Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
โรงพยาบาลเอกชัย
•
ติดตาม
18 ม.ค. 2023 เวลา 07:28 • สุขภาพ
ภาวะมีบุตรยากในเพศหญิงกับแพทย์แผนจีน
ภาวะมีบุตรยาก หมายถึง การที่คู่สมรสไม่สามารถตั้งครรภ์ได้โดยที่มีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอและไม่ได้มีการคุมกำเนิดในระยะเวลา 1 ปี หรือ 6 เดือน
1
ในกรณีที่ฝ่ายหญิงมีอายุเกิน 35 ปีขึ้นไป ซึ่งภาวะมีบุตรยากนั้น ส่วนมากมักเกิดได้จากความผิดปกติของฝ่ายหญิงหรือฝ่ายชาย หรือทั้งสองฝ่ายร่วมกัน
ภาวะมีบุตรยากแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. ภาวะมีบุตรยากแบบปฐมภูมิ คือ คู่สมรสที่ยังไม่เคยมีการตั้งครรภ์มาก่อน
2. ภาวะมีบุตรยากแบบทุติยภูมิ คือ คู่สมรสที่เคยมีการตั้งครรภ์มาแล้วอย่างน้อย 1 ครั้ง แต่กลับไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีก
สาเหตุของภาวะมีบุตรยากของเพศหญิงตามหลักของแพทย์แผนจีนมีอะไรบ้าง ?
1. ไตพร่อง ตามหลักของแพทย์แผนจีน ไตเป็นที่กักเก็บสารจิง เป็นสารสำคัญในไตซึ่งจะควบคุมการเจริญเติบโตของมนุษย์ มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาการและการสืบพันธุ์ของมนุษย์ โดยกลุ่มสาเหตุจากไตพร่องยังสามารถจำแนกได้อีก 3 ประเภท ได้แก่
1
- ชี่ไตพร่อง มักพบอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ เวียนศีรษะ มีเสียงในหู เมื่อยเอวเข่าอ่อน ปัสสาวะบ่อย
- หยางไตพร่อง มักพบอาการรอบเดือนมาช้าหรือหลังกำหนด ปริมาณน้อยสีซีด ประจำเดือนไม่มา สีหน้าหมองคล้ำ เมื่อยเอวเข่าอ่อน
- อินไตพร่อง มักพบอาการรอบเดือนมาก่อนกำหนด ปริมาณน้อย หรือช่องคลอดแห้ง เวียนศีรษะ มีเสียงในหู เมื่อยเอวเข่าอ่อน เวียนศีรษะ มีเสียงในหู นอนไม่หลับ ฝันเยอะ
2. ชี่ตับติดขัด มักพบอาการรอบเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ปริมาณบางครั้งมากและบางครั้งน้อย สีคล้ำ มีลิ่มเลือด คัดตึงเต้านม ปวดท้องประจำเดือน หงุดหงิดขี้โมโห
3. เสมหะความชื้นอุดตันในร่างกาย ส่วนมากจะพบในผู้ที่มีรูปร่างอ้วน หรือผู้ที่ชอบรับประทานของหวาน ของมัน ของทอด มากเกินไป จึงทำให้เกินเสมหะชื้นสะสมในร่างกายได้ง่าย มักพบอาการรอบเดือนมาช้า หรือไม่มา ตกขาวเยอะ สีขาว เหนียว อ่อนเพลีย แน่นหน้าอก เวียนศีรษะ
1
4. เลือดคั่ง มักพบอาการรอบเดือนมาช้าหรือหลังกำหนด ปริมาณบางครั้งมากและบางครั้งน้อย สีคล้ำ มีลิ่มเลือด หรือมีอาการปวดท้องประจำเดือน
แพทย์แผนจีนช่วยเรื่องภาวะมีบุตรยากได้อย่างไร ?
หากพูดถึงการรักษาภาวะมีบุตรยากของเพศหญิงทางแพทย์แผนจีนแล้วนั้น มีส่วนที่สามารถช่วยให้เกิดการตกไข่ ปรับสมดุลฮอร์โมน ปรับระบบการไหลเวียนเลือด เพื่อการบำรุงเลี้ยงตัวอ่อนที่จะมาฝังตัวที่มดลูกให้เจริญเติบโตตามธรรมชาติได้ดีขึ้น
หรือแม้กระทั่งการช่วยแก้ไขความผิดปกติทางโครงสร้างที่จะนำไปสู่ภาวะมีบุตรยากก็ถือว่าเป็นทางเลือกที่สามารถช่วยได้ เช่น ภาวะเนื้องอกในมดลูก เป็นต้น
แม้กระทั่งการผสมผสานจุดเด่นของเทคนิคทางแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีนเข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้มากขึ้น เนื่องจากแพทย์แผนจีนจะเน้นให้ความสำคัญกับร่างกายและการเตรียมร่างกาย เช่น
- ก่อนทำ IVF ควรที่จะบำรุงไต ปรับสมดุลชี่ตับ บำรุงเลือด เพื่อทำให้เลือดไหลเวียนได้ดี
- ช่วงไข่ตก ต้องปรับสมดุลเส้นลมปราณชงเริ่น ปรับการทำงานของรังไข่ เพื่อจะทำให้ได้ไข่ที่มีคุณภาพและมดลูกอยู่ในสภาวะเหมาะสมที่ตัวอ่อนจะฝังตัวได้ดี
- ก่อนการใส่ตัวอ่อน ควรปรับสมดุลตับ ไต ปรับการไหลเวียนเลือด เตรียมผนังมดลูกให้แข็งแรง ทำให้ร่างกายและมดลูกทำหน้าที่สัมพันธ์สอดคล้องกัน
- หลังการใส่ตัวอ่อน ควรที่จะต้องบำรุงเลี้ยง อบอุ่นเลือด บำรุงม้ามและไต เพื่อช่วยในการฝังตัวอ่อน พัฒนาการของตัวอ่อน และป้องกันการแท้งบุตร
1
แนวทางการใช้การรักษาทางแพทย์แผนจีน
การรักษาภาวะมีบุตรยากของแพทย์แผนจีนนั้น แพทย์มักจะใช้วิธีการรักษาทั้งเพศหญิงและเพศชายไปพร้อมๆกัน โดยใช้วิธีการฝังเข็ม รมยา ร่วมกับยาสมุนไพรจีน
บทความโดย แพทย์จีนจุฑารัตน์ บุญสุธารมณ์ แพทย์แผนจีนประจำโรงพยาบาลเอกชัย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ แผนกแพทย์แผนจีน รพ.เอกชัย 🏥
☎️โทร.034-417999 หรือ 1715 ต่อ 201
แม่และเด็ก
แพทย์แผนจีน
ไลฟ์สไตล์
4 บันทึก
9
6
4
9
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย