27 ม.ค. 2023 เวลา 11:00

People Operations คืออะไร? มีบทบาทสำคัญต่อองค์กรอย่างไร

ปัจจุบันสภาพแวดล้อมในสังคมเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะด้านรูปแบบการใช้ชีวิต เทคโนโลยี หรือกระแสความนิยม ส่งผลให้องค์กรต้องเปลี่ยนแปลงเร็วตามไปด้วย ทำให้ทุกวันนี้องค์กรส่วนใหญ่หันมาให้ความสำคัญกับพนักงานมากขึ้น จะเห็นได้จากการที่บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Google, Buffer และ IBM หันมาให้ความสำคัญกับตำแหน่ง People Operations เพราะฉะนั้นวันนี้ ConNEXT จะพามารู้จักกับ People Operations ว่าคืออะไร และมีความแตกต่างจาก HR อย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย!
🟥 People Operations คืออะไร?
People Operations คือ ฝ่ายบริหารทรัพยากร “คน” ในองค์กร เช่นเดียวกับ HR แต่ People Operations จะมุ่งเน้นไปที่การให้ความสำคัญกับการพัฒนา “คน” มากกว่าโดยแนวคิดที่ว่า “คน” ไม่ใช่แค่ทรัพยากรขององค์กรแต่เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนองค์กรให้ไปข้างหน้าและเติบโตไปด้วยกัน
🟥 People Operations สามารถแบ่งออกเป็น 5 ตำแหน่ง ดังนี้
👉 1. People Operations Manager ทำหน้าที่วิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคที่อาจเกิดจากการทำงาน และดูแลภาพรวมของพนักงานภายในทีม รวมถึงตรวจสอบพนักงานในทีมว่าสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิหรือไม่
👉 2. People Operations Coordinator ทำหน้าที่ประสานงาน หรือประชาพันธ์ข่าวสารภายในองค์กร ซึ่งมักจะทำงานร่วมกับ People Operations Manager
👉 3. Director of People Operations คือผู้อำนวยการของทีม People Operations ซึ่งมีหน้าที่พัฒนาและผลักดันนโยบายด้านบุคลากรให้กับพนักงาน พร้อมแนะแนวทางที่จะทำให้พนักงานบรรลุเป้าหมาย
👉 4. People Operations Specialist ทำหน้าที่ตรวจสอบและดูแล Data ของพนักงานทั้งหมด ซึ่งคนที่ได้ทำงานในตำแหน่งนี้มักได้ร่วมทำงานกับทีมอื่นๆ ด้วย เพราะฉะนั้นทักษะในการสื่อสารจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับตำแหน่งนี้
👉 5. People Operations Analyst ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์หรือหาข้อมูลจากงานวิจัยต่างๆ เพื่อนำมาปรับใช้กับองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
🟥 ความสำคัญของ People Operations
👉 1. ติตตามผลประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายบริษัท
People Operations มีหน้าที่ช่วยให้พนักงานเข้าใจเป้าหมายของบริษัทและบทบาทหน้าที่การทำงานของตนเอง รวมถึงออกแบบรูปแบบการทำงานของพนักงานให้รู้สึกอยากพัฒนาฝีมือและอยากทำงานในองค์กรนี้ต่อไปเรื่อยๆ ด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างผลกำไรให้กับองค์กรและช่วยให้องค์กรเติบโตไปข้างหน้าได้
👉 2. วางแผนและดูแล Journey ของพนักงาน
People Operations จะช่วยออกแบบหรือวางแผนแต่ละ Step ของพนักงานที่เข้ามาทำงานในองค์กร ตั้งแต่การสัมภาษณ์งานไปจนถึงการรับเข้าทำงานว่าจะมีรูปแบบการทำงานไปในทิศทางไหน หรือเรียกง่ายๆ คือแนวทางในการดูแลพนักงานนั่นเอง
👉 3. สร้างแรงจูงใจให้พนักงาน
มากกว่า 40% ที่พนักงานลาออก ส่วนหนึ่งมาจากการไม่ได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน จนในบางครั้งทำให้พนักงานรู้สึกกดดัน เครียด ไม่มีกำลังใจ หรือท้อต่อการทำงาน ฉะนั้น People Operations จึงมีหน้าที่สร้างแรงจูงใจ หรือเสริมกำลังใจในด้านอื่นๆ เพื่อให้พนักงานรู้สึกดีขึ้นและสามารถทำงานต่อไปได้
👉 4. สร้างความผูกพันระหว่างองค์กรกับพนักงาน โดยผ่าน People Operations
ปัจจุบันอัตราการลาออกสูงขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงภาวะหมดไฟหรือ Burnout ของพนักงานที่เพิ่มขึ้นทุกวัน สิ่งเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบต่อองค์กรโดยตรง นี่จึงเป็นสาเหตุที่ People Operations ต้องรักษาพนักงานไว้ เพื่อลดอัตราการขาดงาน ด้วยกลยุทธ์ต่างๆ เช่น การสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงาน หรือพูดคุยกับพนักงานให้มากขึ้น เพื่อให้รู้ว่าพนักงานต้องการอะไร และนำสิ่งเหล่านั้นมาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทขององค์กรมากที่สุด เพื่อให้พนักงานสามารถทำงานในองค์กรได้อย่างมีความสุข
👉 5. พัฒนาพนักงานในองค์กร
อีกหนึ่งหน้าที่สำคัญของ People Operations คือ การพัฒนาพนักงานในองค์กร เช่น การฝึกอบรมที่จะช่วยเพิ่มคุณค่าให้พนักงาน การสร้าง Career Path หรือแม้แต่การทำ KPI แน่นอนว่าการที่องค์กรจะก้าวไปข้างหน้าได้ ส่วนหนึ่งต้องมาจากพนักงานที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นการพัฒนาพนักงานจึงมีความสำคัญต่อทุกองค์กรไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ก็ตาม
👉 6. สร้างความเชื่อมั่นให้กับพนักงาน
การสร้างความไว้วางใจต้องเริ่มจากการทำให้พนักงานรู้สึกไว้วางใจในตัวของ People Operations ก่อน อย่างแรกคือคุณต้องสื่อสารกับพนักงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อแสดงถึงความใส่ใจต่อพนักงาน
อย่างที่สองคือแสดงความโปร่งใสและความซื่อสัตย์ต่อพนักงาน เช่น การพูดคุยกับพนักงานอย่างตรงไปตรงมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานหรือเรื่องอะไรก็ตาม ที่สำคัญควรเปิดโอกาสให้พนักงานได้แสดงความคิดเห็นด้วย เพราะนั่นจะทำให้พนักงานรู้สึกมีคุณค่าและรู้สึกว่าคุณไม่มองข้ามความคิดเห็นของเขานั่นเอง
สุดท้ายคือคุณต้องรับฟังพนักงานให้มากขึ้น เพราะในบางครั้งคุณต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นขอพนักงาน และดำเนินตามการตาม Feedback ของพวกเขาบ้าง เพื่อให้พนักงานรู้สึกวางใจในตัวคุณ
👉 7. จัดการการเปลี่ยนแปลงให้องค์กรทำงานได้ดีขึ้น
People Operations มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการหรือบริหารการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ เช่น การย้ายระบบการทำงานจากแมนนวลไปสู่ดิจิทัล หรือการโยกย้ายของพนักงานภายในทีม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มักดำเนินไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กร เพื่อลดผลกระทบที่อาจส่งผลต่อเป้าหมายทางธุรกิจ
👉 8. พัฒนาวัฒนธรรมให้มีความหลากหลายมากขึ้น
สิ่งสำคัญสุดท้ายของ People Operations มีหน้าที่ในการสร้างสรรค์วัฒนธรรมองค์กรให้มีความหลากหลายและให้ตรงกับความต้องการของพนักงานในยุคปัจจุบัน
อ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3Hyx5z5
มาร่วม CONNEXT THE DOT ก้าวสู่โลกการทำงานอย่างมั่นใจไปด้วยกัน
——————————————————

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา