Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Prachachat Online
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
21 ม.ค. 2023 เวลา 09:07 • ธุรกิจ
จับตาดีล “บางจาก-เอสโซ่” เข้าเกณฑ์อำนาจเหนือตลาด
บอร์ดแข่งขันทางการค้า (กขค.) มอนิเตอร์ดีลควบรวม บางจาก-เอสโซ่ ต้นน้ำ-ปลายน้ำ หลังวงการน้ำมันจับตาธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันจะเหลือคู่แข่งลดลงจาก 4 เหลือ 3 ราย เข้าเกณฑ์ “ผู้มีอำนาจเหนือตลาด” ตาม พ.ร.บ.แข่งขันฯ ต้องยื่นขออนุญาตบอร์ด ด้าน “พีทีจี” มองเป็นการลดคู่แข่งค้าปลีกผ่านสถานีบริการน้ำมัน ส่วน OR พร้อมแข่งขัน ใช้จุดแข็งธุรกิจน็อนออยล์เสริมความแข็งแกร่งสู้ศึก
ดีลการรวมธุรกิจหลังบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ประกาศเข้าซื้อหุ้นสามัญในสัดส่วน 65.99% ของหุ้นทั้งหมดของ บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จาก ExxonMobil Asia Holdings Pte. Ltd. หรือ ExxonMobi ด้วยมูลค่า 55,500 ล้านบาท หรือเฉลี่ยราคาหุ้น 8.84 บาท ในวันที่ 11 มกราคมที่ผ่านมา ส่งผลให้ บริษัท บางจากฯ ได้โรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่ ศรีราชา ขนาดกำลังการกลั่น 177,000 บาร์เรล/วันมารวมไว้ในกลุ่มธุรกิจการกลั่นด้วย
ส่งผลสำคัญให้ธุรกิจต้นน้ำการกลั่นน้ำมันมีผู้เล่นลดลงจากเดิม 4 กลุ่มบริษัท เหลือเพียง 3 กลุ่มและสร้างความกังวลในแง่ของการผูกขาดแข่งขันให้กับผู้ค้าน้ำมัน ซึ่งเป็นธุรกิจปลายน้ำเข้ามาไว้ในกลุ่มบางจากด้วย ส่งผลให้ภาพรวมตลาดต้นน้ำ ในธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันมี “ผู้เล่น” ลดลงเหลือเพียง 3 บริษัท (ตารางประกอบ)
โรงกลั่นเหลือ 3 กลุ่มหลัก
ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า ปัจจุบันธุรกิจการกลั่นน้ำมันในประเทศจะเหลือเพียง 3 กลุ่มหลัก ได้แก่
1) กลุ่ม บมจ.ปตท. ประกอบด้วย โรงกลั่นน้ำมัน IRPC, PTTGC และไทยออยล์ มีกำลังการกลั่นรวมกัน 770,000 บาร์เรล/วัน หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 61.9% ของกำลังการกลั่นทั้งหมด
2) กลุ่มบางจาก รวมกับเอสโซ่ จะมีกำลังการกลั่นรวมกัน 297,000 บาร์เรล/วัน หรือคิดเป็นสัดส่วน 23.9%
และ 3) โรงกลั่นน้ำมัน SPRC กำลังการกลั่น 175,000 บาร์เรล/วัน หรือคิดเป็น 14%
หลังควบรวมโรงกลั่นน้ำมันระหว่างบางจากและเอสโซ่ ซึ่งเป็นธุรกิจต้นน้ำครั้งนี้ ทำให้เหลือผู้ประกอบการโรงกลั่นน้ำมันเพียง 3 กลุ่ม จะเข้าข่ายนิยาม “การมีอำนาจเหนือตลาด” ภายใต้ พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้า และจำเป็นที่บริษัทควบรวมจะต้องยื่นขออนุญาตต่อ คณะกรรมการแข่งขันทางการค้า ด้วย
ทั้งนี้ นิยาม “ผู้มีอำนาจเหนือตลาด” ตามมาตรา 50 ตาม พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ได้กำหนดเกณฑ์การพิจารณาการเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาด โดยแบ่งลักษณะการพิจารณาเป็น 2 กรณี คือ กรณีที่ 1 ผู้ประกอบธุรกิจรายเดียว มีส่วนแบ่งตลาดในปีที่ผ่านมาของ สินค้าหรือบริการหนึ่งตั้งแต่ 50% ขึ้นไป และมียอดเงินขายในปีที่ผ่านมาตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป
กับกรณีที่ 2 ผู้ประกอบธุรกิจ 3 รายแรกของตลาดสินค้าหรือบริการหนึ่ง มีส่วนแบ่งตลาดในปีที่ผ่านมารวมกัน 75% และมียอดเงินภายในปีที่ผ่านมาตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป แต่ถ้ามีผู้ประกอบธุรกิจรายใดรายหนึ่งมีส่วนแบ่งตลาดในปีที่ผ่านมา ไม่ถึง 10% ก็จะได้รับการ “ยกเว้น” ไม่เข้าเกณฑ์การเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาด
“เคสบางจาก-เอสโซ่ เมื่อดูข้อมูลเบื้องต้นอาจเรียกว่า เข้าข่ายกรณีที่ 2 รวมกัน 3 ราย มีส่วนแบ่งตลาด 75% ซึ่งต้องยื่นขออนุญาตหลังประกาศควบรวม 7 วัน แต่การพิจารณาจะดูภาพรวมทั้งธุรกิจ และต้องเข้าใจก่อนว่า การมีอำนาจเหนือตลาด ไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมาย หากไม่ได้ไปใช้อำนาจเหนือตลาดทำในสิ่งที่ผิด”
กรรมการแข่งขันจับตา
ด้าน ศ.ดร.สกนธ์ วรัญญูวัฒนา ประธานกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า กรณีควบรวมโรงกลั่นน้ำมันบางจาก-เอสโซ่ จะเข้าข่าย มาตรา 51 ตาม พ.ร.บ.แข่งขันฯ (พฤติกรรมการควบรวม) ซึ่งมี 2 กรณีคือ รายได้เกิน 1,000 ล้านบาท และส่วนแบ่งตลาด แต่ขณะนี้ยังไม่ทราบข้อมูลว่า ทั้ง 2 กิจการเมื่อควบรวมแล้วมูลค่าตลาดเท่าไหร่ สัดส่วนตลาดเท่าไหร่ ยังไม่เห็นข้อมูลว่าจะเข้าวรรค 1 หรือวรรค 2 ต้องขอเวลารวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลก่อน
อ่านต่อ :
https://www.prachachat.net/economy/news-1182293
บางจาก
พลังงาน
หุ้น
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย