19 ม.ค. 2023 เวลา 04:00 • สิ่งแวดล้อม

อย่างเซ็ง! งานวิจัยเผยโลมากำลังตะโกนคุยกัน เพราะกิจกรรมทางน้ำของมนุษย์

โลมาเป็นสัตว์สังคมและชอบรวมกลุ่มกันไปไหนมาไหนตลอด แต่เมื่อไม่นานมานี้ ความกังวลของนักวิทยาศาสตร์เริ่มปรากฎความจริงบางอย่าง การทดลองในงานวิจัยหนึ่งได้เผยให้เรารู้ว่า ตอนนี้โลมากำลังตะโกนคุยกัน เนื่องจากเสียงจาก "กิจกรรมทางน้ำของมนุษย์เริ่มดังเกินไปแล้ว"
Pernille Sørensen นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจาก University of Bristol และผู้เขียนงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Current Biology ได้เผยข้อมูลที่น่าสนใจจากการทดลองของเขาว่า เวลาเราไปเที่ยวผับ หรือในสถานที่ที่เสียงดังมาก ๆ เรามักจะตะโกนคุยกันหรือออกมาแล้วหูอื้อ ภาวะนี้กำลังเกิดขึ้นกับโลมาเช่นเดียวกัน เพราะพวกมันกำลังพยายามสื่อสารท่ามกลางเสียงของการก่อสร้างและการขนส่งทางเรือของมนุษย์ และหลายครั้งการสื่อสารของพวกมันล้มเหลว
โลมาเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในน้ำและใช้เสียงหวีดเล็กแหลมในการสื่อสาร รวมไปถึงการล่าเหยื่อ การสืบพันธุ์และการหลบหนีผู้ล่า ดังนั้น การใช้เสียงหวีดเล็กแหลมของโลมาจึงสำคัญต่อการใช้ชีวิตของพวกมันมาก ๆ เสียงเป็นหนึ่งในประสาทสัมผัสชั้นดีของสัตว์ทะเล สามารถเดินทางได้ไกลหลายสิบหรือหลายร้อยกิโลเมตรใต้ทะเลลึก
การสื่อสารผิดพลาด
นักวิจัยกล่าวว่า ตอนนี้ประสิทธิภาพในการหาอาหารร่วมกันของฝูงโลมากำลังลงลด และขั้นต่อไปมันจะส่งผลต่อสุขภาพโลมา และไม่เพียงแค่โลมาเท่านั้นที่กำลังประสบปัญหาเหล่านี้ สัตว์น้ำจำพวกวาฬที่ใช้เสียงในการสื่อสารกำลังประสบปัญหานี้เช่นเดียวกัน
ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา ภูมิทัศน์ของเสียงใต้น้ำได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก หลายน่านน้ำทั่วโลกถูกครอบงำไปด้วยมลพิษทางเสียงใต้น้ำ ตั้งแต่การขนส่งทางเรือ กิจกรรมการละเล่นทางน้ำ การสำรวจคลื่นไหวสะเทือน เหมืองใต้น้ำ การขุดเจาะน้ำมัน และฟาร์มกังหันลมนอกชายฝั่ง ซึ่งการเพิ่มขึ้นของเสียงเหล่านี้นำไปสู่การเกยตื้น การเจ็บป่วย และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของสัตว์น้ำ
อีกทั้งการศึกษาอีกชิ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็พบว่า วาฬสัมผัสได้ถึงแรงไหว ที่ใช้ในการสำรวจอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ พวกมันจะเริ่มดำน้ำทันทีเพื่อหนีออกจากเสียงรบกวนนั้น
ทดสอบรู้ได้อย่างไรว่าโลมากำลังตะโกนคุยกัน เรื่องนี้ยกให้คู่หูโลมาปากขวด เดลต้าและรีส อ่านต่อได้ที่ >>>
โฆษณา