Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Owl Law Student
•
ติดตาม
18 ม.ค. 2023 เวลา 08:10 • การศึกษา
Ep.6 กฎหมายอาญา คืออะไร ทำไมใครๆก็กลัว
คราวที่แล้วเราพาไปทำความรู้จักกับกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว รอบนี้เรามาทำความรู้จักกฎหมายอาญาบ้างว่าคืออะไร ถ้าทำผิดกฎหมายอาญาแล้วจะได้รับโทษอย่างไรบ้าง
กฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่บัญญัติว่า “การกระทกหรือไม่กระทำการอย่างใดเป็นความผิดและกำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดไว้ด้วย หรืออีกนัยหนึ่ง คือ กฎหมายมี่บัญญัติห้ามมิให้มีการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด หรือบังคับให้มีการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดโดยผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจะต้องได้รับโทษ” [ Cr. อ.เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์]
ตัวบทที่สำคัญของกฎหมายอาญา คือ ประมวลกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติอื่นที่มีการกำหนดโทษทางอาญาไว้ ซึ่งโทษทางอาญา มี 5 ประะเภท ได้แก่
1. ริบทรัพย์
2. ปรับ
3. กักขัง
4. จำคุก
5. ประหารชีวิต
ดังนั้นถ้าเราเห็นกฎหมายอะไรที่มีโทษ 1 ใน 5 ประเภทดังกล่าว ก็สามารถเข้าใจได้ว่ากฎหมายฉบับนั้นคือ กฎหมายอาญานั่นเอง
ลักษณะสำคัญของกฎหมายอาญา คือ
+ เป็นกฎหมายที่กำหนดความผิดและบทกำหนดโทษไว้อย่างชัดเจน
+ จะบังคับเป็นผลย้อนหลังที่เป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิดไม่ได้
+ เป็นกฎหมายมหาชน
+ปกติใช้บังคับกับการกระทำความผิดในราชอาญาจักร [ มีบางกรณีที่ใช้บังคับกับการกระทำความผิดที่เกิดนอกราชอาณาจักร ; ดูใน ประมวลกฎหมายอาญา ]
สำหรับการเรียนในระดับปริญญาตรีและเนติบัณฑิตจะเน้นเรียน “ประมวลกฎหมายอาญา” เป็นหลัก ซึ่งมีตัวบทไม่เยอะเท่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีเพียงแค่ 300++ เท่านั้นเอง
โดยแบ่งออกเป็น 3 ภาค ดังนี้
ภาค 1 บทบัญญัติทั่วไป { ม.1- 106 }
ภาค 2 ความผิด [ ม.107 -366 /4 ]
ภาค 3 ลหุโทษ ( ม.367-398 )
ผ่านไปแล้วกับการทำความรู้จักกับกฎหมายหลักที่ใช้เรียนในระดับนิติศาสตรบัณฑิตนะคะ แล้วพบกันใหม่ใน Ep.หน้าค้าา :)
ฝากกด Like กด share กดติดตามกันด้วยน้า 🙂
ด้วยรัก
Owl Law Student
ติดตามได้ 3 ช่องทาง
ช่องทางเพจ FB : #owllawstudent @Owllawstudent
https://www.facebook.com/Owllawstudent
ช่องทาง Blockdit :
https://www.blockdit.com/owllawstudent
ช่องทาง Blogger :
owllawstudent.blogspot.com
กฎหมาย
law
นิติศาสตร์บ้านๆ
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย