17 ม.ค. 2023 เวลา 01:06 • การตลาด

ใครทำรีเจนซี่ขาดตลาด

ย้อนกลับไปเมื่อปี​ 2564​ บรั่นดียี่ห้อรีเจนซี่​ ราคาขายในร้านสะดวกซื้อ​ แบนละ​ 243​บาท​
Top​ Supermarket​ ราคาแบนละ​ 248 บาท​
ส่วนร้านขายส่งหรือขายของชำ​ทั่วไป ราคาแบนละ​ 270-350​ บาท
สาเหตุที่​ ร้านสะดวกซื้อ​ และโมเดิร์นเทรด ราคาถูกกว่าร้านค้าทั่วไปเนื่องจากมีการประทับบาร์โค้ท​ ซึ่งเป็นวิธีการเช็คยอดจำหน่ายเพื่อให้บริษัทสามารถวางแผนการตลาด​นำสินค้ามากระจายได้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค
ด้วยราคาขายที่ออกจากโรงงานถูกกว่า​ ทำให้ผู้ค้ารอซื้อในห้างโมเดิร์นเทรดแบบเหมาลัง​ แล้วเอาไปขายปลีกสร้างกำไรต่อ
อย่างไรก็ตาม​  เดือน​ ก.ย.​2565​ รีเจนซี่ได้มีการปรับราคาขึ้นอีก ซึ่ง​ Brandbuffet ทำการสำรวจราคารีเจนซี่​จากช่องทางค้าส่ง​ พบว่า
  • 1.
    ขวดแบน 350 มล. จำหน่ายลังละ 3,500 บาท (จากเดิมราคา  3,220 บาท )
  • 2.
    ขวดกลมกลาง ขนาด 500 มล. จำหน่ายลังละ 7,800 บาท (จากเดิมราคา 7,320 บาท)
  • 3.
    ขวดกลมใหญ่  ขนาด 700 มล. จำหน่ายลังละ 9,300 บาท  (จากเดิมราคา 8,480 บาท)
การที่ค้าส่งปรับราคาขึ้น​ ทำให้ร้านค้ารายย่อยขยับราคาขายเพิ่มเช่นกัน​ ดังนี้
  • 1.
    รีเจนซี่ แบบแบน ขนาด 350 มล. ปรับขึ้นเป็น  420-450 บาท (จากเดิมราคา 340-350 บาท)
  • 2.
    รีเจนซี่ แบบกลม ขนาด 500 มล. ปรับขึ้นเป็น 520-550  บาท  (จากเดิมราคา 480 บาท)
  • 3.
    รีเจนซี่ แบบกลม ขนาดใหญ่ 700 มล. ปรับขึ้นเป็น 820-850 บาท (เดิมราคา 750 บาท)
ทั้งนี้​ ราคาจำหน่ายของร้ายค้ารายย่อยแต่ละร้านอาจแตกต่างกันไปตามพื้นที่
ส่วนร้านสะดวกซื้อ​จากเดิมราคาแบนละ​ 243​ บาท​ ก็ปรับเป็น​ 265  บาทในขณะที่ร้านค้ารายย่อยขายแบนละ​ 420 บาท
ดังนั้น​ ที่ผ่านมาพนักงานร้านสะดวกซื้อจึงเก็บสินค้านำไปจำหน่ายในราคาที่ถูกกว่าร้านค้าทั่วไปให้กับคนที่รู้จัก​ได้​ นอกจากจะทำให้รีเจนซี่​จำหน่ายหมดอย่างรวดเร็วแล้วยังสามารถทำให้สาขานั้นๆสั่งสต๊อกสินค้าได้เพิ่มมากขึ้นด้วย วิน-วินทั้งร้านสะดวกซื้อและลูกค้า
จากประสบการณ์ส่วนตัวเองก็เคยพบว่า​ เพื่อนร่วมวงที่รู้จักกับพนักงานร้านสะดวกซื้อได้ขอให้เก็บรีเจนซี่มาขายให้​ เนื่องจากราคาถูกกว่าร้านค้ารายย่อยอื่นๆ
เพราะฉะนั้น​ ก็อาจเป็นไปได้เช่นกันที่พนักงานร้านสะดวกซื้อจะนำรีเจนซี่จะมาจำหน่ายทำกำไร​ในราคาแบนละ​ 350​ บาท​ ซึ่งก็ถือว่ายังถูกกว่าร้านค้ารายย่อย
ผลกระทบที่ตามมาคือ​ ทำให้รีเจนซี่ในร้านสะดวกซื้อและโมเดิร์นเทรดซึ่งเป็นช่องทางการจำหน่ายขนาดใหญ่ต้องประสบกับภาวะสินค้าขาดตลาดไปด้วย
ในขณะที่ร้านค้าทั่วไป​ รีเจนซี่ก็ขาดตลาดอยู่ก่อนแล้ว จึงเกิดภาวะลูกโซ่ปั่นราคาให้รีเจนซี่แพงยิ่งขึ้นไปอีก
ดังนั้น​ ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดจำหน่าย​ ทั้งเอเยนต์และพนักงานสต๊อกสินค้าจึงมีส่วนทำให้รีเจนซี่ขาดตลาด​ รวมถึงความต้องการของนักดื่มที่เพิ่มมากขึ้น​ สร้างดีมานด์จนผิดเพี้ยนโดยผู้ค้าก็ฉวยโอกาสตั้งราคาให้สูงกว่าราคาจากโรงงาน กลายเป็นวงจรการจำหน่ายที่ไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้อีกเลย
ทั้งนี้​ ข้อมูลบริษัท​ รีเจนซี่​ บรั่นดีไทย​ จำกัด​ จดทะเบียนเมื่อวันที่​ 16​ พ.ย.2532 ทุนจดทะเบียน​ 5​ ล้านบาท​ ปัจจุบันมูลค่าบริษัท​อยู่ที่ 9,260,845,755 บาท​
ส่วน​ บริษัท โรงงานสุราพิเศษสุวรรณภูมิ จำกัด​ ผู้ผลิตบรั่นดีรีเจนซี่​ ของ​ “ดิเรก​ โชคชัยณรงค์” จดทะเบียนเมื่อวันที่​ 25​ ก.พ.​ 2514 ปัจจุบันทุนจดทะเบียน​ 90​ ล้านบาท​ มูลค่าบริษัท​ 8,399,547,005 บาท
หากดูที่ผลประกอบการจะเห็นว่าแม้มูลค่าของบริษัทจะเพิ่มขึ้น​ แต่รายได้รวม​ กับกำไรสุทธิ​ของบริษัทลดลงนับตั้งแต่โควิดระบาด​ และตัวเลขยังคงลดลงในปี​ 2564​ จนต้องปรับราคาให้สูงขึ้น
น่าคิดมากว่าบรั่นดีที่ได้รับความนิยมสูงสุดสร้างปรากฏการณ์สินค้าขาดตลาดต่อเนื่องยาวนาน​
ใคร..? ได้ประโยชน์จากราคารีเจนซี่ที่แพงขึ้นเรื่อยๆเช่นนี้
โฆษณา