Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
vnomenon
•
ติดตาม
21 ม.ค. 2023 เวลา 20:18 • ประวัติศาสตร์
ชาวจีนเดินทางมายังสยาม
ชาวจีนเดินทางมายังสยามตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์ ทั้งที่มาค้าขาย และย้ายอพยพถิ่นฐาน ทำให้ขนบ ธรรมเนียม ประเพณีของชาวจีนที่สืบทอดมา ได้รับการผสมเข้ากับวัฒนธรรมพื้นเมืองหรือวัฒนธรรมไทยจนกลายเป็นเสมือนวัฒนธรรมเดียวกัน
ชาวจีนมีอุปนิสัยรักถิ่นฐานบ้านเกิดและผูกพันกับที่อยู่ ทั้งยังมีความกตัญญูต่อผุ้มีพระคุณ ดังปรากฎในประเพณีการเซ่นไหว้บรรพบุรุษตามคำสอนในลัทธิขงจื้อ ชาวจีนจำนวนหนึ่งเริ่มอพยพมาสยามเมื่อมีการเปลี่ยนแผ่นดินไปเป็นราชวงศ์ที่ไม่ชอบธรรม ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 17 นี้เองที่จีนประกาศห้ามบุรุษชาวจีนอพยพย้ายถิ่นไปโดยนำเอาลูกและภรรยาไปด้วย ชาวจีนที่มายังสยามโดยลำพัง สุดท้ายจึงได้ตกแต่งกับชาวสยาม และมีลูกหลานเป็นชาวไทยเชื้อสายจีนมาตั้งแต่แผ่นดินพระนารายณ์
การมาถึงของชาวจีนนั้นมีมาตั้งแต่สุโขทัยแล้ว แม้ว่าจะมาเพียงจำนวนไม่มาก แต่ก็เป็นกลุ่มชาวจีนในระดับราชวงศ์ เชื้อพระวงศ์ และ ชนชั้นสูง ชาวจีนรู้จักสยามในวงกว้างเมื่อนายพลเจิ้งเหอ (หรือที่เราเรียกว่าซำปอกง) เดินทางสำรวจทะเลใต้ ทำให้ได้ค้าขายกับสยามเป้นเวลานาน และทำให้ชื่อของสยามเป็นที่รู้จักในแผ่นดินจีน คำพูดปากต่อปากของลูกเรือ และคนที่ได้มาสยาม ทำให้ชาวจีนรู้ถึงความอุดมสมบูรณ์ และ เห็น โอกาสในการทำมาหากิน ทำให้เกิด ค่านิยมว่า การมาสยามจะช่วยให้มีโอกาสและชีวิตที่ดีขึ้น
เพราะในเวลานั้น ชาวงปลายราชวงศ์หมิง เกิดทุพภิกขภัย ข้าราชการรีดภาษี มีการผูกขาดที่ดิน เกิดความขัดแย้งแตกแยกระหว่างชนชั้น จนทำให้ถึงการรวมตัวของชาวนาขึ้นเป็นกองทัพ เป็นเหตุให้ราชวงศ์หมิง ล่มสลาย (เอ๊ะ ทำไมคุ้นๆ เหมือนพวกนีโอคอมมี่ในไทยตอนนี้คิดทำ)
ชาวจีนจำนวนมากเริ่มเข้ามายังสยามในช่วงที่ราชวงศ์ชิงปกครอง (และเป็นราชวงศ์สุดท้าย) ชาวจีนกลุ่มหลังที่มาในศตวรรษที่ 18 และ 19 นี้เองคือกลุ่มที่หนีความแร้นแค้น อดอยากเพราะภัยธรรมชาติ วิกฤตเศรษฐกิจต่าง ๆ ซึ่งเป็นกลุ่มที่เดินทางไปทั้งเอเชีย ยุโรป และ อเมริกากลาง โดยเข้าไปทำงานเป็นแรงงาน กลุ่มที่เป็นช่างฝีมือก็เข้าไปเป็นแรงงานมีฝีมืออย่างที่เข้ามาสร้างวัดไทยเช่นวัดราชโอรสารามเป็นต้น
ในศตวรรษที่ 17 มีคนจีนอพยพเข้ามาอยู่ในสยามราวปีล่ะ 4000 - 5000 คน ในช่วงรัชกาลที่สาม (ค.ศ.1842-1851) มีชาวจีนเข้ามาปีล่ะ 6000 - 8000 คน และในปลายศตวรรษที่ 19 ถึง ต้นศตวรรษที่ 20 มีชาวจีนอพยพเข้ามาปีล่ะ 15000 คน
จอห์น ครอเฟิร์ดบันทึกว่า ชาวจีนที่อพยพเข้ามาในไทยในช่วงค.ศ. 1822 (รัชกาลที่2) ส่วนใหญ่มาจากกว่างตงและฝูเจี้ยน จากเจ้อเจียง และ เจียงหนาน ชาวจีนจากหยุนหนานจำนวนหนึ่งไปอยู่กันที่ภาคเหนือ
ในบันทึกของครอเฟิร์ดระบุว่า ชาวจีนไม่ว่าจะไปที่ใด จะไม่เอาภรรยาไปด้วย แต่จะแต่งงานกับหญิงพื้นเมือง (แหม่) เมื่ออพยพมาสยามก็แต่งกับสาวชาวสยามและรับเอาขนบธรรมเนียมประเพณีไทยไปด้วยเช่นออกบวช หรือเข้าวัด ทำบุญอย่างคนสยาม ครอเฟิร์ดยังบันทึกไว้ด้วยว่าในบางกอกเวลานั้น ชาวจีนจำนวนมากยึดอาชีพปลูกพริกไทย ทำไร่อ้อยเพื่อผลิตน้ำตาล หรือถลุงเหล็ก และค้าขาย เป็นคนกลางนำสินค้าไทยไปขายที่เมืองท่ายุโรป (ช่องแคบมะละกา) และนำเอาสินค้ายุโรปกับอินเดียมาขายในสยาม
หมอจอร์จ ฟิเลสันบันทึกเรื่องคนจีนในสยามในช่วงรัชกาลที่สองว่า ชาวจีนใช้เรือประทุนเป้นที่พักอาศัย ชาวจีนขยันขันแข็ง เหมือนคนจีนทั่วไป ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน บางคนขายหมูในเรือ บ้านคนไทยและคนจีนเป็นแพลอยน้ำ และกล่าวถึงชาวจีนที่อยู่ในบ้านเป็นหลัง(หมายถึงไม่ใช่ชาวจีนยากจนที่อยู่ในเรือบ้าน) ว่ามีมารยาทดี สุภาพ ตกแต่งห้องรับแขกสวยงาม บนโต๊ะมีผลไม้และขนม เจ้าบ้านจะไม่ยอมนั่ง จนกว่าแขกจะนั่ง จากบันทึกก็จะเห็นว่ามีชาวจีนในสยามที่ทั้งมั่งคั่งและยากจนอยู่ร่วมกันในเวลานั้น
หมอรุสเซนเบิร์ก บันทึกเอาไว้เมื่อครั้งที่มายังสยามร่วมกับคณะทูตในปีค.ศ. 1833 (พ.ศ.2375) ว่ามีชาวจีนอพยพเข้ามาอยู่ในสยามกว่า 4 แสนคนส่วนใหญ่เป็นคนแต้จิ๋ว กว่างตง และ ไหหลำ มีจีนซ่างไห่บ้าง
คาร์ล เฟดริค ออกัส กุสลาฟ มิชชันนารีบันทึกถึงชาวจียนในสยามในสมัยรัชกาลที่สามว่า ชาวจีน เมื่อแต่งงานกับหญิงสยาม หลายคนแทบจะปลดทิ้งความเป็นจีนของตน ปรับตนเองเป็นคนสยาม เมื่อมีลูกก็จะตัดเปียทิ้ง และอุปสมบทอย่างชาวสยาม เพียงสองถึงสามชั่วอายุคน ลูกหลานชาวจีนเหล่านี้ก็พูดจีนหรืออ่านภาษาจีนไม่ได้แล้ว กลายเป็นคนสยามโดยสมบูรณ์ และยินดีเข้ารับราชการและได้รับพระราชทานยศถาบรรดาศักดิ์จากพระเจ้าแผ่นดิน
ในช่วงค.ศ. 1854 และ 1862 ชาวตะวันตกบันทึกถึงชาวจีนที่ประสบความสำเร็จในสยามว่า ชาวจีนในสยามที่มั่งคั่งมีรูปหน้ากลม สมบูรณ์สวมเสื้อสีขาวและกางเกงสีน้ำเงินเหมือนกุลี แต่ผ้าดีกว่า เนื้อตัวสะอาด ไว้หางเปียยาว มีโกดังสินค้า มีร้านค้าในเมือง มีบ้านในเมือง มีเล้าหมู ร่ำรวยมีร้านโชห่วยขายของปลีก และ เป็นนายทุน
ถึงวันนี้ ลูกหลานชาวจีนเหล่านั้นจำนวนหนึ่งคงไม่รู้แล้วว่าที่พวกเขาได้มีแผ่นดินอยู่อย่างสุขสบาย ร่มเย็น ได้มีอาชีพ ก็เพราะเข้ามาอาศัยแผ่นดินทองแห่งนี้ก่อร่างสร้างตัวจนมีเงินมีทองมีมรดกตกทอดสู่รุ่นจนทุกวันนี้
บันทึก
1
2
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย