Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
InfoStory
•
ติดตาม
26 ม.ค. 2023 เวลา 09:23 • ไลฟ์สไตล์
ชวนส่องวากาชิ "Wagashi (和菓子)" ขนมญี่ปุ่นโบราณ 🍡🥠🍬🇯🇵
🗾ช่วงนี้เพื่อน ๆ หลายคนน่าจะเริ่มไปเที่ยวญี่ปุ่นกันเยอะแล้ว
และแน่นอนว่าหนึ่งในของฝากที่อาจหยิบติดไม้ติดมือกันกลับมาเป็นของฝาก (ทั้งเพื่อนและตัวเองในอนาคต อิอิ) ก็คือ “ขนมหวาน”
แต่ขนมหวานญี่ปุ่นวันนี้ที่พวกเรา InfoStory จะมาพูดถึงกัน คือ “Wagashi (和菓子)” 🍡🇯🇵
เจ้าวากาชิเป็นกลุ่มของขนมหวานพื้นบ้านของญี่ปุ่น โดยคำว่า "Wa (和)" หมายถึง ญี่ปุ่น และ "gashi (菓子)" แปลว่าขนมหวาน โดยมีวัตถุดิบหลักคือถั่วแดง/ถั่วขาวและแป้ง(ข้าวเจ้า/ข้าวเหนียว/โมจิ) 🍡
อาจกล่าวได้ว่า "วากาชิ (Wagashi/和菓子)" เป็นหนึ่งในขนมที่สื่อถึงวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นในอดีตได้ดีมาก ๆ
ด้วยความเรียบง่ายทั้งส่วนผสมการทำและรูปทรง (แต่เราไปแอบอ่านมาจากหลาย ๆ แหล่ง เห็นเขาว่า ถ้าลองลงมือทำจริงเนี่ย…ไม่ได้เรียบง่ายอะไรขนาดนั้นนะ 🥲 555)
จะมีอะไรที่เคยผ่านาผ่านริมฝีปากของเพื่อน ๆ มาแล้วบ้าง ?
ไปรับชมกันดีกว่า ! 🥰
[⏳ ต้นกำเนิดของขนมหวานโบราณญี่ปุ่น มาจากไหนกันนะ ? ]
ถ้าเพื่อน ๆ อยากอ่านกันต่อ งั้นพวกเราก็ขอเริ่มเล่ากันสั้น ๆ (ที่ไม่ค่อยสั้น) ต่อเลยแล้วกัน แห่ะ ๆ
- ว่ากันว่าขนมหวาน “วากาชิ” ได้รับอิทธิพลมาจากการผลิตอาหารและเมล็ดข้าวที่ส่งต่อกันมาจากประเทศจีน 🌾🇨🇳 หนึ่งในขนมที่เชื่อว่าเป็นต้นแบบของขนมหวานญี่ปุ่น คือ ขนมหวาน “Kara-kudamono (唐果物)” คล้าย ๆ กับแป้งทอดน้ำตาล ซึ่งชาวจีนนิยมกันมาก ๆ โดยเฉพาะกลุ่มพระสงฆ์นิกายเซน
คล้าย ๆ ขนมถุงทองเลยเนอะ
ว่ากันว่า ขนมหวานในแบบฉบับของชาวญี่ปุ่นชนิดแรกๆ เลยก็คือ "ดังโงะ (Dango)" ที่มาพร้อมกับวิธีการผลิตแป้งโมจิในช่วงประมาณปี ค.ศ. 700 - 1100
ซึ่งชาวญี่ปุ่นก็เรียนรู้วิธีการผลิตขนมหวาน พร้อม ๆ กับการชงชาแบบจีน 👲🍵 (โดยพระสงฆ์นิกายเซนชาวญี่ปุ่น)
- ขนมหวานวากาชิ เริ่มได้รับความนิยมมากในยุคสมัยเอโดะ (ค.ศ. 1603) โดยเฉพาะในพิธีชงชาชะโดของญี่ปุ่น 🍵🎎
เพราะว่าขนมหวานเหล่านี้(วากาชิ) จะช่วยชูรสสัมผัสจากชาญี่ปุ่นได้ดีมาก ๆ แถมยังสามารถแสดงฝีมือในการสร้างสรรค์รูปร่างของขนม
ว่ากันว่าในยุคนี้ ชาวญี่ปุ่นได้รู้จักการนำ “น้ำตาล” ที่ชาวยุโรปนำมาเผยแพร่มาใช้งาน(เป็นทางลัดในการทำขนมหวานให้อร่อย แต่ก็…จะสูญเสียความเป็นดั้งเดิมไป…)
- อย่างไรก็ดี เจ้าขนมหวานโบราณที่ทำจากแป้งและถั่วแดง/ขาว เพิ่งจะมาถูกเรียกว่า “Wagashi" ในช่วงยุคเมจิ (ช่วงค.ศ 1868) นี่เองละ
จุดสำคัญคือ ในช่วงนี้ถือเป็นยุคสมัยแห่งการปฏิรูปและฟื้นฟู ญี่ปุ่นจึงเปิดรับเอาวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นมามากขึ้น อาหารและขนมก็รับและดัดแปลงจากชาวตะวันตกก็เยอะ
แต่ถ้าเป็นเรื่องของขนมแล้ว การแบ่งกลุ่มขนมโบราณ “Wagashi” ก็จะสามารถแบ่งตรงข้ามกับกลุ่มขนมหวานที่ดัดแปลงจากฝั่งตะวันตกอย่าง "Yōgashi" ที่กำลังเริ่มเป็นที่นิยม (ไว้เราจะมาเล่าให้เพื่อน ๆ ฟังกันในโพสต่อไปนะ)
(แต่จริง ๆ แล้วชาวโปรตุเกสก็ได้นำขนมของชาวตะวันตกมาให้ชาวญี่ปุ่นรู้จักตั้งแต่ช่วงยุคสมัยมุโรมาจิ (ปี 1500) แล้ว อาจเรียกได้ว่า วิธีการผลิตขนมของชาวญี่ปุ่นค่อย ๆ เปลี่ยนไปทีละนิดทีละหน่อย)
🤓 ประเภทของขนมวากาชิ จะแบ่งตามวิธีการผลิต ตามที่พวกเราเข้าใจประสามือใหม่ จะแบ่งตามส่วนประกอบของน้ำเป็นหลัก
อย่างเช่น
- ขนมแห้ง (Higashi) ขนมหวานที่มีลักษณะแห้ง(อาจไปถึงกรอบเลย) มีส่วนประกอบของน้ำเพียงแค่ไม่เกิน 10% ก็จะออกไปทางแห้ง หรือ กรอบเลยก็เยอะ
อย่างเช่น Rakugan, Senbei, Arare
- ขนมกึ่งแห้ง (Han-namagashi) มีส่วนประกอบของน้ำประมาณ 10-30% ก็คือไม่มากไปไม่น้อยไป
อย่างเช่น Monaka, Kanoko
- ขนมสด (Namagashi) มีส่วนประกอบของน้ำมากถึง 30% เลยทีเดียว
อย่างเช่น Ohagi, Daifuku, Sakura mochi, Warabi mochi, Manju, Yokan
[ แต่ละเมนูขนมหวานที่น่าทานเหล่านี้ มีความเป็นมาอย่างไรนะ ? ]
ต้องบอกว่าขนมโบราณของญี่ปุ่นเนี่ย ไม่ได้มีดีแค่น่ากิน(และหน้าตาชวนให้อยากถ่ายรูป) แต่ว่าบางชนิดเนี่ย เค้าก็มีเรื่องราวต้นกำเนิดกันสั้น ๆ อีกด้วยนะ 🍡🏯
(ขอเลือกหยิบจากเมนูที่พวกเราได้จัดทำภาพลงในอินโฟกราฟิกนะคร้าบ)
