Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Enter to Start
•
ติดตาม
23 ม.ค. 2023 เวลา 05:27 • คริปโทเคอร์เรนซี
IMF ให้แนะนำ 5 ข้อ ในการออกกฎระเบียบภาคส่วนคริปโต
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ให้คำแนะนำในการควบคุมภาคส่วนคริปโต รวมถึงกรอบการทำงานสำหรับกระดานเทรดและนักลงทุน 5 ข้อดังนี้
1. บริษัทให้บริการคริปโตในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกระดานเทรด โอนธุรกรรม เก็บรักษาสินทรัพย์ ฯลฯ ต้องมีใบอนุญาตและมีการลงทะเบียน ด้วยกฎเกณฑ์เหมือนสถาบันการเงินแบบดั้งเดิม ทรัพย์สินของลูกค้าต้องแยกออกจากทรัพย์สินของบริษัท และกำหนดหน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน
2. บริษัทที่เกี่ยวข้องกับภาคส่วนคริปโตควรได้รับการดูแลเพิ่มเติมเป็นพิเศษ หากผลประโยชน์ขัดแย้ง ต้องมีหน่วยงานเข้าไปพิจารณา และบริษัทควรอยู่ภายใต้กฎระเบียบที่เข้มงวดเกี่ยวกับความโปร่งใส เพื่อให้สามารถระบุการดำเนินการต่างๆ ได้อย่างชัดเจน
3. ผู้ออก Stablecoin ควรอยู่ภายใต้ข้อกำหนดที่เข้มงวดมาก เพราะนักลงทุนส่วนใหญ่ใช้ Stablecoin เป็นแหล่งเก็บมูลค่า หากไม่มีกฎระเบียบที่เหมาะสม การถือเหรียญ Stablecoin ก็อาจทำให้นักลงทุนสูญเสียได้ ในกรณีที่เป็นเหรียญ Stablecoin หลักๆ อาจต้องใช้กฎระเบียบแบบเดียวกับธนาคาร
4. สถาบันการเงินที่ให้บริการเกี่ยวกับคริปโตต้องมีการแจ้งให้ลูกค้ารู้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการทำธุรกรรม
5. จำเป็นต้องมีกฎระเบียบและกรอบกำกับดูแลคริปโตที่แข็งแกร่งเป็นที่ยอมรับระดับโลก เพราะคุณสมบัติที่ไม่มีข้อจำกัดเรื่องพรมแดน ได้แสดงว่าหน่วยงานนานาชาติไม่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะดูแลคริปโต
แน่นอนว่าแผน 5 ข้อนี้ของ IMF เป็นเพียงคำแนะนำเท่านั้น โลกของคริปโตยังคงเป็นภาคส่วนที่ไม่ได้รับการควบคุม และยังไม่มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่ากรอบการกำกับดูแลทั่วโลกจะดูหรือนำไปใช้ได้อย่างไร
___
ติดตามข่าวอื่นๆ และบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่
Website -
https://entertostart.co
Facebook -
facebook.com/entertostart
Twitter -
twitter.com/EntertoStart
Telegram -
t.me/entertostart
___
Reference:
https://cryptonews.com/exclusives/imf-gives-5-point-plan-for-crypto-regulation.htm
ข่าวรอบโลก
cryptocurrency
การลงทุน
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย