ขณะที่กลุ่มคน Gen X, Gen Y ที่มีอายุมากกว่านั้นจะดูสับสนกับปฏิกิริยาของคนเจน Z ที่มีต่ออีโมจิกดไลก์ เพราะจุดประสงค์ของการใช้อิโมจิดังกล่าวในห้องแชทที่เกี่ยวกับงาน เพียงแค่ต้องการบอกว่า “ฉันเข้าใจและรับทราบแล้ว” หรือ “ฉันเห็นด้วย” หรือบางทีใช้เพื่อเป็นการจบบทสนทนากัน ไม่เห็นว่าอิโมจิที่ใช้กันจะเป็นปัญหาอะไร
1
คน Gen X, Gen Y จึงคิดว่าปัญหามันเกิดขึ้นมาเพราะคน Gen Z ใช้อิโมจิกดไลก์ในแนวประชดประชันคนอื่น เมื่อมีคนอื่นมากดให้กับพวกเขาจึงทำให้รู้สึกไม่ดี รู้สึกไม่พอใจ
โดยทางสำนักข่าว New York Post ได้ออกมาให้คำสัมภาษณ์ ของ นายแบร์รี เคนเนดี วัย 24 ปี ที่สนับสนุนเหตุผลนี้ว่าเขาใช้อีโมจิกดไลก์กับคนรุ่นเบบี้บูมเมอร์ เช่น พ่อแม่ หรือ เพื่อนร่วมงานที่มีอายุมากกว่าเท่านั้น และการใช้ก็มักใช้ในเชิงแดกดัน ซึ่งตัวเขาเองก็ไม่แน่ใจว่าพวกเขาเข้าใจสิ่งที่ต้องการจะสื่อหรือไม่
1
นอกจากนี้ยังมีอิโมจิรูปหัวใจที่คน Gen Z รู้สึกไม่ดีหากมีใครกดมาให้ พวกเขาคิดว่าอีโมจิหัวใจสงวนไว้สำหรับเพื่อนและครอบครัวเท่านั้น เพราะมีความหมายของความรักที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น
10 อันดับของ อิโมจิที่คนเจน Z มองว่าผู้ใช้งานอีโมจิเหล่านั้นดูแก่และไม่เท่ที่สุด มีดังนี้
1. กดไลก์ 👍
2. หัวใจสีแดง❤️
3. โอเค 👌
4. เครื่องหมายติ๊กถูก ✔️
5. อุนจิ 💩
6. ร้องไห้หนักมาก 😭
7. ลิงปิดตา 🙈
8. ปรบมือแปะ ๆ 👏
9. รอยจูบพิมพ์ใจ 💋
10. หน้าแสยะยิ้ม 😬
7
อีวี พอร์เตอร์ ตัวแทนจาก Perspectus Global กล่าวในแถลงการณ์ว่า “ด้วยค่าเฉลี่ยของชาวอังกฤษที่ส่งอิโมจิ 76 ตัวต่อสัปดาห์ ในหลายแพลตฟอร์ม เป็นที่ชัดเจนว่า สัญลักษณ์เหล่านี้เป็นส่วนสำคัญของการสื่อสารประจำวันของเรา ทั้งในระดับส่วนตัวและทางการ งานวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการประเมินอีโมจิที่คุณใช้ เพราะการใช้อิโมจิบางตัว เช่น กดไลก์ จะทำให้คุณกลายเป็นคนโบราณคร่ำครึในสายตาของคน Gen Z ไป
1
สำหรับในเคสของประเทศไทยเราเองก็มีหลายๆ เคสที่วัยรุ่น Gen Z ไม่ชอบคนที่ไม่สนิทแล้วมากดอิโมจิรูปหัวใจ หรือว้าว จนเกิดเป็นประเด็นความขัดแย้งขึ้นมาอย่างที่เราได้เห็นตามข่าวและสื่อต่างๆ ดังนั้นเวลาเราจะกดส่งอิโมจิให้ใครที่ไม่สนิทเราอาจต้องคิดกันมากขึ้น