1. Senbei (煎餅)
ข้าวเกรียบญี่ปุ่น มีลักษณะเป็นแผ่นกลมหรืออาจเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็ก ซึ่งทำมาจากแป้งข้าวเจ้า
เจ้าขนมชิ้นนี้ เป็นหนึ่งในขนมที่ได้รับมาจากเมนูขนมเครปของจีนอย่าง “jianbing” แล้วนำมาดัดแปลงเป็นสไตล์ญี่ปุ่น (ก็ประมาณ 1,000 ปีมาได้แล้วละ ในสมัยราชวงศ์ถังโน่นเลย)
2. Arare (あられ)
เจ้าขนมนี้ ก็อาจเรียกได้ว่าเป็นขนมข้าวเกรียบญี่ปุ่นคล้ายกับ Senbei เพียงแต่ว่าจะมีชิ้นเล็กกว่าพอสมควร และจะทำมาจากแป้งข้าวเหนียว
3. Monaka (最中)
ขนมแป้งโมจิสอดใส้ถั่วแดงกวนชิ้นกลมเล็ก ที่เราอาจรู้จักกันในฉายาของ “เวเฟอร์ญี่ปุ่นใส้ถั่วแดง” ที่อาจได้รับรูปแบบมาจากขนมหวานตะวันตก เจ้าขนมที่มีชื่อเต็มว่า “Monaka no Tsuki”
ว่ากันว่าถูกเริ่มกินกันมาตั้งแต่ยุคสมัยเฮอัง (ค.ศ.1000) เพราะชื่อของขนมนี้ปรากฎอยู่บนบทกลอนของ Minamoto no Shitago (หนึ่งในผู้ร่วมแต่งนิยายซามูไรชายเหนือชาย Shui Wakashu)
4. Manju (饅頭)
"หมั่นโถวญี่ปุ่น" สอดใส้ถั่วแดง/ขาวกวน (ใส้เกาลัดหรือใส้ชาเขียวก็มีนะ!) หนึ่งในขนมที่ได้แรงบันดาลใจมาจากหมั่นโถวของชาวจีน ในช่วงปีค.ศ. 1341 เพียงแต่ชาวญี่ปุ่นจะเปลี่ยนมาใช้แป้งโมจิสูตรเฉพาะของเขาเอง หรือแป้งสาลีแล้วนำไปหมักกับเหล้า
5. Nama Yatsuhashi (生八ツ橋)
ขนมทรงสามเหลี่ยมเหมือนเกี๊ยวสุดขึ้นชื่อบจากเมืองเกียวโต ที่มีส่วนผสมหลักคือ ข้าว + น้ำตาล + อบเชย (และอาจใส่ใส้ถั่วแดงเข้าไป)
ว่ากันว่าผู้คิดค้นสูตรนี้คือ นักแต่งเพลงชาวเกียวโตที่มีชื่อตรงกับเมนูว่า “Yatsuhashi Kenkyo” ในช่วงปี 1650
6. Yokan (羊羹)
วุ้นถั่วแดงกวนทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่เพื่อน ๆ ทราบไหมว่าต้นกำเนิดของเมนูไม่ได้เป็นเมนูวุ้นของหวานแต่อย่างใด…
ว่ากันว่าเจ้าเมนูวุ้นถั่วแดงนี้ ชาวญี่ได้เรียนรู้วิธีการทำมาจากหนึ่งในขนมของจีนในช่วงประมาณปลายยุคคามากูระจนไปถึงต้นมูโรมาจิ (ค.ศ.1185-1573) แต่ไม่ได้มีบันทึกปีที่คิดค้นสูตรไว้แน่ชัด
Yokan (羊かん) จะมีคำว่า “羊” ที่หมายถึงแกะอยู่ด้วย… ใช่แล้วละ ! เพราะดั้งเดิมเจ้าเมนูนี้ถูกดัดแปลงมาจากซุปเนื้อแกะของชาวจีน โดยชาวจีนจะทิ้งซุปเนื้อแกะเอาไว้ เมื่อซุปแกะเริ่มเย็น เจ้าเจลาตินในซุปจะแข็งตัวมีลักษณะคล้ายวุ้น(แบบขนมโยคังนั่นเองคร้าบ) 😲
แต่ว่าเมื่อพระภิกษุนิกายเซนของญี่ปุ่น เป็นผู้นำเมนูนี้เข้ามาจากประเทศจีน ด้วยความที่ว่าท่านไม่สามารถกินเนื้อสัตว์ได้ จึงต้องเปลี่ยนมาเป็นใส้ถั่วแดงแทน
7. Daifuku (大福)
ก่อนหน้าที่จะมาเป็นขนมไดฟูกุที่เราคุ้นตากับสตรอว์เบอร์รีในแป้งโมจิก้อนกลมที่ถูกดัดแปลงในช่วงปี 1980 เนี่ย ไดฟูกุเคยเป็นเพียงแค่ขนมโมจิใส้ถั่วแดงกวนก้อนกลม(ลูกใหญ่) ที่รู้จักกันในชื่อ “Habutai/harabuto
Mochi” ซึ่งมีต้นกำเนิดเป็นพัน ๆ ปีเลย
จนกระทั่งในปี 1771 แม่บ้านที่มีชื่อว่า โอโตยะ เธอได้ลองลดขนาดเจ้าก้อนขนมโมจิให้เล็กลง และสอดใส้ถั่วแดงไปให้มากขึ้น และตั้งชื่อใหม่ว่า Otama-mochi
ก่อนที่จะเจ้า Otama-mochi จะมาถูกลดขนาดให้เล็กลงอีกมีขนาดเท่าผลสตรอว์เบอร์รี 🍓
และเปลี่ยนเป็นชื่อ “Fuku” ที่แปลว่าโชคลาภ ซึ่งเจ้าขนมไดฟูกุเนี่ย ก็จะนิยมมอบให้กันในวันขึ้นปีใหม่นั่นเอง
ก็พอหอมปากหอมคอกันไป อันที่จริงแล้วจากเรื่องราวต้นกำเนิดส่วนใหญ่แล้ว “วากาชิ” เองก็ถูกพัฒนามาจากขนมจีนซะเยอะเลย แม้เวลาจะผ่านไปเกือบ 1,000 ปี จากต้นกำเนิดของขนมญี่ปุ่นโบราณหลาย ๆ ชิ้น
แต่ว่าในปัจจุบันเราก็ยังหาพบสูตรวิธีการทำแบบโบราณได้อยู่ เรียกได้ว่าเขาอนุรักษ์วิธีการทำจากรุ่นสู่รุ่นได้ดีมาก ๆ เลย 🥰
และที่สำคัญคือถึงแม้ว่ามันจะเป็นขนมที่ดัดจากขนมของชาวจีน แต่ด้วยวิถีชีวิตและการผลิตของคนญี่ปุ่น ก็ทำให้ในทุก ๆ ครั้งที่เราเห็นขนมพวกนี้ ก็จะนึกถึงแต่แค่ประเทศญี่ปุ่น ส่วนใหญ่แล้ว
(มีตั้งหลายเมนูเลย ที่พวกเราก็ยังไม่เคยลองเลยเหมือนกันนะ แอบสารภาพคร้าบ อิอิ)
แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม
https://www.justonecookbook.com/wagashi-varieties/
https://www.masterclass.com/articles/wagashi-guide
https://www.marumura.com
https://matcha-jp.com
https://chillchilljapan.com
ประวัติศาสตร์
อาหาร
6 บันทึก
4
6
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย