Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
KBank Live
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
29 ม.ค. 2023 เวลา 00:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
จัดการเงินในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น เอกสารยื่นภาษีทั้งหลาย ต้องขอจากที่ไหนให้ง่าย
● จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น จะส่งผลกระทบลบต่อ ผู้ที่มีเงินกู้ ทำให้ต้นทุนการเงินเพิ่มขึ้น หรือผ่อนชำระหมดได้ช้าลง และส่งผลกระทบบวกต่อผู้ที่มีเงินเก็บ โดยเฉพาะผู้ฝากเงิน / ลงทุนในตราสารหนี้ จะลงทุนใหม่ได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น
● เทคนิคจัดการเงิน สำหรับผู้ที่มีเงินกู้ แนะนำให้ผ่อนชำระเพิ่มขึ้น ส่วนผู้ที่มีเงินเก็บ แนะนำให้เลือกระยะเวลาลงทุนให้เหมาะกับระยะเวลาใช้เงิน
● Tips ใช้ดอกเบี้ยบ้าน ในการลดหย่อนภาษีได้ตามจริงไม่เกิน 100,000 บาท และขอเครดิตภาษีคืน สำหรับผู้ที่มีรายได้จากดอกเบี้ยเงินฝากอย่างเดียวทั้งปีไม่เกิน 560,000 บาท ขอคืนภาษี โดยสามารถขอเอกสารได้ผ่านทางระบบสรรพากร (e-Withholding Tax)
ในช่วงปี 65 ที่ผ่านมา ธนาคารกลางสหรัฐฯ FED มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาแล้ว 7 ครั้ง จนกระทั่งการประชุมครั้งล่าสุด เมื่อเดือน ธ.ค. 65 ที่มีมติขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบชะลอตัวลงที่ 0.5% เข้าสู่ระดับ 4.25%-4.50%
ในขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย มีการทยอยขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 3 ครั้ง ในช่วงครึ่งหลังปี 65 ส่งผลกระทบต่อทั้งคนที่ฝากเงิน และคนที่ขอสินเชื่อจากธนาคาร แล้วจะมีเทคนิคในการจัดการเงินและภาษี เพื่อรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น บทความนี้สรุปเทคนิคมาให้แล้ว
อัตราดอกเบี้ยนโยบายมีแนวโน้มเป็นขาขึ้น จะกระทบกับใครบ้าง
มาดูที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายแนวโน้มขาขึ้น ทำไมจึงทำให้ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ทยอยขึ้นอัตราดอกเบี้ย ต้องเล่าว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลาง จะส่งผลโดยตรงกับต้นทุนของธนาคารพาณิชย์
พูดง่ายๆ ว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์กู้ยืมกันเอง ซึ่งเมื่อขยับเพิ่มขึ้น(ลดลง) จะทำให้ต้นทุนของธนาคารปรับเพิ่มขึ้น(ลดลง)ไปด้วย ส่งผลให้ธนาคารจะทยอยปรับอัตราดอกเบี้ยไปในทิศทางเดียวกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ส่วนจะปรับมากหรือน้อยจะขึ้นอยู่กับความต้องการฝากเงิน กู้เงิน อัตราเงินเฟ้อ และต้นทุนด้านอื่นๆของธนาคารด้วย แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยจะมีผลกระทบกับคน 2 กลุ่ม คือ
1) ผู้ที่มีเงินกู้
จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น จะส่งผลกระทบทางลบกับผู้ขอสินเชื่อ คือ มีต้นทุนเพิ่มขึ้น หรือ ต้องผ่อนมากขึ้นเพื่อให้สินเชื่อหมด
2) ผู้ที่มีเงินเก็บ
กรณีนี้เป็นแนวโน้มขาขึ้น ก็จะกระทบในทางบวกกับผู้ฝากเงิน กล่าวง่ายๆ คือ ผู้ฝากเงิน(ใหม่)จะได้ผลตอบแทนจากดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น รวมไปถึงผู้ลงทุน(ใหม่)ในตราสารหนี้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล หรือหุ้นกู้เอกชน
ที่ต้องทยอยขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) เพื่อให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับตลาด และสอดคล้องกับความต้องการลงทุนในตราสารหนี้
ในขณะที่ผู้ที่จะลงทุนในตลาดหุ้น จะได้รับผลกระทบทางอ้อมจากการที่ดอกเบี้ยปรับขึ้น คือ ผู้ลงทุนจะชะลอหรือลงทุนในหุ้นน้อยลง เนื่องจากเปรียบเทียบผลตอบแทนจากเงินฝาก และ/หรือ ตราสารหนี้ ที่มีความเสี่ยงจากการลงทุนน้อยกว่า
แต่ผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยขยับขึ้น กับผลตอบแทนจากตราสารทุน (หุ้น) ที่มีความเสี่ยงสูงกว่า
เทคนิคจัดการเงินและภาษี เมื่ออัตราดอกเบี้ยขาขึ้น
1) สำหรับผู้ที่มีเงินกู้ (บ้าน/รถ/ขยายกิจการ) และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลอยตัว (Floating Rate)
หากมีเงินเหลือจากกิจการแนะนำให้ผ่อนชำระให้เร็วขึ้น เพื่อลดภาระดอกเบี้ยจะปรับทยอยปรับขึ้นได้ ยกตัวอย่าง อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 1% (ขึ้นจาก 5% เป็น 6%) จากเงินต้น 1.0 ล้านบาท ผ่อนชำระเดือนละ 7,500 บาท ระยะเวลาผ่อนหมดช้าลงอีก 2 ปี และมีภาระดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นประมาณ 12,000 บาท
2) สำหรับผู้ที่มีเงินเก็บ
แนะนำให้ฝากเงินหรือลงทุนในตราสารหนี้ที่มีระยะเวลาสอดคล้องกับการลงทุน เช่น หากต้องการใช้เงินก้อนนี้อีก 1 ปีข้างหน้า ฝากเงินหรือลงทุนในตราสารหนี้ที่มีระยะเวลา 1 ปีหรือใกล้เคียง เพื่อให้มีเงินพร้อมใช้ในอีก 1 ปีข้างหน้า และอัตราดอกเบี้ยสูงมากเพียงพอ
3) สำหรับผู้ที่จะลงทุนในหุ้น
เพื่อลดผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ทำให้ความน่าสนใจในหุ้นลง แนะนำให้ลงทุนในหุ้นที่ได้รับประโยชน์จากการขึ้นอัตราดอกเบี้ย เช่น หุ้นกลุ่มธนาคาร หุ้นกลุ่มปัจจัย 4 เช่น อาหาร สาธารณูปโภค (ไฟฟ้า น้ำ) ยารักษาโรค เป็นต้น
เนื่องจากหุ้นกลุ่มปัจจัย 4 จะมีอำนาจในการกำหนดราคาสินค้า ทำให้เมื่อต้นทุนสูงขึ้นสามารถเพิ่มราคาขายสินค้าเพื่อถ่ายโอนภาระให้ผู้บริโภคได้ รวมถึงหุ้นที่มีสัดส่วนหนี้สินต่ำ ทำให้ได้รับผลกระทบจากการขึ้นดอกเบี้ยน้อย
นอกจากเทคนิคจัดการเงินโดยตรงแล้ว ในช่วงต้นปีเป็นช่วงที่บุคคลธรรมดายื่นภาษีอยู่ สำหรับผู้ที่รับ-จ่ายดอกเบี้ยในปีที่ผ่านมา สามารถใช้เทคนิคประหยัดภาษีเข้ามาช่วยได้ เช่น
4) สำหรับผู้ที่มีสินเชื่อบ้าน
แนะนำให้นำดอกเบี้ยที่ชำระไปลดหย่อนภาษีได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท เพื่อทำให้ลดภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นได้ โดยเอกสารจะถูกจัดส่งให้ในช่วงต้นปี หากไม่ได้รับหรือสูญหาย ติดต่อขอรับใหม่ได้ที่สถาบันการเงิน
5) สำหรับผู้ที่มีเงินฝาก
และเป็นบุคคลธรรมดามีเงินได้จากดอกเบี้ยเงินฝากอย่างเดียว ไม่เกิน 560,000 บาท หรือ นิติบุคคล เพื่อยื่นภาษี/ปิดงบ สามารถขอหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ดอกเบี้ยฯ) ได้ที่สถาบันการเงิน หรือ ขอได้ผ่าน Website กรมสรรพากรโดยตรง
Tips!! ในการเตรียมเอกสารเพื่อยื่นภาษี (สำหรับผู้ที่มีเงินฝากกับธนาคารกสิกรไทย)
- ยื่นภาษีได้เลยไม่ต้องใช้เอกสารหนังสือรับรองแล้ว เพราะธนาคารกสิกรไทย ได้ส่งข้อมูลภาษีหัก ณ ที่จ่าย ดอกเบี้ยเงินฝากไปยังกรมสรรพากร ดังนั้นกรมสรรพากรมีข้อมูลภาษีฯแล้ว ไม่จำเป็นต้องขอเอกสารเพื่อไปนำส่งอีก กรมสรรพากรไม่ขอดู
- หากต้องการเอกสารเก็บไว้อุ่นใจ ขอผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากรได้ 24 ชม.แค่ลงทะเบียนครั้งแรกครั้งเดียว ใช้ได้ตลอด ในระบบ e-Withholding Tax หากเป็นบุคคลธรรมดาที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/91 ทางอินเตอร์เน็ต ใช้ Username Password เดียวกับที่ยื่นแบบได้เลย เพียงลงทะเบียนเพื่อยืนยันตัวตนครั้งแรก
- ผู้มีเงินได้จากดอกเบี้ยเงินฝาก ที่เป็นนิติบุคคล ลงทะเบียนได้เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา หากต้องการเอกสารสามารถ Print สรุปจากระบบ e-Withholding Tax ได้ ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องเอกสาร และเรียกข้อมูลย้อนหลังได้ถึง วันที่ 10 ก.ค. 2564
ขอขอบคุณข้อมูลจาก กรมสรรพากร
https://epay.rd.go.th
ข้อมูล ณ วันที่ 5 ม.ค. 66
บทความโดย K WEALTH TRAINER สุนิติ ถนัดวณิชย์ CFP®
#KBankLive
การเงิน
ดอกเบี้ย
ดอกเบี้ยขาขึ้น
2 บันทึก
2
2
2
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย