยีที่จะมาเปลี่ยนโลกในอนาคตยังไงก็ไม่พ้นเรื่องพลังงานสะอาด (sustainable energy) Bill Gates เป็นหนึ่งในนักลงทุนและผู้รอบรู้แถวหน้าในด้านนี้ ผมคิดว่าเหมือนกับการลงทุนใน sector นี้ในมุมมองนักลงทุนรายย่อยจะดู underappreciate ไปหน่อย ไม่สมศักดิ์ศรีของ impact ของมันในอนาคต
คะแนน: 9.5/10
  • Bill มองว่าการไปถึงเป้าหมายของการชะลอการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก ความยากคือลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ (ปล่อย = ดูด) แต่ยังเชื่อว่าเราสามารถทำได้
  • Green Premium หรือเงินส่วนต่างที่คนใช้พลังงานทางเลือกเทียบกับแบบ traditional นั้น อย่างน้อยต้องเป็นศูนย์ หรือติดลบ (เช่น ถ้าคุณอยากให้คนหันมาให้รถ EV operating cost ของรถ EV ตลอด lifecycle นั้นต้องใช้เงินเท่ากับรถน้ำมันถือถูกกว่า)
  • Bill ยกตัวอย่างของพลังงานทางเลือกพร้อมกับ green premium ของสิ่งนั้น ทำให้เรารู้ว่า พลังงานทางเลือกในด้านนี้มัน มีความเป็นไปได้แค่ไหนที่จะนำมาให้ทุกคนใช้จริงในตอนนี้เลย หรือในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
  • ต้องได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลในการลด green premium ให้คนหันมาใช้พลังงานทางเลือกมากขึ้น หรือกดดันให้พลังงานแบบเก่าแพงมากขึ้น
โดยรวมเล่มนี้ปูพื้นฐานเรื่อง sustainable energy ได้ดี เห็นภาพใหญ่ แล้วสามารถเอาไปต่อจุดกับการลงทุนด้านอื่นได้เยอะ เพราะไม่ว่าธุรกิจจะอยู่ในอุตสาหกรรมไหน คุณก็ต้อง comply กับ regulation ในด้านนี้อยู่แล้ว
🥈 Expectations Investing — Michael Mauboussin, Alfred Rappaport (2021)
คะแนน: 8.5/10
เล่มนี้ผมได้คำแนะนำมาจากกลุ่มหุ้นเปลี่ยนโลก (ถ้าจำไม่ผิดมาจากอาจารย์ตี่ Picatos) ผมได้มีโอกาสลองไปศึกษาหุ้นต่างประเทศ และก็อยากหาความรู้เรื่อง valuation ใส่หัวเพิ่มซะหน่อย โดยเฉพาะวิธี Discouted Cash Flow (DCF) ที่ผมเคยลองอ่านของ Prof Damadoran แล้วก็อ่านไม่จบ ยอมแพ้ไป แต่เล่มนี้ดันตอกย้ำความยากของ DCF จนผมหยองกว่าเดิมซะงั้น 555
  • purpose ของเล่มนี้ไม่ได้มาสอน DCF และคนอ่านควรมีพื้นฐาน DCF มาบ้างด้วย
  • จริง ๆ แล้ว การประเมินมูลค่าแบบ relative หรือการใช้ multiple คูณออกเป็นมูลค่าของสินทรัพย์ในอนาคตนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามหลักการของการประเมินมูลค่า ผู้เขียนบอกว่ามันไม่ใช่ทางลัด (shortcut) ในการ valuation แต่เป็นทางตัน (cul-de-sac) (ผมมองว่าเป็นศาสตร์น้อยกว่า และศิลป์มากกว่าแบบ DCF)
“…The most widely used valuation metric in the investment community, the price-earnings multiple, does not determine value but rather is a consequence of value. The price-earnings multiple is not an analytic shortcut. It is an economic cul-de-sac”
Expectations Investing
  • หลักการของ Expectation Investing คือการคิด DCF แบบย้อนกลับ โดยใช้ expectation ของราคาในปัจจุบันเป็นตัวตั้ง เช่น ถ้าราคาบริษัทแพง รายได้ก็ต้องโตเยอะ หรือ margin ก็ต้องเพิ่มขึ้นเยอะกว่าราคาหุ้นที่ถูกเพื่อให้ราคาบนกระดาน ณ ปัจจบุัน justified หน้าที่ของนักลงทุนคือหา mismatch ของ expectation จากการวิเคราะห์ของคุณและราคาบนกระดานให้ได้
  • การมาของค่าใช้จ่ายแบบจำต้องไม่ได้ (intangible) ที่จะบันทึกในงบกำไรขาดทุนในปีนั้นเลย แต่จริง ๆ แล้วควรปรับให้เป็นการ amortisation เพราะ impact ของค่าใช้จ่ายนี้มีประโยชน์หลายปี เหมือนกับการตัดค่าเสื่อมของการลงทุนเครื่องจักรและโรงงาน
  • การให้ความสำคัญกับการดูกระแสเงินสดมากกว่ากำไร
ถึงแม้ว่าผมจะไม่ค่อยชอบการประเมินมูลค่าแบบ DCF เท่าไหร่ แต่เล่มนี้ทำให้ผมรู้และเข้าใจพื้นฐานของการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ถือหุ้น (shareholder’s value) มากขึ้น ทั้งจากมุมมองของนักลงทุนและผู้บริหาร
ผมคิดว่า จุดชี้ขาดของนักลงทุน ไม่ได้อยู่ที่ตัววิธี valuation หรือการใช้สูตร excel ตีลังกาท่ายาก กลับกันเหมือนกับที่ Mohnish Prabai [2] เคยพูดไว้ ว่าการลงทุนที่ดี valuation มันต้องชัด ชัดแบบที่คุณสามารถคิดในหัวหรือ back of the envelop ได้
🥇 Never Split the Difference — Chris Voss, Tahl Raz (2016)
คะแนน: 9.5/10
ผมดองไว้เล่มนี้นานมาก จนพึ่งมาเห็น profile ของผู้เขียน: Chris Voss เป็นหนึ่งในตัวตึงเรื่อง negotiation เขาเป็นอดีตหัวหน้านักเจรจาตัวประกันระหว่างประเทศของ FBI เลยเป็นที่มาของชื่อหนังสือและกฎเหล็กในการต่อรองของเขาว่าเป้าหมายต้อง no compromise เหมือนกับการต่อรองกับโจรเรียกค่าไถ่ที่ตัวประกันจะต้องรอดกลับมาครบ 32 เท่านั้น
เล่มนี้ Chris สอนเทคนิคการต่อรอง โดยใช้ตัวอย่างจากประสบการณ์จริงในการเจรจากับโจรเรียกค่าไถ่ (เช้ดเข้! ไม่น่ามีคอร์สไหนสอนแบบนี้นะ 555) ที่สามารถเอามาใช้ในชีวิตประจำวันหรือการทำมาหากินของเราได้
  • ทักษะการฟังสำคัญไม่แพ้กับการพูด เพราะการต่อรองที่ดีต้องเข้าใจคู่สนทนาอย่างแท้จริง (empathy) และแสดงมันให้เขาเห็น (acknowledge) ไม่มีใครในโลกนี้ที่ไม่อยากให้คู่สนทนาเข้าใจตัวเอง
  • Empathy คือการที่เราเข้าใจคู่สนทนาว่าทำไมเขาถึงเชื่อหรือพูดแบบนี้ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับเขา เป็นหนึ่งใน soft skill ที่สำคัญมาก จุดนี้ผมได้มาจาก Think Again เล่มบนเช่นกัน
  • เวลาต่อรองอะไรที่เป็นตัวเลขให้ต่อให้เยอะไว้ก่อน (Anchoring technique) 555
🥉 An Ugly Truth — Sheera Frenkel , Cecilia Kang (2021)
คะแนน: 7.5/10
ดูจากปกและชื่อเรื่องแล้ว เล่มนี้จะมาเล่ามุมลบของบริษัท Facebook ตั้งแต่แรกเริ่ม, เรื่องฉาว Cambridge Analytica, ส่วนร่วมของบริษัทในการ manipulate ผลการเลือกตั้งของ Trump และอื่น ๆ
  • ได้เห็นความเละทะภายในบริษัท Facebook ช่วงตั้งต้นใหม่ ๆ ที่เอา growth เป็นที่ตั้ง
  • การทำธุรกิจ social media นั้นไม่ง่าย: เหมือนว่าสัดส่วนพนักงานที่มา innovate สิ่งใหม่ ๆ จะน้อยกว่าบริษัท tech ประเภทอื่น เพราะใช้ resource ในด้าน non-tech เยอะมาก อย่างเช่นด้านกฎหมาย, การควบคุม content หรือการต้องมีคนที่อำนาจ/connection ให้ไป lobby นักการเมือง
  • เส้นของ free speech มันต้องลากไปตัดตรงไหน? หลาย content บน social media มักเป็นสีเทา content แบบไหนปล่อยได้ แบบไหนต้องแบน (ถ้า fake news ปล่อยได้ไหม? แบนแล้ว free speech หล่ะ?)
  • ชื่อเสียงของบริษัทเป็นสิ่งสำคัญ talent ระดับท็อปไม่ได้ทำงานแค่เพราะเงิน
  • Sheryl Sandberg อดีต COO ที่พึ่งลงตำแหน่งไป เคยทำงานทีม ads ของ Google มาก่อน และเป็นผู้ปลุกปลั้นการสร้างรายได้ของ Facebook ที่เราเห็นกันทุกวันนี้ ผมว่าความสำคัญของเธอกับบริษัทไม่แพ้ Mark เลย
ปีที่แล้ว $META ลงมาแรงก่อนหุ้นเทคอเมริกาตัวอื่น network effect ของ Facebook ยังคงแข็งแกร่งจริงหรือเปล่า มองในอนาคตคูเมืองนี้กำลังจะหดเล็กลงเรื่อย ๆ หรือมีข้าศึกฝีมือดีมาเข้าตีอยู่หรือไม่?
🥇 ลับแล, แก่งคอย — อุทิศ เหมะมูล (2009)
คะแนน: 10/10
เป็นการเล่าเรื่องที่แปลกใหม่ และโคตรล้ำผ่านตัวอักษร กับความเชื่อและศาสนาของคนไทย ผมว่า plot เอาไปทำหนัง Hollywood ได้เลย สมราคาหนังสือรางวัล!
🥇 The Code Breaker — Walter Isaacson (2021)
คะแนน: 10/10
ใครที่ลงทุนหุ้นเทคสหรัฐคงเคยได้ยินชื่อบริษัท CRISPR มาบ้างแล้ว Walter ตัวตึงนักเขียน biography เล่าเรื่องจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ของเทคนิคการตัดต่อยีน "CRISPR" ที่ประยุกต์มาจากการต่อสู้ virus ของ bacteria ที่เกิดขึ้นมาก่อนมนุษยชาติหลายล้านปี และ Jennifer Doudner ตัวละครเอก ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนา CRISPR จนได้รับรางวัล Nobel ในเรื่องนี้ไปเมื่อไม่กี่ปีก่อน
  • ในโลกชีววิทยา คุณไม่มีทางรู้เลยว่าสารเคมีหรือสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ทำงานยังไง ถ้าไม่เข้าใจโครงสร้างระดับโมเลกุลของมัน ชื่อของ CRISPR จริง ๆ แล้วก็มาจากโครงสร้างของ bacteria — Clustered Regularly Interspaced Short Palindromic Repeats (คือ เขาตั้งใจทำให้ตัวย่อมันฟังดูเท่จริง ๆ 555)
  • Doundner มีชื่อเสียงจากการเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องโครงสร้างของ RNA เราอาจจะไม่ตื่นเต้นกับมันมากนัก เพราะสมัยมัธยมที่เราเรียนมา มักจะตะลึงกับความเท่ของ DNA ซะมากกว่า
  • โลกนี้ต้องการทั้ง basic science และ applied science — การประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมใหม่ ไม่จำเป็นเสมอไปที่คุณต้องเข้าใจพื้นฐานของสิ่งนั้นทุกอย่าง เช่น เครื่องบินลำแรกถูกสร้างขึ้นมา โดยที่พี่น้องตระกูล Wright ยังไม่เข้าใจพื้นฐานของ aerodynamics เลยด้วยซ้ำ ในทางกลับกัน basic science ที่มาจากความสงสัยของนักวิทยาศาสตร์แค่จุดเล็ก ๆ ก็ทำให้เกิดนวัตกรรมหลายอย่าง เฉกเช่นกับการมาของ CRISPR
…The key to innovation is connecting a curiosity about basic science to the practical work of devising tools that can be applied to our lives—moving discoveries from lab bench to bedside
Walter Isaacson
  • ผมคิดว่าการพัฒนา engineering สามารถ work backward จากสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการ แล้วที่เหลือก็ optimise ได้ แต่ innovation กับร่างกายมนุษย์นั้นต่างกัน บางครั้งมันลากเส้นถอยหลังมาไม่ได้ ต้องเดินไปข้างหน้าแบบ random ด้วยความสงสัยใคร่รู้ (curiosity-driven) เป็นสาเหตุว่า เม็ดเงินที่ใส่ลงไปในงานวิจัยสำคัญแค่ไหน, โลกเรามีนักวิทยาศาสตร์ไปทำไม รวมไปถึงเหตุผลของการมีอยู่ของบริษัท biotech บางบริษัทที่อยู่ในตลาด ซึ่งอย่าว่าแต่ขาดทุนเลย รายได้ก็ยังไม่มี
นึกถึง Zero to One ของ Peter Thiel ที่พูดถึงเรื่อง biotech startup ไว้ (TECHmED.sk)
  • การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ต้องมาพร้อมกับแนวทางการแก้ปัญหาทางจริยธรรม (ethical issue) การมาของ CRISPR สร้างคำถามเหล่านี้มากมาย เทคโนโลยีนี้จะสามารถถูกเข้าถึงได้แค่คนรวยหรือเปล่า?
  • มีกลุ่มที่เรียกว่า biohacker ที่มือเครื่องมือเพียงพอที่จะปรับพันธุกรรมของสัตว์ หรือทำ vaccine แล้วฉีดให้ตัวเอง และไปขายในตลาดมืดด้วย
ความทึ่งคือ Walter เล่าพื้นฐาน biolology, DNA, RNA และการตัดต่อยีนได้เข้าใจง่าย แสดงว่าเขาคลุกคลีกับ subject และเข้าใจมันจริง ๆ แล้วตอนนี้ Walter กำลังเขียน biography ของ Elon Musk อยู่ด้วย กำเงินรอเลยครับ 555
🥇 The Psychology of Money — Morgan Housel (2020)
คะแนน: 9/10
ผมไม่ได้อ่านหนังสือ personal finance มานานพอสมควร personal finance เป็น foundation ของการเงินทุกอย่าง ครอบคลุมทั้งการหาเงิน ใช้เงิน และการลงทุน การกลับมาอ่านเหมือนกลับไปลับมีดที่ขึ้นสนิมให้คมมากขึ้น ผมว่า Psychology นี่แหละเป็นหนึ่งในจุดชี้ขาดว่าเราจะประสบความสำเร็จทางการเงินหรือไม่ Morgan หยิบยกประเด็นหลายอย่างเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ มาเล่าได้น่าสนใจ
  • Wealth เป็นสิ่งที่มองไม่เห็น และไม่เท่ากับความหรูหราฟุ่มเฟือย แต่ wealth = ความเป็นอิสระ (independence) และ peace of mind
  • Barbelled mental model — การมองอนาคตในแง่ดี และ paranoid สิ่งที่จะมาฆ่าคุณ (ทางการเงิน)
🥈 Platform Revolution — Geoffrey Parker , Marshall Van Alstyne , Sangeet Choudary (2016)
คะแนน: 8.5/10
ทุกวันนี้เราเห็น business model ที่เป็น platform เต็มไปหมด Youtube ที่ไม่ได้ทำ content เอง Airbnb ที่ไม่ได้เป็นเจ้าของบ้านซักหลัง หรือ Roblox ที่ไม่ได้ลงแรงทำเกมเองแม้แต่เกมเดียว เล่มนี้เหมือนเป็น research paper ทฤษฎีธุรกิจ platform และ network effect สำหรับผมแล้วลงไปลึกพอสมควร (ผมว่าอ่านยาก ต้องอ่านซ้ำอีกรอบ) แล้วก็เหมาะสำหรับผู้บริหารที่จะเอาไปปรับใช้กับองค์กรด้วย
  • platform จะ capture รายได้ก็ต่อเมื่อสร้าง positive value-added ให้กับผู้ใช้ (ผู้ใช้มองเห็นว่า value ที่เขาได้รับนั้นมากกว่าที่จ่ายไป)
  • ปัญหาที่มากับ platform เช่น multi-homing effect เช่น ผู้ใช้หรือ rider ใช้ติดตั้งแอปสั่งอาหารหลายแอปบนโทรศัพท์ ไม่มี switching cost ผู้ใช้จะย้ายไปใช้เจ้าไหนเมื่อไหร่ก็ได้
  • ลักษณะของธุรกิจที่จะโดน business model แบบ platform มา disrupt ในอนาคต รวมไปถึงลักษณะของธุรกิจที่นำ platform มาปรับใช้ได้ยาก มีอุปสรรคด้วย
🥇 ขุนศึก ศักดินา และ พญาอินทรี — ณัฐพล ใจจริง (2020)
คะแนน: 10/10
เป็น Game of Thrones เวอร์ชั่นการเมืองไทยในทศวรรษสุดท้ายก่อนขึ้นศักราช 2500 เล่าถึงการแผ่ขยาย ideology การปกครองแบบประชาธิปไตย และการ demonise แนวคิดแบบคอมมิวนิสต์ของสหรัฐ ผมขอชื่นชมผู้เขียนที่ขุดคุ้ย วิเคราะห์ ปะติดปะต่อเนื้อเรื่องมาได้ลึกและครอบคลุม โดยเฉพาะมุมมองของสหรัฐ ที่สำคัญคือเป็น research paper แต่กลับบอกเล่าเรื่องได้เพลินและสนุก
🥉 Ask Your Developer — Jeff Lawson (2021)
คะแนน: 7.5/10
Jeff Lawson ผู้เขียน เคยทำงานอยู่ที่ Amazon Web Service ออกมาก่อตั้งและเป็น CEO คนปัจจุบันของ Twillio ที่พัฒนา API เกี่ยวกับการสื่อสารให้กับบริษัทใหญ่มากมาย ตัวเขาเองก็ไต่เต้าขึ้นมาจากการเป็น software developer เช่นกัน ผมเคยตามฟังเขาสัมภาษณ์และชอบในปรัชญาการทำงานที่ให้ developer เป็นศูนย์กลาง ผมว่าเล่มนี้หนักไปทาง management เหมาะสำหรับผู้บริหารมากกว่า
  • ถ้า product/service ส่งผลถึง experience ของลูกค้าโดยตรง บริษัทควรที่จะสร้าง software เองมากกว่าซื้อ off the shelf
  • ในโลก software developer คุณเลือกได้เพียงแค่ 3 ใน 4 อย่างนี้เท่านั้น: features, deadlines, quality และ certaintyExperimentation is prerequisite to innovation: สร้าง environment ให้ทีมทดลองสิ่งใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา
  • Management philosophy ขององค์กรใหญ่ ๆ ที่ drive innovation เช่น agile หรือ การแบ่งพนักงานเป็นทีมเล็ก ๆ หลายทีม เหมือนกับมี start up หลายบริษัทในองค์กร
🥇 Blood, Sweat, and Pixels — Jason Schreier (2017)
คะแนน: 9/10
เล่มนี้ผมได้รับคำแนะนำมาจากพี่ตู้ ในกลุ่มหุ้นเปลี่ยนโลกเช่นกัน (ถ้าจำไม่ผิด) หลายคนคงเคยเล่นเกมกันอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่ได้ทำงานอยู่ในวงการนี้คงจินตนาการไม่ออกว่า เกมเกมนึงกว่าจะออกมาให้คนเล่นกันนั้น เลือดตาแทบจะกระเด็นแค่ไหน Jason ไปตระเวนสัมภาษณ์ game developer จากหลาย studio ตั้งแต่กระบวนการหาเงินมาทำเกม (funding), ขั้นตอนการวางแผนก่อนที่จะสร้างจริง (pre-production), การพัฒนาเกม (production) และ หลังจากที่เกมปล่อยออกมาเรียบร้อยแล้ว (post-production)
  • การเข้าถึงแหล่งเงินทุนมีหลายทาง เช่น จากการพึ่งบริษัทใหญ่ ๆ หรือจาก crowdfunding ทาง internet แบบหลังเป็นที่นิยมมากขึ้นโดยเฉพาะกับ studio เล็ก ๆ เพราะว่าทำเกมให้กับคนเล่นโดยตรง ไม่ขึ้นกับบริษัทไหน
  • เกมที่ดีหรือประสบความสำเร็จไม่จำเป็นว่าต้องมี graphic สวยเสมอไป เหมือนกับหนังที่ดีก็ไม่จำเป็นต้องอลังการงานสร้างแบบของ Marvel
  • Game engine ถือเป็นกระดูกสันหลังในการพัฒนาเกมเกมนึงเลย การผลิตเกมต้องคำนึงด้วยว่า ทีม developer ถนัดการใช้ game engine แบบไหน แล้ว engine นั้นเหมาะกับการเอามาพัฒนาเกมประเภทนั้นหรือไม่
  • Studio มักจะสร้างเกมประเภทที่ตัวเองถนัด (หรืออาจถูกกดดันจากผู้ลงทุนมาอีกทอดนึง) และ exploit จาก ip เดิมที่มีอยู่ เหมือนกับ FIFA ของ EA หรือ Call of Duty ของ Blizzard การไป explore เกมแบบใหม่นั้นต้องใช้เงินลงทุนและมีความเสี่ยงสูง
  • ผมคิดว่าธุรกิจเกมยังมีความธรรมชาติเป็น hit-driven มาจากอารมณ์ของคนเหมือนกับภาพยนตร์ ต่างกันที่เกมเมื่อปล่อยออกมาแล้ว การเปิดรับฟัง feedback ของแฟน ๆ ยังออก patch ออกมาแก้ไขได้ ถ้าเกมนั้นไม่พังเกินเยียวยา และ studio ยังมีเงินอยู่ (เหมือนกับ Diablo III ในเล่มนี้ หรือล่าสุดก็จะเป็น Cyberpunk)
เรื่องที่ชอบที่ในเล่มนี้สุดคงไม่พ้น Stardew Valley เกมที่มีเนื้อเรื่องหลักเป็นทำฟาร์มแบบ 2D เกิดขึ้นมาจาก developer คนเดียว! ที่ผมอ่านแล้วถึงต้องซื้อมาลองเล่น
Eric Barone ผู้สร้างเกม Stardew Valley (King5.com)
🥉 Restaurant Bible — ต่อเพนกวิน (2018)
คะแนน: 7.5/10
เห็นบริษัทในตลาดที่เข้าไปถือหุ้นเชนร้านอาหารหนึ่ง ผมเลยสนใจที่จะรู้เรื่องการทำธุรกิจร้านอาหาร (แต่ก็ไม่ได้อยากไปทำเองนะ) อาหารถือเป็นหนึ่งสิ่งประเทศไทยแข็งแกร่งที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่น พี่ต่อเพนกวินอธิบายกระบวนการตั้งแต่วางแผน เริ่มเปิดไปจนถึง run ธุรกิจร้านอาหารทุกอย่าง น่าแปลกที่หนึ่งในธุรกิจที่บูมที่สุดในไทยไม่มีหนังสือดี ๆ แบบนี้มาให้อ่านเยอะ
  • รสชาติไม่ใช่เป็นสิ่งสำคัญสิ่งเดียว ต้องคำนึงถึง concept ร้าน, ทำเล และกลุ่มลูกค้าด้วย
  • ทำเล ทำเล ทำเล: ทุกอย่างเมื่อพังแล้วแก้ได้ ยกเว้นทำเล
  • ธุรกิจร้านอาหาร คือธุรกิจบริการผ่านอาหาร
  • Key persons ของร้านอาหารคือ ผู้จัดการร้านและหัวหน้าเชฟ
  • เวลาหาทีมงาน ต้องดูทั้ง ฝีมือ ประสบการณ์ และทัศนคติ
  • ต้องหา trade off จากทั้ง 3 อย่างนี้จากคนที่มาสมัครงานให้ได้ จากประเภทหรือช่วงอายุของร้านอาหาร (เริ่มเปิดหรือเปิดมานานแล้ว)
  • อย่าสักแต่ว่าจะเปิดร้าน แล้วไปตายเอาดาบหน้า การวางแผนสำคัญมาก เลยนึกถึง quote ที่ผมชอบจาก Never Split The Difference เล่มบน
“When the pressure is on, you don't rise to the occasion—
you fall to your highest level of preparation”
Never Split The Difference
🥇 คำพิพากษา — ชาติ กอบจิตติ (1981)
คะแนน: 9/10
เป็นเล่มที่สองของ ชาติ กอบจิตติ ที่ผมอ่านต่อจากพันธ์ุหมาบ้า เล่าเรื่องที่ใช้ส่วนผสมง่าย ๆ แต่ทรงพลัง เล่าเรื่องถึงชีวิตคน จาก setting ธรรมดา อ่านไปแล้วหดหู่ เรื่องนี้สอนให้ผมรู้ว่า โลกและชีวิตนี้มันไม่ fair นักหรอก และถึงเวลาที่ชีวิตมันแย่จริง ๆ มันลงได้เรื่อย ๆ แบบไม่เจอก้นหลุมเลย (เหมือนหุ้นไหม 555)
🏅 Honourable Mentions:
  • University of Berkshire Hathaway — Daniel Pecaut, Corey Wrenn
  • 100 Baggers — Christopher Mayer
  • เวลา — ชาติ กอบจิตติ
  • ปีศาจ — เสนีย์ เสาวพงศ์
  • จีน-เมริกา — อาร์ม ตั้งนิรันดร
  • China 5.0 — อาร์ม ตั้งนิรันดร
  • หุ้นกลุ่มประกันภัย — อุษณีย์ ลิ่วรัตน์
  • เอาตัวรอดด้วยทฤษฎีเกม — นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์
  • Cryptocurrency 101 Plus — พรศักดิ์ อุรัจฉัทชัยรัตน์
⏩ 2023 Readings
หนังสือที่ผมอยากอ่านในปีนี้
  • Poor Charlie's Almanack — Charles T. Munger, Peter E. Kaufman
  • The Metaverse — Matthew Ball
  • The Luxury Strategy — Jean-Noël Kapferer, Vincent Bastien
  • Central Banking 101 — Joseph J. Wang
  • The Ride of a Lifetime — Robert Iger
  • Competition Demystified — Bruce Greenwald
  • Quality Investing — Lawrence Cunningham
  • เศรษฐกิจการเมืองไทย สมัยกรุงเทพฯ — ผาสุก พงษ์ไพจิตร, คริส เบเคอร์
  • Attention Factory — Matthew Brennan
  • The Outsiders — William Thorndike
  • Moat and Marathon (Part 3 to 6) — Jeff Towsen
  • China Next Normal, จีน-เมริกา 3D, China Endgame — อาร์ม ตั้งนิรันดร
  • Geopolitical Alpha — Marko Papić
  • Investing for Growth — Terry Smith
  • From Third World to First — Lee Kuan Yew
  • The Hitchhiker's Guide to the Galaxy — Douglas Adams
  • Black Swan — ลงทุนแมน
  • ที่สุดของ VI — ชาย มโนภาส
Footnotes:
[1] Lynch ran Fidelity's Magellan Fund for thirteen years (1977-1990). In that period, Magellan was up over 2700%. He retired in 1990 at the age of 46. (www.pbs.org/wgbh/pages/frontline/shows/betting/pros/lynch.html)
[2] Mohnish Pabrai: thou shall not use excel / discounted cash flow model. (https://youtu.be/ebbqJQjjhyY)
โฆษณา