17 ม.ค. 2023 เวลา 13:54 • ความคิดเห็น

วิเคราะห์ หลังจีนคลายมาตรการโควิด ส่งผลต่อท่องเที่ยวไทยอย่างไร?

อ้ายจงมีโอกาสได้รับเชิญให้แสดงทรรศนะหลังจีนคลายมาตรการโควิด ตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา จนถึงเปิดประเทศ ที่ให้มีการเดินทางเข้าออกจีนอีกครั้ง โดยเฉพาะการอนุญาตให้คนจีน "เที่ยวนอกประเทศ" อีกครั้ง และเปิดให้ต่างชาติเข้าจีน แต่ยังไม่ให้ต่างชาติขอวีซ่าท่องเที่ยวเพื่อเที่ยวในจีน
5
"ส่งผลต่อไทยและการท่องเที่ยวอย่างไร?"
จึงขอนำมาเขียนเป็นบทควมาวิเคราะห์ของผมครับ
ผู้เขียน: อาจารย์ภากร กัทชลี อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเจ้าของเพจอ้ายจง
เราสามารถสรุปสถานการณ์หลังผ่อนคลายโควิด-19 หลังผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 และเปิดให้มีการเดินทางระหว่างประเทศอีกครั้ง ดังนี้
ก่อนจีนปิดประเทศกว่า 3 ปี เพราะการระบาดของโควิด-19 นักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางไปยังต่างประเทศมีจำนวนมากที่สุดในโลก ในปี 2561 มีนักท่องเที่ยวชาวจีนเดินทางออกนอกประเทศเกือบ 150 ล้านคน และจากข้อมูลขององค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ ในปี 2562 นักท่องเที่ยวชาวจีนใช้จ่ายไปต่างประเทศราว 2.55 แสนล้านดอลลาร์
1
โดยประเทศในแถบอาเซียนเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางหลักที่นักท่องเที่ยวจีนเดินทางไปท่องเที่ยวในช่วงก่อนโควิด-19 และยังเป็นคู่ค้าสำคัญทางการค้าและการลงทุนอีกด้วย
2
เฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทย เห็นผลกระทบอย่างชัดเจนเมื่อจีนปิดประเทศ โดยปี 2563 ไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติไม่ถึง 7 ล้านคน ลดลงมากกว่า 80% จากช่วงปี 2562 ก่อนโควิดระบาดหนัก
2
ดังนั้น การเปิดพรมแดนเข้าออกจีนและอนุญาตให้คนจีนเดินทางไปต่างประเทศด้วยจุดประสงค์ท่องเที่ยวได้อีกครั้ง ทางการจีนและสื่อจีนต่างๆ จึงระบุว่า “การปรับมาตรการโควิดของจีน ไม่เพียงส่งผลต่อเศรษฐกิจจีน แต่ส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกด้วย อย่างเช่นอุตสาหกรรมท่องเที่ยว”
เมื่อเปิดให้คนจีนเดินทางออกนอกประเทศได้ ประเทศต่างๆในอาเซียน ซึ่งเคยมีนักท่องเที่ยวจีนเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวหลัก รวมถึงประเทศไทย มีการเปิดรับอย่างเต็มที่
ในกรณีของประเทศไทย มีการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่โดยระดับผู้นำระดับสูงในคณะรัฐบาล ทั้งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับการให้สัมภาษณ์ของผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. ที่ให้สัมภาษณ์ถึงการพยายามเรียนรู้และฝึกพูดภาษาจีน พร้อมกล่าวภาษาจีนที่มีความหมายว่า “จีนไทยพี่น้องกัน” จนกลายเป็นกระแสในโลกสังคมออนไลน์จีน
และมีการกล่าวถึงโดยโฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนในการแถลงเกี่ยวกับการเปิดรับนักท่องเที่ยวจีนของประเทศต่างๆ ซึ่งมองว่า เป็นการแสดงความเป็นมิตรต่อคนจีน และจะมีการเปิดเที่ยวบินระหว่างจีนไปยังไทย และอาเซียนเพิ่มมากขึ้น
จากที่กล่าวข้างต้น
จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทย เพราะแนวโน้มที่นักท่องเที่ยวจีนจะเดินทางมาไทยเป็นไปในเชิงบวก
ซึ่งถ้าพิจารณาจากญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ มีการจำกัดการเดินทางของคนจีน และจีนมองว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ พร้อมทั้งตอบโต้ด้วยการระงับการออกวีซ่าระยะสั้นแก่พลเมืองญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีการยกเลิกการจำกัดเดินทางเข้าประเทศของพลเมืองจีน
1
ก็ยิ่งเป็นแนวโน้มเชิงบวกต่อประเทศไทย และอาเซียน ที่ไม่มีการมาตรการจำกัดดังกล่าว
อีกหนึ่งโอกาสของการท่องเที่ยวและผู้ประกอบการในไทย คือ นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าไทย เป็นนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มมีคุณภาพกลางค่อนสูง และมีกำลังซื้อ
เนื่องจากแม้จีนจะเปิดให้เดินทางออกนอกประเทศได้ ทว่าในช่วงแรกยังคงมีข้อจำกัดอยู่มากทีเดียว อย่างยิ่งเมื่อพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายในการเดินทาง จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่า สูงกว่าช่วงเวลาปกติก่อนการระบาดหนัก ราว 2 เท่า
1
ดังนั้น นักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางเข้าไทยเป็นชุดแรกๆ จึงเป็นกลุ่มที่พร้อมออกเดินทางต่างประเทศ และมีพฤติกรรมแบบ “Revenge Tourism” หรือเที่ยวหนำใจ เที่ยวล้างแค้น
7
ดังที่เกิดขึ้นในการท่องเที่ยวภายในประเทศจีนในช่วงปี 2565 ที่ผ่านมา โดยเป็นการท่องเที่ยวและใช้จ่าย หลังจากที่มีข้อจำกัดด้วยมาตรการโควิดเป็นเวลานาน เรียกว่า แค้นการระบาด และต้องอดทนอดกลั้นไม่ได้ออกไปเที่ยวมาเป็นเวลาขณะหนึ่ง
1
เทรนด์การท่องเที่ยว “เที่ยวธรรมชาติ” ที่ได้เห็นในการท่องเที่ยวในประเทศจีน เพิ่มขึ้นกว่า 60% ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ Gen Z
1
มีความเป็นไปได้ที่จะส่งผลมายังการท่องเที่ยวต่างประเทศ และประเทศไทย ประเทศที่มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติอันหลากหลายที่คนจีนเองก็นิยมอยู่แล้ว อย่างทะเลและภูเขา
1
คนจีนที่เดินทางออกมาเที่ยวช่วงนี้ อาจไม่ได้มีจุดประสงค์แค่ท่องเที่ยวอย่างเดียว เช่น การดูลู่ทางการค้า การลงทุน
1
และเป็นไปได้ถึงการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่มีศักยภาพในการดึงดูดกลุ่มนักท่องเที่ยวจีน
เพราะอีกแง่หนึ่ง กลุ่มที่เดินทางออกจากจีนเป็นกลุ่มแรกๆ จำนวนมาก เป็นกลุ่ม “阳康” หรือ หยางคัง อันหมายถึงผู้ที่หายจากการติดโควิดแล้ว ซึ่งไม่น้อยยังคงมีความกังวลต่อเรื่องสุขภาพของตน ทำให้การตรวจเช็คร่างกาย การพักฟื้น การผ่อนคลายกายใจหลังวิกฤติระบาด สามารถเป็นบริการในสายท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่ตอบโจทย์ได้
โดยช่วงก่อนการระบาด ประเทศไทยก็มีการเติบโตของตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และนักท่องเที่ยวจีนเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักเช่นกัน ทั้งในการเข้ามาใช้บริการการแพทย์และท่องเที่ยวในสถานที่ท่องเที่ยวในไทยที่ครองใจพวกเขา
5
และหากดูข้อมูลจาก Global Wellness Institute ที่แสดงให้เห็นถึงเม็ดเงินหลักแสนล้านบาทไหลเข้ามาในตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของไทย ในปี 2563 แม้จะเกิดโรคระบาด ยิ่งทำให้เห็นถึงศักยภาพของไทยที่สามารถลุยต่อได้ ณ เวลานี้ ที่กลุ่มนักท่องเที่ยวหลักเริ่มกลับมา
1
อย่างไรก็ตาม อุปสรรคและข้อควรระวัง ที่ผู้ประกอบการไทยไม่ควรมองข้าม
คือ ต้องยอมรับว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดทั้งในจีน ในไทย และทั่วโลก ยังคงต้องจับตามองและความไม่แน่นอนยังสูง
ทางผู้ประกอบการจึงต้องมีแผนรับมือ โดยไม่อิงไปยังนักท่องเที่ยวกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจนเกินไปดังที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วเมื่อก่อนโควิด-19
4
กล่าวคือ มีผู้ประกอบการในย่านท่องเที่ยวชื่อดังของไทย จัดทำธุรกิจเพื่ออิงกับนักท่องเที่ยวจีนเป็นหลักแบบ 100% จนทำให้คนไทย คนในท้องถิ่นเอง รู้สึกถึง รู้สึกถึง “การขาดความเป็นไทย” ของธุรกิจเหล่านั้น และไม่กล้าเข้าใช้บริการ ด้วยเหตุนี้ เมื่อเกิดวิกฤติการระบาดโควิด-19 นักท่องเที่ยวจีน นักท่องเที่ยวต่างชาติ ไม่สามารถเดินทางมาไทยได้ หรือมาได้น้อยลง ธุรกิจดังที่กล่าวมา จึงล้มหายตายจากจำนวนมาก
1
พฤติกรรมการท่องเที่ยวของคนจีน ตั้งแต่ช่วงใกล้โควิด-19 ระบาดทั่วโลก พวกเขาก็เริ่มเที่ยวแบบมองหาสถานที่ 小众 Unseen หรือที่ยังไม่มีคน โดยเฉพาะคนจีนเดินทางไป หรือรู้จักเยอะมากนัก
1
เป็นโอกาสอันดีของไทย ในการโปรโมทเมืองรอง สถานที่ท่องเที่ยวรอง แต่อุปสรรคสำคัญ คือการเดินทาง ที่ยังไม่สะดวกมากนักถ้าเทียบกับเมืองหลัก รวมทั้งข้อมูลที่มีไม่มากเท่า โดยจุดนี้ สามารถแก้ไขได้ ด้วยการใช้สื่อสังคมออนไลน์แนะนำสถานที่ 小众 ให้มากขึ้น
4
อย่าง การใช้ Douyin (โต่วอิน หรือ TikTok จีน) แพลตฟอร์มสังคมออนไลน์หลักที่คนจีนนิยม ซึ่งเป็นไปตามเทรนด์การตลาดออนไลน์จีน เมื่อการดูคลิปวิดีโอและการไลฟ์สด เป็นพฤติกรรมหลักของคนจีนยุคนี้
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน
โฆษณา