21 ม.ค. 2023 เวลา 12:19 • ประวัติศาสตร์

New Zealand ดินแดนที่ถูกค้นพบเป็นที่สุดท้ายบนโลก

ข่าวการประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ของนางจาซินดา อาร์เดิร์น สร้างความประหลาดใจให้กับชาวโลกไม่มากก็น้อย
1
แต่อีกมุมหนึ่งก็ทำให้เกิดรู้สึกสนใจถึงความเป็นมาของนิวซีแลนด์ ประเทศหมู่เกาะที่แสนห่างไกลแต่มีชื่ออยู่ในระดับแนวหน้าของโลกทั้งด้านการศึกษา สังคมและเศรษฐกิจ
2
นิวซีแลนด์ ดินแดน ณ สุดขอบฟ้าไกลเอื้อมของชาวตะวันตก และเป็นดินแดนสุดท้ายที่ชาวตะวันตกเดินทางไปถึง
2
หากแต่ดินแดนแห่งสุดท้ายที่ถูกค้นพบนี้ กลับเป็นดินแดนแห่งแรก ๆ ของโลกที่ได้พบเจอกับพระอาทิตย์วันใหม่
2
ร่องรอยของวัฒนธรรมชนพื้นเมืองอันน่าหลงใหล ความสัมพันธ์กับชาวตะวันตก และภูมิศาสตร์ที่โดดเด่น
1
เป็นเรื่องราวของดินแดนแห่งความหลากหลายนี้ นั่นก็คือ “นิวซีแลนด์”
⭐️ ดินแดนนิวซีแลนด์และคนพื้นเมืองเผ่าเมารี
นิวซีแลนด์เป็นประทศที่ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ในแดนซีกโลกใต้ โดยแบ่งออกเป็น 3 เกาะใหญ่ คือ เกาะเหนือ (North Island) เกาะใต้ (South Island) และเกาะสจ๊วต (Stewart Island) พร้อมทั้งยังมีเกาะเล็กๆ ตามแนวประเทศอีกจำนวนมาก
4
ความพิเศษของนิวซีแลนด์อย่างหนึ่ง คือ พวกเขามีลักษณะภูมิประเทศและทิวทัศน์ที่หลากหลาย ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นทุ่งหญ้าราบเขียวขจี ภูเขาสูงพาดผ่าน ทะเลและพื้นทราย แต่ก็ยังมีหิมะและธารน้ำแข็งแบบที่หาได้ยากด้วย
2
ทั้งหมดนี้ทำให้ดินแดนนิวซีแลนด์เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าค้นหา และดึงดูดนักท่องเที่ยวหลักล้านคนต่อปีเข้ามาเสมอ
แม้จะไม่ปรากฎหลักฐานที่ชัดเจนของการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของมนุษย์กลุ่มแรกในนิวซีแลนด์
1
แต่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า คนจากหมู่เกาะโพลีนีเซีย (Polynesia) ในบริเวณตอนกลางของมหาสมทุรแปซิฟิกเข้ามาถึงนิวซีแลนด์ในช่วงตอนต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 13
ชนเผ่าพื้นเมืองกลุ่มนี้ถูกเรียกว่า “ชาวเมารี (Māori)” หรือที่บางคนจะเรียกว่า “tangata whenua” ที่แปลว่า “ผู้คนประจำดินแดน (people of the land)”
โดยตำนานของชาวเมารีเล่าขานถึงต้นกำเนิดของดินแดนนิวซีแลนด์เอาไว้ว่า
“เกิดจากการไปตกปลาของเมาวี (Maui) ซึ่งเป็นมนุษย์กึ่งเทพ เมื่อเขาเหวี่ยงฮุคที่ได้รับมาจากบรรพบุรุษลงไป แทนที่จะตกได้ปลากลับกลายเป็นว่าตกไปเจอแผ่นดินนิวซีแลนด์เกาะเหนือ และดึงขึ้นมาจากใต้มหาสมุทรจนกลายเป็นแผ่นดินจนปัจจุบัน”
1
ซึ่งเมื่อเราสังเกตุดูรูปร่างของเกาะเหนือ ก็จะเหมือนกับปลาที่ชี้หางไปทางทิศเหนือ และมีตัวลงไปทางทิศใต้ ก็เปรียบเหมือนเป็น “ปลาที่ตัวใหญ่ที่สุดในโลก”
ซึ่งดินแดนนี้ก็กลายมาเป็นพื้นที่ให้ลูกหลานของเผ่าอยู่อาศัยสืบมา
1
หลังจากชาวเมารีเข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่ก็มีการวางรากฐานรูปแบบชีวิต ผ่านการล่าสัตว์ ส่งผ่านมายุคการทำเกษตร และก็วัฒนธรรมของตนที่เป็นเอกลักษณ์ ทั้งภาษาของตนเอง ศิลปะ อาหาร และการแสดงต่างๆ ซึ่งก็ยังสามารถเข้าไปชมได้ในปัจจุบัน เช่น Haka (การระบำต่อสู้) หรืองานคราฟฝีมือที่เมือง Te Puia
3
⭐️ การเข้ามาของชาวยุโรป
เป็นเวลาหลายร้อยปีที่ชาวเมารีสร้างอารยธรรม และมีประชากรมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งจุดเปลี่ยนสำคัญเริ่มมาถึงในปี 1642 เริ่มมีชาวตะวันตกเดินทางเข้ามาถึงดินแดนนิวซีแลนด์
โดยคนตะวันตกกลุ่มแรกที่มีการบันทึกไว้ว่า เดินทางมาถึงเป็นนักสำรวจชาวดัตช์ชื่อว่า อเบล แทสมัน (Abel Tasman) ที่พยายามเดินทางมาเทียบท่าที่เกาะใต้ของนิวซีแลนด์
1
อย่างไรก็ดี พวกเขาได้รับการต่อต้านอย่างหนักจากชนพื้นเมืองในตอนนั้น จึงทำให้ตัดสินใจล่าถอยไปที่สุด
ถัดมาเกินกว่าร้อยปี ขบวนสำรวจของกัปตันชื่อดังอย่างเจมส์ คุก (James Cook) ก็เริ่มเข้ามาสำรวจในปี 1769
ซึ่งกัปตันเจมส์ก็ประสบความสำเร็จในการทำแผนที่ และก็เริ่มติดต่อกับชาวเมารีบางส่วน ซึ่งแม้ในตอนแรกจะมีความขัดแย้งกันบ้าง แต่ความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่ายก็เริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงต่อมา
4
ซึ่งผลงานการสำรวจของกัปตันเจมส์ก็ได้ถูกเผยแพร่สู่คนยุโรป โดยเฉพาะคนในอังกฤษ ส่งผลให้เริ่มมีแนวคิดอพยพของผู้คนเข้ามาตั้งอาณานิคมในนิวซีแลนด์ เผยแพร่ศาสนา และก็ต้องการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ทั้งบนพื้นดินและในท้องทะเล (โดยเฉพาะ การล่าวาฬซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในสมัยนั้น)
3
ซึ่งทั้งหมดก็นำไปสู่การทำสนธิสัญญาระหว่างอังกฤษและเหล่าหัวหน้าเผ่าเมารีในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ปี 1840 เรียกว่า “สนธิสัญญาไวทังกิ (Treaty of Waitangi)”
2
รายละเอียดตกลงกันเรื่องการซื้อขายที่ดินของชาวเมารีให้กับชาวตะวันตกที่อพยพเข้ามา และก็มีการตกลงกันเรื่องอำนาจการปกครองและอธิปไตย รวมถึงสิทธิของชาวเมารีด้วย
อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกหลังจากมีการตกลงสนธิสัญญา สิทธิของชาวเมารีหลายประการก็ยังถูกเพิกเฉยจากทางฝั่งผู้อพยพเข้ามาอยู่ จนในปี 1975 จึงมีการตั้งศาลไวทังกิ (the Waitangi Tribunal) ขึ้น
2
เพื่อทำหน้าที่ตัดสินคดีที่ชาวเมารีร้องเรียนขึ้นมา และในหลายกรณีก็มีการชดเชยค่าเสียหายให้กับสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งก็เป็นรากฐานสำคัญที่ทำให้ปัจจุบันทั้งชาวเมารีและชาวตะวันตกอยู่ร่วมกัน จนกลายเป็นเอกลักษณ์ทางด้านวัฒนธรรมของชาวนิวซีแลนด์ไปแล้ว
1
นอกจากนี้ สนธิสัญญาไวทังกิยังช่วยวางรากฐานของสัมพันธ์ทั้งด้านการปกครองและเศรษฐกิจระหว่างนิวซีแลนด์และอังกฤษอย่างเหนียวแน่น
หนึ่งในเกร็ดที่น่าสนใจคือนิวซีแลนด์เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งและสมาชิกของเครือจักรภพ (Commonwealth) และก็ยังมีกษัตริย์ของอังกฤษเป็นประมุขสูงสุดของประเทศอยู่ ซึ่งรัชสมัยปัจจุบัน คือ สมเด็จพระราชาธิบดีชาลส์ที่ 3 (Charles III)
1
⭐️ เศรษฐกิจนิวซีแลนด์ในช่วงศตวรรษที่ 19 - 20
1
หากเล่าถึงเศรษฐกิจของนิวซีแลนด์ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ก็อาจกล่าวได้ว่ามีทั้งความรุ่งโรจน์และดำดิ่งเช่นเดียวกัน
ในช่วง 1860s มีการค้นพบ “แร่ทองคำ” โดยเฉพาะที่เมือง Dunedin ซึ่งเป็นที่ล่อตาล่อใจจากผู้คนทั่วทุกสารทิศให้เข้ามาทำเหมืองขุดทองและหาแร่ธาตุ
1
ชาวบ้านที่อาศัยบริเวณนั้นต่างได้รับผลประโยชน์และกอบโกยความมั่งคั่งจากธุรกิจเหล่านี้ รวมถึงรัฐยังเข้ามาพัฒนาโครงสร้างพื้นทางอย่างทางรถไฟ ถนน ท่าเรือ และโรงงานเพื่อสนับสนุนการเติบโตเศรษฐกิจบริเวณนี้อีกด้วย
เรียกได้ว่าทองคำ คือ ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของประเทศ รายได้ของประเทศในช่วงนั้นมาจากการส่งออกทองคำซะส่วนใหญ่ นิวซีแลนด์กอบโกยความมั่งคั่งจากเหมืองทองคำ เศรษฐกิจเฟื่องฟูและรุ่งเรืองจนส่งผลให้ปี 1880s เมือง Dunedin กลายเป็นเมืองที่ร่ำรวยที่สุดของประเทศ
1
แต่ความรุ่งโรจน์ไม่ได้อยู่กับเราตลอดเวลา ดั่งพระอาทิตย์ที่ขึ้นได้แต่ก็ต้องตกเป็นไปตามกฎธรรมชาติ…
เวลาไม่นาน ทองคำและแร่ธาตุในเหมืองก็เริ่มหมดลง เศรษฐกิจจากรุ่งโรจน์เพียงชั่วครู่เข้าสู่ภาวะตกต่ำ ผู้คนตกงาน ปัญหาหนี้สาธารณะพุ่งสูงจากการบริหารผิดพลาดของรัฐบาล
1
แต่การได้รับบทเรียนและรู้จักปรับตัว ทำให้นิวซีแลนด์ได้ไปต่อ จากการเริ่มมองหาสินค้าส่งออกอื่นนอกเหนือจากทองคำ
2
นิวซีแลนด์เริ่มหันมาส่งออกผ้าขนสัตว์เป็นสินค้าหลัก ซึ่งช่วยหล่อหลอมเศรษฐกิจนิวซีแลนด์ไม่มากก็น้อย จนกระทั่งมีนวัตกรรมตู้แช่แข็ง ทำให้นิวซีแลนด์สามารถส่งออกเนื้อสัตว์และนมได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จนกลายเป็นสินค้าส่งออกหลักมาอีกกว่า 100 ปีข้างหน้า
1
หากมาดูมิติทางการเมือง นิวซีแลนด์เคยเผชิญกับปัญหารัฐนิยมสุดโต่งที่เข้าแทรกแซงเศรษฐกิจในทุกหย่อมหญ้า ภาคเอกชนแทบไม่มีอิสระในการแข่งขันหรือสร้างสรรค์นวัตกรรมสินค้าใหม่ๆ ธุรกิจทุกอย่างถูกผูกติดกับรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นสายการบิน โรงแรม โรงเรียน
2
ซึ่งแน่นอนว่ารัฐบาลไม่มีความสามารถมากพอที่จะบริหารทุกสิ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ และควรให้คนที่ทำได้ดีกว่าเข้ามาทำแทน
แน่นอนว่านิวซีแลนด์รู้ถึงเรื่องนี้ดี ในช่วงปี 1990s จึงเกิดการปฏิรูปประเทศใหม่ในหลายด้าน รัฐเริ่มลดบทบาทตัวเองลง และมอบหมายให้เป็นหน้าที่ของเอกชน ผลลัพธ์ คือ ประเทศเดินหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1
นอกจากนี้ นิวซีแลนด์มีการปฏิรูปการศึกษาในโรงเรียนขนานใหญ่ จากที่รัฐเคยเป็นผู้บริหารและจัดสรรงบประมาณ ก็มอบหมายให้เป็นหน้าที่ของโรงเรียนและผู้ปกครองโดยตรง เพราะรัฐเชื่อว่าคนเหล่านี้รู้ดีว่าเด็กต้องการอะไร รวมถึงรัฐยังสนับสนุนค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาทั้งหมดอีกด้วย
7
จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทำไมนิวซีแลนด์ถึงกลายเป็นประเทศที่มีการศึกษาดีที่สุดเป็นอันดับ 7 ของโลก
5
จากการรู้จักปรับตัว เปลี่ยนแปลง และเรียนรู้ข้อผิดพลาดให้เป็นบทเรียนเสมอ ทำให้นิวซีแลนด์กลายเป็นประเทศระดับแนวหน้าด้านการศึกษา ติดอันดับประเทศน่าอยู่ที่สุดในโลก และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 51 ของโลกถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด ปัจจุบัน นิวซีแลนด์มีการพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศเป็นหลัก โดยคู่ค้าสำคัญคือ ออสเตรเลีย แคนาดา จีน ยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสหรัฐอเมริกา
6
ผู้เขียน: ขัตติยาภรณ์ ด้วงแก้ว และ ณัฐนันท์ รำเพย Political Analyst and Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : ชนากานต์ วรสุข และ จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
3
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References:
เครดิตภาพ : Courtesy of Auckland Art Gallery via Wikipedia

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา