20 ม.ค. 2023 เวลา 23:58 • ประวัติศาสตร์

หายไปไหนหมด! เกิดอะไรขึ้นกับเหล่า 'เทียร่า' ของราชวงศ์โรมานอฟหลังล่มสลาย

ตามสืบเทียร่าในตำนานของราชวงศ์โรมานอฟ หนึ่งราชวงศ์ที่เลื่องชื่อที่สุดของโลกนั้น หายสาบสูญ หรือตกไปอยู่ในครอบครองของใครบ้าง...
โดย Peeranat Chansakoolnee
8 ธันวาคม 2563
 
ย้อนกลับไปเมื่อกว่า 102 ปีที่แล้ว หลังการโค่นล้มระบอบราชาธิปไตย พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 และราชวงศ์โรมานอฟ ถูกคณะบอลเชวิก หรือพวกคอมมิวนิสต์โซเวียตควบคุมตัวเอาไว้ที่เมืองเยคาเทรินบุร์ก ก่อนที่ต่อมาในวันที่ 29 มิถุนายน 1918 ณ ที่ประชุมโซเวียตแห่งภูมิภาคอูราล (หรือคณะกรรมการบริหารพรรคบอลเชวิคเขตอูราล) ได้มีมติว่า ควรดำเนินการประหารสมาชิกราชวงศ์โรมานอฟทั้งหมด และในวันที่ 3 กรกฎาคม ในปีเดียวกันนั้น ยังมีคำสั่งมาจากมอสโกยืนยัน
ให้ประหารชีวิตพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ซึ่งประกอบไปด้วย พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2, พระมเหสีอเล็กซานดรา ฟอโดรอฟนา พร้อมด้วยพระธิดา 4 พระองค์ คือ โอลกา นิโคเลฟนา, ทาเทียนา นิโคเลฟนา, มาเรีย นิโคเลฟนา, อานาสตาเซีย นีคาไลยีฟนา และพระโอรส มกุฏราชกุมารอเล็กซี หลังจากคืนนั้น ราชบัลลังก์ทั่วโลกก็สั่นคลอนตามกันทันที
ทว่านอกเหนือจากเรื่องเล่าของแอนนาตาเซีย ผู้รอดชีวิตเพียงคนเดียว ที่ถูกเล่าขานต่อมาเรื่อยๆ ไม่รู้จบ อีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ยังคงเป็นที่จับจ้องของใครหลายๆ คน นั่นคือเหล่าเครื่องเพชร จิวเวลรี ที่รวมไปถึง “เทียร่า” หรือ “รัดเกล้า” ในตำนานของราชวงศ์โรมานอฟหลายองค์ที่เหลือรอดจากช่วงปฏิวัติ ที่กระจัดกระจายไปทั่วยุโรป หรือแม้แต่บางชิ้นก็ไม่อาจทราบชะตากรรมได้ ที่ครั้งนี้โว้กประเทศไทยไม่พลาดตามไปไขปริศนาให้ได้รู้กันว่า ตอนนี้เหล่ารัดเกล้าในตำนานของราชวงศ์โรมานอฟนั้นตกไปอยู่ในมือของใครกันบ้าง...
ทุกอย่างเริ่มต้นขึ้นเมื่อครั้งที่ แกรนด์ดยุกวลาดิเมียร์อเล็กซานโดรวิช แห่งรัสเซีย ซึ่งเป็นพระอนุชาของจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ที่ 3 คือผู้ที่เป็นตัวตั้งตัวตีในการสร้างสรรค์รัดเกล้าองค์นี้ขึ้นมา ให้กับพระคู่หมั้นนั่นคือ ดัชเชสมารี แห่งเมคเลน
บูร์ก - ชเวริน (ซึ่งต่อมากลายเป็น แกรนด์ดัชเชสมาเรีย พาฟลอฟนา แห่งรัสเซีย) ในทศวรรษที่ 1870 โดยรัดเกล้าองค์ดังกล่าวประกอบไปด้วยวงแหวนเพชร 15 วง ซึ่งแต่ละวงจะมีหยดมุกห้อยอยู่ตรงกลางวง และตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์อันโหดร้าย แกรนด์ดัชเชสมาเรีย พาฟลอฟนา แห่งรัสเซีย เป็นหนึ่งในสมาชิกราชวงศ์
โรมานอฟเพียงไม่กี่คน ที่สามารถหลบหนีไออกนอกประเทศได้หลังการปฏิวัติรัสเซียในปี 1917 ที่พระองค์ยังสามารถนำเครื่องประดับส่วนหนึ่งติดตัวไปด้วย โดยสมบัติมีค่าบางส่วนถูกซ่อน และนำออกนอกประไปได้ด้วยปลอกหมอนแค่ 2 ใบ หนึ่งในนั้นยังรวมไปถึง Vladimir Tiara ซึ่งแกรนด์ดัชเชสได้เก็บไว้ในความครอบครองของเธอจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิตในปี 1920 ก่อนที่จะส่งมอบต่อให้กับ Elena ลูกสาวของเธอ ซึ่งต่อมาได้เข้าพิธีเสกสมรสกับเจ้าชายนิโคลัส แห่งกรีซ
และเดนมาร์ก ที่เพียงแค่หนึ่งปีต่อมา เอเลน่าก็ได้ตัดสินใจขายรัดเกล้าองค์นี้ให้กับสมเด็จพระราชินีแมรี่แห่งอังกฤษ ด้วยเหตุผลเกี่ยวกับปัญหาทางการเงิน ก่อนที่ราชวงศ์อังกฤษในเวลานั้นจะเปลี่ยนรูปโฉมมันเสียใหม่ เพิ่มทางเลือกอย่างอัญมณีหยกเข้าไปแทนหยดมุกดั้งเดิม กระทั่งที่ปัจจุบันเรายังได้เห็นสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงสวมรัดเกล้าองค์นี้ ที่สามารถเปลี่ยนไปมาระหว่างหยดมุก หรืออัญมณีหยกได้อีกด้วย
ถูกส่งต่อเป็นมรดกตกทอดถึงแกรนด์ดัชเชสมาเรีย พาฟลอฟนา แห่งรัสเซีย ซึ่งในปี 1909 เธอยังได้ขอให้แบรนด์จิวเวลรีระดับโลกอย่าง Cartier ปรับรูปลักษณ์ให้มีความทันสมัยมากขึ้น ก่อนที่ในช่วงปฏิวัติเธอจะได้ลักลอบนำรัดเกล้าองค์นี้หนีออกมาด้วย ซึ่งต่อมามีการคาดการณ์ว่าเข็มกลัด และจี้ที่เข้าคู่กันที่ถูกสร้างขึ้นพร้อมรัดเกล้าองค์นี้ถูกขายทิ้งในรุ่นลูกของเธอ ก่อนที่รัดเกล้าองค์นี้จะลงเอยไปอยู่ใน
รัดเกล้าทรงคลาสสิกตามแบบฉบับของรัสเซีย (kokoshnik tiara) ประดับด้วยเพชร และไพลินขนาดมหึมาองค์นี้ เป็นสมบัติของจักรพรรดินีอเล็กซานดรา เฟโอโดรอฟนาแห่งรัสเซีย (เจ้าหญิงชาร์ล็อตแห่งปรัสเซีย) ถูกสร้างขึ้นในปี 1825 พร้อมกันกับเข็มกลัดที่เข้ากันกับจี้ที่เป็นเครื่องประดับเซ็ตเดียวกัน ก่อนที่ต่อมาจะ
ถูกส่งต่อเป็นมรดกตกทอดถึงแกรนด์ดัชเชสมาเรีย พาฟลอฟนา แห่งรัสเซีย ซึ่งในปี 1909 เธอยังได้ขอให้แบรนด์จิวเวลรีระดับโลกอย่าง Cartier ปรับรูปลักษณ์ให้มีความทันสมัยมากขึ้น ก่อนที่ในช่วงปฏิวัติเธอจะได้ลักลอบนำรัดเกล้าองค์นี้หนีออกมาด้วย ซึ่งต่อมามีการคาดการณ์ว่าเข็มกลัด และจี้ที่เข้าคู่กันที่ถูกสร้างขึ้นพร้อมรัดเกล้าองค์นี้ถูกขายทิ้งในรุ่นลูกของเธอ ก่อนที่รัดเกล้าองค์นี้จะลงเอยไปอยู่ใน
ครอบครองของราชินีมารี แห่งโรมาเนีย ซึ่งเป็นญาติห่าง ๆ ของราชวงศ์โรมานอฟ และหลังจากที่ราชินีมารีเสียชีวิต รัดเกล้าก็ถูกมอบให้กับลูกสาวของเธอนั่นคือ Ileana เป็นของขวัญแต่งงาน ทว่าอย่างไรก็ตามหลังการปฏิวัติในโรมาเนียในช่วงหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ราชวงศ์ก็ถูกเนรเทศออกจากประเทศ อิเลียนาเดินทางไปสหรัฐอเมริกาโดยนำรัดเกล้าติดตัวไปด้วย ก่อนที่จะตัดสินใจขายในปี 2493 ที่ทุกวันนี้ก็ยังไม่มีใครรู้้ชะตากรรมของรัดเกล้าองค์นี้อีกเลย
มงกุฎของจักรพรรดินีมาเรีย ฟีโอโดรอฟนา พระมเหสีในกษัตริย์พอลที่ 1 ถูกสร้างขึ้นในต้นศตวรรษที่ 19 ด้วยดีไซน์สุดคลาสสิกที่ราชวงศ์รัสเซียโปรดปรานนั่นคือ kokoshnik tiara สะดุดตาด้วยเพชรสีชมพูขนาดใหญ่ตรงกลาง มงกุฎถูกประดับด้วยเพชรอินเดียขนาดใหญ่ 175 เม็ด พร้อมด้วยเพชรเจียระไนทรงกลมขนาดเล็กอีกกว่า 1,200 เม็ดทั่วมงกุฎ แถวกลางประดับด้วยเพชรรูปทรงหยดน้ำขนาดใหญ่ที่ห้อยเรียงต่อกันอย่างอิสระ โดยตามธรรมเนียมดั้งเดิมแล้วมงกุฎนี้จะ
ถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของชุดแต่งงาน ในพิธีเสกสมรสของเหล่าเจ้าสาวในราชวงศ์รัสเซียเป็นหลัก ซึ่งปาฏิหาริย์ก็คือมงกุฎแห่งราชวงศ์โรมานอฟชิ้นนี้ เป็นสมบัติดั้งเดิมเพียงชิ้นเดียวที่ยังคงอยู่ในรัสเซีย ในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงเครื่องเพชรที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าชมได้ใน Diamond Fund ที่ Kremlin เนื่องจากมันรอดพ้นจากการถูกขายต่อ เนื่องจากเพชรสีชมพูเม็ดเด่นเม็ดนั้น ที่ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะหลายคนมองว่า “มูลค่าสูงเกินกว่าจะตีราคาได้” นั่นเอง
ความคลาสสิกที่ราวกับหลุดออกมาจากเทพนิยายปกรณัมของมงกุฎรวงข้าวสาลีนี้ ยังเป็นอีกหนึ่งชิ้นสมบัติของจักรพรรดินีมารีเยีย เฟโอโดรอฟนา แห่งรัสเซีย (เจ้าหญิงดักมาร์แห่งเดนมาร์ก) โดดเด่นด้วยดีไซน์รวงข้าวสีทองที่ประดับด้วยเพชร โดยมีเลอโก้แซฟไฟร์ประดับอยู่ตรงกลาง ที่เป็นสัญลักษณ์แทนดวงอาทิตย์
ภาพถ่ายหายากของมงกุฎรวงข้างสาลีนี้ถูกถ่ายไว้ในปี 1927 ในงานประมูลของคริสตี้ ซึ่งพวกบอลเชวิคได้ขายจิวเวลรีของราชวงศ์โรมานอฟ กระนั้นก็ไม่มีใครทราบเกี่ยวกับชะตากรรมของมงกุฎหลังการประมูล แต่ต่อมานักอัญมณีชาวโซเวียตก็ได้สร้างมงกุฎจำลองขึ้นมาในปี 1980 และเรียกมันว่า "Russian Field" แทน
มงกุฎหยดมุกนี้ได้รับคำสั่งให้สร้างสรรค์ขึ้นจากพระเจ้าซาร์สนิโคลัสที่ 1 เพื่อพระมเหสีของพระองค์นั่นคือ จักรพรรดินีอเล็กซานดรา เฟโอโดรอฟนาแห่งรัสเซีย (เจ้าหญิงชาร์ล็อตแห่งปรัสเซีย) ในปี 1841 ก่อนที่ต่อมาจะถูกประมูลไปในปี 1927 และมงกุฎก็ได้เปลี่ยนมือหลายต่อหลายครั้ง ไปอยู่ในมือของโฮล์มส์แอนด์โค ซึ่งเป็นดยุกแห่งมาร์ลโบโรห์คนที่ 9 แห่งอังกฤษ หรืออิเมลดา มาร์กอส สุภาพสตรี
หมายเลขหนึ่งของฟิลิปปินส์ที่ยังเคยได้ครอบครองมงกุฎหยดมุกนี้ในช่วงหนึ่งของชีวิตมาแล้ว ที่ดูเหมือนว่าในปัจจุบันนี้ จะเป็นไปได้มากที่สุดที่รัฐบาลฟิลิปปินส์จะกลายเป็นเจ้าของมงกุฎดังกล่าวอยู่ในเวลานี้ กระนั้นในเวลาต่อมาไม่นานก็ยังได้มีการสร้างแบบจำลองของมงกุฎองค์นี้ขึ้นมาใหม่โดยใช้ชื่อว่า "Russian Beauty" ในปี 1987 อีกด้วย
ปิดท้ายด้วยมงกุฎอันเลื่องชื่อของราชวงศ์โรมานอฟ มงกุฎขนาดใหญ่ที่ผสมผสานลวดลายแบบ "lover’s knot" ที่ได้รับความนิยมในเวลานั้นไว้ได้อย่างสวยงาม ถูกสร้างขึ้นเพื่อจักรพรรดินีอะเลคซานดรา เฟโอดอรอฟนา ประดับไปด้วยไข่มุก 113 เม็ด และเพชรหลากหลายขนาดอีกกว่าหลายสิบเม็ด โดยตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์แล้ว จักรพรรดินีอะเลคซานดรา เฟโอดอรอฟนา ก็ยังนับเป็นจักรพรรดินีองค์สุดท้ายของรัสเซียที่ได้สวมใส่มันด้วยเช่นกัน และที่มงกุฎดังกล่าว
ได้กลายเป็นที่พูดถึงมาจนถึงปัจจุบัน ก็ด้วยฝีมือของช่างภาพ Karl Bulla ในงานพิธีเปิด State Duma ที่หลายคนต่างพูดถึงมงกุฏเพชรสวยสะกดนี้ อย่างไรก็ตามหลังการปฏิวัติรัสเซีย คณะบอลเชวิคได้ตัดสินใจขายประมูลมงกุฎเลื่องชื่อนี้ไปในที่สุด โดยมีการคาดการณ์ว่า มงกุฎเลื่องชื่อนี้อาจถูกแยกส่วนขายประมูลในครั้งนั้น ทำให้ไม่มีข้อมูลชัดเจนเกี่ยวกับผู้ครอบครองในปัจจุบันนี้นั่นเอง
ข้อมูล : www.rbth.com
โฆษณา