19 ม.ค. 2023 เวลา 13:29 • การศึกษา
1) ผมมองว่า “เรื่องการเงิน” เป็นเรื่องที่ควรได้รับการปลูกฝังตั้งแต่เด็กๆ มันอาจเป็นคณิตศาสตร์พื้นฐานที่ใครๆก็สามารถคำนวณได้
1
แต่ผมมองว่ามันเป็นเรื่องของ “ความเฉลียวและฉุกคิด” มากกว่า “ความฉลาดในการทำคะแนนสอบ”
และ “ความรู้ด้านการเงิน” จะช่วยให้เด็กๆ “วางแผนชีวิต” ตั้งแต่เรียนจบจนถึงวัยเกษียณได้เลยทีเดียว!
2) ผมได้ข้อมูลจากผลการสำรวจของ “Bank of America” มาว่า ราว 73% ของ Gen Z ประสบความยากลำบากในการเก็บออม และแน่นอนว่าบางส่วนถึงขั้นมีหนี้สินเกี่ยวกับการกู้ยืมเพื่อการศึกษา
1
และหากชาว Gen Z ไม่มีเงินเก็บเพียงพอ ระบบเศรษฐกิจโดยรวมอาจได้รับผลกระทบไปด้วย เช่น ยอดขายอสังหาริมทรัพย์และรถยนต์ซึ่งเป็นสินค้าราคาที่สูงมากสำหรับชีวิตผู้คนทั่วไปที่ต้องพึ่งพารายได้จากงานประจำ
และเมื่อภาคอสังหาริมทรัพย์ขาดกำลังซื้อจากคน Gen Z ระบบเศรษฐกิจที่มีกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นตัวขับเคลื่อน ก็จะพลอยได้ผลกระทบไปด้วย
ผมเองก็เรียนมาตามระบบโรงเรียนแบบดั้งเดิมที่ไม่ได้มีหลักสูตรที่ชี้แนะเรื่องความรู้ทางการเงินแต่อย่างใด
แต่ไอเดียด้านกลยุทธ์ทางการเงินของผมในเวลานี้คือ หลักการ 4Rs
>Reduce:
คือ ลดค่าใช้จ่ายที่เห็นแล้วว่าไม่จำเป็น
>Reuse:
คือ อะไรก็ตามที่เราต้องซื้อต้องใช้ เราก็ใช้ให้มันคุ้มค่าเงินที่ลงทุนไป
>Recycle:
คือ อะไรก็ตามที่เราใช้ไปแล้ว และมันได้หมดประโยชน์ทางตรงของมัน เราก็พยายามมองหาอรรถประโยชน์ในด้านอื่นๆที่เรายังสามารถนำของที่เราจะทิ้งไปใช้งานด้านอื่นๆได้แทน
>Regenerate:
รายได้ - เงินออม = รายจ่าย..... (i)
เงินออม - เงินลงทุน = เงินเก็บ...(ii)
คือ เราแบ่ง “เงินลงทุน” ส่วนหนึ่งออกมาจาก “เงินออม” และที่เหลือคือ “เงินเก็บ”
“เงินเก็บ” เก็บไว้ยามฉุกเฉิน และควรมี “สภาพคล่องสูง” คือ สามารถถอนออกมาใช้ได้ และนำไปทำให้ “งอกเงย” บนพื้นฐานของ “ความเสี่ยง” ตำ่สุด
ส่วน “เงินลงทุน” เป็นเงินที่ก้อนเล็กกว่า และสามารถนำไป “ลงทุน” บน “ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน” ที่มี “ความเสี่ยง” ที่เราสามารถยอมรับได้เมื่อเทียบกับ “อัตราผลตอบแทน” ที่ประเมินแล้วว่า “คุ้มค่า”
3) สิ่งที่สำคัญเอามากๆในโลกยุค “สังคมผู้สูงอายุ” คือ
มันจะมีผู้สูงอายุอยู่สองแบบ
- อายุยืน > มีเงินเหลือพอใช้
- อายุยืน > มีความยากลำบากด้านการเงิน
แน่นอนว่า ทันทีที่เราเริ่มทำงานมีเงินใช้ “ความเย้ายวนใจ” ในการนำเงินไปใช้เพื่อแลกมากับความสนุกสนานและสะดวกสบายจากการจับจ่าย ย่อมเกิดขึ้นได้
ดังนั้น “ความรู้ด้านการเงิน” โดยเฉพาะ “การวางแผนการเงินหลังช่วงเกษียณ” นั้น คือสิ่งที่เราทุกคน ควรเตือนสติตัวเองไว้เสมอๆ
จากคลิปของรายการ “เศรษฐกิจติดบ้าน” ของช่อง Thai PBS
คุณพี่ “นิ้วโป้ง” ได้ให้หลักการออมเงินเพื่อใช้จ่ายหลังเกษียณไว้ ประมาณว่า
- “อัตราเงินเฟ้อ” ที่สูงกว่า “อัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคาร” ทำให้เราควรมอง “การลงทุน” ที่มีความเสี่ยงที่เราสามารถประเมินได้
- สมมุติว่า
: คุณเริ่มมีเงินเดือนในช่วงอายุ 20 ปี
: คุณเกษียณตอนอายุ 60 ปี
: คุณมีชีวิตอยู่จนอายุ 80 ปี
นั่นคือ คุณทำงาน 40 ปี เพื่อให้มีเงินใช้ในระยะเวลา 60 ปี!
หรือ ถ้ามองในเรื่องอัตราส่วนคือ
 
เวลาทำงาน 4 หน่วย : เวลาใช้เงิน 6 หน่วย
6/4 = 1.5
นั่นคือ คุณทำงานหาเงิน 1 เดือน เพื่อที่จะมีเงินเหลือพอใช้จ่ายไป หนึ่งเดือนครึ่ง !
ดังนั้นโดยเฉลี่ย
ถ้าคุณต้องการมีเงินใช้ เดือนละ 20,000 บาทตั้งแต่เดือนแรกที่คุณทำงานในวัย 20 ปี ไปจนถึงเมื่อคุณอายุ 80 ปี
คุณควรมีเงินเก็บคร่าวๆ
20,000 x 12 x 60 = 14,400,000 บาท
โดยตัวเลขดังกล่าวเป็นตัวเลขคร่าวๆ เพราะ ตอนที่คุณเริ่มทำงานในวัย 20 ปี เงินเดือนเดือนแรกของคุณ อาจไม่ถึง 20,000 บาท
และในช่วง 40 ปี ที่คุณทำงาน เงินเดือนของคุณก่อนเกษียณก็จะเพิ่มขึ้นมากกว่า 20,000 บาท
และตลอดการทำงานเก็บเงินของคุณ คุณก็ไม่ได้ใช้เงินเดือนให้หมดทุกเดือนอยู่แล้ว
ดังนั้น “ความสามารถในการเก็บออมและการบริหารจัดการเงิน” ของคุณ รวมถึงหลัก 4 Rs ที่ผมมอบให้ จะเป็นปัจจัยสำคัญในการบรรลุยอดเงินเก็บที่คุณจะทำได้ในวันที่คุณเกษียณ รวมถึงอาชีพเสริมที่คุณพอจะทำได้ในวัยหลังเกษียณแล้ว!
คลิปเกี่ยวข้องที่ผมขอแนะนำ
[Note]
สำหรับท่านใดที่สนใจ สามารถ bookmark ข้อเขียนนี้ของผมไว้ได้นะครับ
ผมพยายามให้ข้อมูลเพิ่มเติมในครั้งต่อไปสำหรับ post นี้ของผม
....to be continued!
- ทันหุ้น: bond yield
- ปัจจัยเศรษฐกิจ
โฆษณา