Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Histofun Deluxe
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
21 ม.ค. 2023 เวลา 04:00 • ประวัติศาสตร์
• ปฏิวัติฝรั่งเศส | เดอะซีรีส์
ตอนที่ 4 พิฆาตคุกบาสตีลย์
ข่าวลือที่ว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เตรียมทำลายสมัชชาแห่งชาติ นำไปสู่ความวุ่นวายและความหวาดวิตกให้กับสมัชชาแห่งชาติและประชาชนฝรั่งเศสที่ให้การสนับสนุน
นอกจากนี้ การที่ฌัก เน็กแกร์ (Jacques Necker) รัฐมนตรีการคลังที่ได้รับความนิยมจากประชาชน จากการที่เขาพยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและปากท้อง กลับถูกพระเจ้าหลุยส์สั่งปลดจากตำแหน่ง จากนโยบายที่เน็กแกร์พยายามลดค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยของราชสำนัก
2
ทั้งกระแสข่าวลือและความไม่พอใจที่เน็กแกร์ถูกปลด ก็ทำให้ประชาชนตัดสินใจว่า พวกเขาต้องลุกขึ้นต่อสู้แล้ว
2
วันที่ 14 กรกฎาคม 1789 ประชาชนฝรั่งเศสหลายพันคนได้บุกโจมตีคุกบาสตีลย์ (Bastille) ในกรุงปารีส ที่เดิมทีเคยเป็นป้อมปราการที่สร้างขึ้นในช่วงสงครามร้อยปี แต่ต่อมาได้กลายเป็นคุกสำหรับคุมขังนักโทษการเมือง
คุกบาสตีลย์จึงเปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ของความอยุติธรรมในระบอบเก่า แม้ว่าในตอนที่ประชาชนบุกเข้าไปในคุก จะมีนักโทษอยู่ในคุกเพียงแค่ 7 คนเท่านั้น
1
การบุกโจมตีคุกบาสตีลย์โดยประชาชน 14 กรกฎาคม 1789
และอีกหนึ่งเหตุผลที่ประชาชนเลือกโจมตีคุกบาสตีสย์ ก็เพราะว่ามันเป็นที่เก็บดินปืนนั่นเอง (ก่อนหน้านั้น ประชาชนได้ยึดอาวุธปืนและปืนใหญ่จากที่เก็บอาวุธมาแล้ว แต่พวกเขาไม่มีดินปืน)
การบุกโจมตีคุกบาสตีลย์จบลงด้วยชัยชนะของประชาชน ส่วนทหารที่ถูกส่งมาเพื่อหยุดยั้งการโจมตี หลายคนก็เลือกย้ายข้างอยู่กับประชาชนแทน
แม้ว่าจะมีคนล้มตายหลายร้อยคน แต่นี้ก็คือชัยชนะของประชาชนและสมัชชาแห่งชาติ ที่สำคัญมันยังแสดงให้เห็นว่า บัดนี้กษัตริย์ไม่ได้เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดของฝรั่งเศสอีกต่อไป แต่เป็นสมัชชาแห่งชาติ
แต่ระหว่างการโจมตีคุกบาสตีลย์ ก็ได้เกิดเหตุการณ์ที่เรียกได้ว่ารุนแรงและป่าเถื่อน เพราะกลุ่มประชาชนได้ตัดศีรษะผู้คุมคุกบาสตีลย์ และนำศีรษะมาเสียบกับเพื่อไม้แห่ประจาน พร้อมร้องรำทำเพลงอย่างสนุกสนานไปทั่วกรุงปารีส
1
ซึ่งสมัชชาแห่งชาติก็ไม่ได้สั่งห้ามหรือลงโทษผู้ที่ใช้ความรุนแรงแต่อย่างใด ทำให้ตั้งแต่นั้นมา ความรุนแรงจึงถูกใช้อย่างแพร่หลายในช่วงปฏิวัติ จนแทบจะเป็นเรื่องปกติเลยทีเดียว
2
ประชาชนตัดหัวผู้คุมคุกบาสตีลย์และแห่ประจานหลังโจมตีคุก
หลังเหตุการณ์โจมตีคุกบาสตีลย์ อำนาจในการปกครองประเทศก็อยู่ในมือของสมัชชาแห่งชาติหรือที่ในตอนนี้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น 'สภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติ' (National Constituent Assembly) ก็ได้เริ่มต้นปฏิรูปประเทศเพื่อเข้าสู่ยุคสมัยใหม่
วันที่ 26 สิงหาคม 1789 สภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติได้ออกคำประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง (Declaration of the Rights of man and of the Citizen) ที่ให้สิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียมแก่มนุษย์ทุกคน (แต่ตอนนั้นยังไม่รวมผู้หญิงและทาส)
1
คำประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง
อย่างไรก็ตาม ท่าทีของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ที่ทรงมีต่อสภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติ ก็ดูเหมือนว่าพระองค์ไม่ให้การยอมรับเท่าไหร่ เพราะพระเจ้าหลุยส์และราชสำนักยังคงอยู่ในพระราชวังแวร์ซายส์ที่อยู่นอกกรุงปารีส ทำให้ประชาชนมองว่า พระเจ้าหลุยส์ไม่แยแสต่อประชาชนหรือสนใจบ้านเมืองอะไรเลย
และนั่นก็นำไปสู่เหตุการณ์ที่ประชาชนเดินขบวนไปที่พระราชวังแวร์ซายส์ เพื่อบังคับให้พระเจ้าหลุยส์กลับมาอยู่ที่กรุงปารีส
...การเดินขบวนของเหล่าสตรี...
Next Episode Coming Soon
*** References
• History. French Revolution.
http://bitly.ws/yTr2
• Britannica. French Revolution.
http://bitly.ws/yTrj
• Duckster. French Revolution.
http://bitly.ws/yTqV
#HistofunDeluxe
11 บันทึก
20
1
9
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ปฏิวัติฝรั่งเศส | เดอะซีรีส์
11
20
1
9
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย