Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Giffarine HealthCare
•
ติดตาม
21 ม.ค. 2023 เวลา 17:01 • สุขภาพ
อายุน้อยยังไม่สูงวัย ก็เสี่ยง "หัวใจล้มเหลว" ได้
ในหลายคนคิดว่า การเป็นโรคหัวใจล้มเหลวมักเกิดเมื่ออายุมากขึ้น แต่ในปัจจุบันนี้ถูกพบได้ในคนไข้ที่มีอายุน้อยเพิ่มมากขึ้น พบจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ความเครียดเรื้อรัง การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ บริโภคไขมันไม่ดีมากเกินไป ทานรสหวาน ติดรสเค็ม ขาดการออกกำลังกาย
ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน ที่เป็นพิษต่อกล้ามเนื้อหัวใจ เป็นพิษต่อหลอดเลือด จนเป็นสาเหตุของภาวะหัวใจล้มเหลวได้นั่นเอง สิ่งต่างๆ เหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคนหนุ่มสาว วัยรุ่น วัยทำงาน ทำให้เกิดโอกาสเผชิญหน้ากับภาวะหัวใจล้มเหลวได้
.
หัวใจล้มเหลวคืออะไร?
เป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถปั๊มเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ เมื่อหัวใจอ่อนแรงก็จะไม่สามารถปั๊มเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่สามารถลำเลียงเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ ทำให้อวัยวะต่างๆ ของร่างกายเริ่มขาดเลือด ไม่สามารถใช้เลือดได้
ไม่สามารถนำออกซิเจนในเลือดไปใช้ได้ จึงทำให้เกิดอาหารเป็นลม วูบ หมดสติ แต่ถ้าอยู่ในขั้นรุนแรง คือ การที่หัวใจปั๊มเลือดไม่ได้เลย ก็จะทำให้เลือดท่วมอยู่ในปวด หรือเรียกว่า น้ำท่วมปอด เกิดอาการหายใจไม่ทัน หอบเหนื่อยอย่างรุนแรง จนกลายเป็นหัวใจลุ้มเหลวไปถึงขั้นหัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิตได้
.
ในงานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน European Heart Journal - Quality of Care and Clinical Outcomes พบว่าตั้งแต่ปี 2010 อัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจในสตรีชาวอเมริกันที่มีอายุต่ำกว่า 65 ปีได้เพิ่มขึ้น และการศึกษาความเสี่ยงหลอดเลือด ปี 2018 พบว่า ในผู้สูงอายุมีความเสี่ยงของอาการหัวใจล้มเหลวลดลง แต่ในผู้ที่อายุ 35-54 ปี มีความเสี่ยงหัวใจล้มเหลวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้หญิงที่เป็นความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
.
อาการโรคหัวใจนั้น บางคนคิดว่าเป็นอาการปกติทั่วไป ไม่ได้นึกถึงความร้ายแรงของโรคที่จะตามมา โดยอาการที่จะพบได้ เช่น รู้สึกเจ็บหน้าอกจนทนไม่ไหว แน่นหน้าอก หายใจลำบาก อ่อนเพลียไม่มีแรง หอบ เหนื่อยผิดปกติ มือ เท้าบวมโดยไม่มีสาเหตุ เป็นลมบ่อย วูบบ่อย หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ใจสั่น
.
กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง
🟠โรคเบาหวาน
🟠โรคความดันโลหิตสูง
🟠ผู้ที่มีภาวะอ้วน
🟠ผู้ที่สูบบุหรี่ ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบ
🟠ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง ถ้าร่างกายมีไขมันสะสมอยู่ในหลอดเลือดเป็นเวลานานก็จะเกิดการอุดตันได้
🟠ภาวะความเครียด
.
ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวสามารถลดลงได้ด้วยการปรับปรุงโภชนาการ การออกกำลังกาย ปรับเปลี่ยนนิสัยการนอนหลับ การจัดการความเครียด ตรวจระดับคอเลสเตอรอล ทดสอบระดับน้ำตาลในเลือด หรือทานอาหารเสริมเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับหัวใจ แนะนำเสริมด้วย CoQ10 ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในหลอดเลือด เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหัวใจ ลดการอักเสบของหลอดเลือด ป้องกันไม่ให้คอเลสเตอรอลเกาะหลอดเลือด ป้องกันการเกิดหัวใจล้มเหลวได้
.
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ปัจจุบันนี้พฤติกรรมการใช้ชีวิตของเรามีส่วนที่ทำเกิดโรคต่างๆ ตามมามากมาย เราจึงควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของตัวเรา ใส่ใจสุขภาพ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เพื่อร่างกายที่แข็งแรงของเรากันนะคะ
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย