Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
efinanceThai - สำนักข่าวหุ้น และการลงทุน
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
20 ม.ค. 2023 เวลา 09:15 • หุ้น & เศรษฐกิจ
TTB โชว์กำไรปี65 ที่ 1.41 หมื่นลบ. เพิ่มขึ้น 35.5% หลังรายได้ดบ.พุ่ง
TTB กวาดกำไรปี 65 อยู่ที่ 14,195 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 35.5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ขณะที่ไตรมาส 4/65 มีกำไร 3,847 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า หลังรายได้จากการดำเนินงานปรับตัวดีขึ้น ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น และ คุณภาพสินทรัพย์ที่อยู่ในเกณฑ์ควบคุมได้
ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TTB รายงานกำไรสุทธิปี 2565 อยู่ที่ 14,195 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้น 35.5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า คิดเป็นอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น หรือ ROE ที่ 6.6% ปรับตัวดีขึ้นจาก 5.1% ในปี 2564 ในขณะที่ไตรมาส 4/65 มีกำไรสุทธิ 3,847 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.6% QoQ โดยรายได้จากการดำเนินงานที่ปรับตัวดีขึ้น
ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ย (NIM) ที่เพิ่มขึ้น และ คุณภาพสินทรัพย์ที่อยู่ในเกณฑ์ควบคุมได้ ส่วนการเติบโตในฝั่งรายได้ รายได้ดอกเบี้ย และ ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ย (NIM) ยังคงเพิ่มขึ้นจากการปรับสัดส่วนสินเชื่อไปยังสินเชื่อรายย่อยผลตอบแทนสูงมากขึ้น รวมถึงการบริหารจัดการต้นทุนทางการเงินที่ดี
ทางด้านรายได้ดอกเบี้ยสุทธิในไตรมาส 4/65 อยู่ที่ 13,826 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า 6.6% ส่วนใหญ่เป็นผลจากกลยุทธ์สินเชื่อที่เน้นขยายพอร์ตสินเชื่อรายย่อยมากขึ้นเพื่อเพิ่มผลตอบแทนและ การเพิ่มขึ้นของพอร์ตเงินลงทุน โดย NIM ปรับตัวสูงขึ้น 18 bps QoQ อยู่ที่ 3.10% จากอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ที่ดีขึ้น แม้ว่าต้นทุนทางการเงินจะสูงขึ้นตามการปรับตัวของดอกเบี้ย
สำหรับรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 18.7% QoQ อยู่ที่ 4,014 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิ และ การรับรู้ผลตอบแทนจากการซื้อคืนตราสารหนี้ AT1 บางส่วน โดยรายได้ค่าธรรมเนียมหลักของธนาคารอย่างค่าธรรมเนียมแบงก์แอสชัวรันส์ยังคงมีแนวโน้มที่ดี ในขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมกองทุนรวมยังคงมีความท้าทายท่ามกลางสภาวะตลาดที่ไม่เอื้ออำนวย ส่งผลให้รายได้รวมจากการดำเนินงานในไตรมาส 4/65 เพิ่มขึ้น 9.1% จากไตรมาสก่อนหน้ามาอยู่ที่ 17,840 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Loss: ECL) ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ยืดเยื้อจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 สร้างความท้าทายในการบริหารคุณภาพสินทรัพย์ ธนาคารยังคงมีความรอบคอบและติดตามคุณภาพสินทรัพย์อย่างใกล้ชิดด้วยโมเดลการวัดมูลค่าผลขาดทุนด้านเครดิต (ECL) ที่มีความรอบคอบและพิจารณาถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตผ่าน Management Overlay
โดยในไตรมาสนี้ ธนาคารตั้งสำรองฯ เป็นจำนวน 4,802 ล้านบาท หรือ คิดเป็นอัตราส่วนผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อที่ 138 เบสิสพอยท์ ซึ่งเพิ่มขึ้น 10.1% จากไตรมาสก่อนหน้า แต่ลดลง 4.3% จากช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนหน้า เนื่องด้วยสภาวะในตลาดที่เอื้ออำนวย และ กำไรพิเศษจากการซื้อคืนตราสารหนี้ AT1 บางส่วน ธนาคารพยายามที่จะปรับปรุงคุณภาพของพอร์ตสินเชื่อเชิงรุกผ่านการขายสินเชื่อด้อยคุณภาพ
พร้อมทั้งลดความเสี่ยงของพอร์ตสินเชื่อ ส่งผลให้การตั้งสำรองฯเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากโมเดล ECL ที่เข้มงวดขึ้นตามหลักเกณฑ์ในการประเมินความเสี่ยงของสินเชื่อภายใต้มาตรการความช่วยเหลือของธนาคารและการปรับชั้นคุณภาพสินเชื่อเชิงคุณภาพ (Qualitative downgrade) ในไตรมาส 4/65
สำหรับรอบ 12 เดือน ปี 2565 ECL อยู่ที่จำนวน 18,353 ล้านบาท ลดลง 14.7% YoY ทั้งนี้ ระดับของสำรองฯ นี้สะท้อนการบริหารความเสี่ยงอย่างรอบคอบของธนาคาร ซึ่งรวมปัจจัยด้านเศรษฐกิจ และสอดคล้องกับแนวปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทย อย่างไรก็ดี ระดับดังกล่าวไม่ได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เนื่องจากการตั้งสำรองเชิงรุกแล้วในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และ คุณภาพสินทรัพย์ที่สามารถบริหารจัดการได้
1
นอกจากนี้ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 65 สินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPLs) ไม่รวมดอกเบี้ยค้างรับ ตามงบการเงินรวมอยู่ที่ 41,707 ล้านบาท ซึ่งลดลงจาก 41,889 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนกันยายน 65 และ 42,120 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคม 64 ขณะที่สินเชื่อด้อยคุณภาพตามงบการเงินเฉพาะอยู่ที่ 37,208 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 37,093 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนกันยายน 65 และ 41,368 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคม 64
เนื่องด้วยธนาคารยังคงมีการดูแลพอร์ตสินเชื่อด้อยคุณภาพและจัดการแก้ปัญหาหนี้เสียอย่างต่อเนื่องผ่านการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เข้มงวดและพิจารณาโอกาสที่เหมาะสมในตลาด ธนาคารจึงได้พยายามปรับปรุงคุณภาพพอร์ตสินเชื่อด้อยคุณภาพและเพื่อเตรียมความพร้อมสาหรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยไตรมาส 4/65 ธนาคารมีการตัดหนี้สูญของสินเชื่อด้อยคุณภาพ เป็นจำนวนประมาณ 3.3 พันล้านบาท และ ขายสินเชื่อด้อยคุณภาพเป็นจำนวนราว 4.5 พันล้านบาท
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 65 อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL ratio) ตามงบการเงินรวมอยู่ที่ 2.73% ซึ่งอยู่ในระดับที่ควบคุมได้และลดลงจากช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่สูงถึง 2.98% ในไตรมาส 3/64 และเมื่อเทียบกับสิ้นเดือนธันวาคม 64 ลดลงจาก 2.81% ขณะเดียวกันอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพตามงบการเงินเฉพาะอยู่ที่ 2.44% เทียบกับ 2.42% ณ สิ้นเดือนกันยายน 65 และ 2.76% ณ สิ้นเดือนธันวาคม 64
โดยรวมระดับสินเชื่อด้อยคุณภาพค่อนข้างคงที่เนื่องจากการปรับชั้นคุณภาพสินเชื่อเชิงคุณภาพ (Qualitative downgrade) และ การเติบโตสินเชื่ออย่างระมัดระวัง ซึ่งธนาคารมีการปรับหลักเกณฑ์การจัดชั้นสินเชื่อให้เข้มงวดขึ้น อย่างไรก็ตาม สินเชื่อขั้นที่ 3 อยู่ในเป้าหมายของธนาคาร
***********************************
กด Follow & See First
ไว้เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสำคัญกันนะคะ
***********************************
หุ้น
การลงทุน
เศรษฐกิจ
บันทึก
6
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย