27 ม.ค. 2023 เวลา 01:08 • การตลาด

รางวัลสลากกินแบ่งฯ จาก 6 ล้านอาจจะเหลือเพียง 3.48 ล้านบาทถ้าไม่รู้เรื่องนี้

เรื่องนี้อาจจะไม่ได้เป็นปัญหาสำหรับผู้ที่เน้นการสนับสนุนสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เนื่องจากไม่เน้นถูกรางวัลแต่เน้นลุ้น หรืออาจจะมีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนรายได้เข้ารัฐฯ จากการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลแบบไม่เฉียดรางวัลแม้แต่เลขท้าย 1 ตัว
ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ
ผู้ถูกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาลไม่ต้องเสียภาษี เพียงต้องชำระค่าอากรแสตมป์ ในอัตรา 0.5% ของเงินรางวัลที่ได้รับเท่านั้น โดยมีอัตราการชำระในแต่ละรางวัลที่ได้รับดังนี้
รางวัลที่ 1 มูลค่ารางวัลละ 6,000,000 บาท จ่ายค่าอากรแสตมป์ 30,000 บาท
รางวัลที่ 2 มูลค่ารางวัลละ 200,000 บาท จ่ายค่าอากรแสตมป์ 1,000 บาท
รางวัลที่ 3 มูลค่ารางวัลละ 80,000 บาท จ่ายค่าอากรแสตมป์ 400 บาท
รางวัลที่ 4 มูลค่ารางวัลละ 40,000 บาท จ่ายค่าอากรแสตมป์ 200 บาท
รางวัลที่ 5 มูลค่ารางวัลละ 20,000 บาท จ่ายค่าอากรแสตมป์ 100 บาท
รางวัลข้างเคียงรางวัลที่ 1 มูลค่ารางวัลละ 100,000 บาท จ่ายค่าอากรแสตมป์ 500 บาท
รางวัลเลขหน้า 3 ตัว มูลค่ารางวัลละ 4,000 บาท จ่ายค่าอากรแสตมป์ 20 บาท
รางวัลเลขท้าย 3 ตัว มูลค่ารางวัลละ 4,000 บาท จ่ายค่าอากรแสตมป์ 20 บาท
รางวัลเลขท้าย 2 ตัว มูลค่ารางวัลละ 2,000 บาท จ่ายค่าอากรแสตมป์ 10 บาท
ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/966014
ผู้ถูกรางวัลจะได้รับการยกเว้นภาษีรายได้บุคคลธรรมดา ตามกฎหมายที่ออกมารองรับผู้ถูกรางวัลโดยเฉพาะ
ส่วนการซื้อสลากออนไลน์จากแอพพลิเคชั่น “เป๋าตัง” ผู้ถูกรางวัลจะต้องจ่ายเงินเงินเพิ่มเป็นค่าธรรมเนียมอีก 1% ของเงินรางวัล ไม่รวมค่าอากรแสตมป์ 0.5% โดยไปรับรางวัลได้ที่ธนาคารกรุงไทย (ยกเว้นจุดบริการ)
ก็เท่ากับว่าการถูกสลากกินแบ่งฯกับ “เป๋าตัง” จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมาอีก 1% นั่นเอง แต่เฉพาะผู้ถูกรางวัลที่ 1 ไม่ต้องจ่าย ก็เพราะว่าธนาคารไม่รับ จะต้องไปขึ้นเงินที่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลเอง ที่สนามบินน้ำ จ.นนทบุรี
ในส่วนของการซื้อสลากฯแบบออนไลน์จากแพลตฟอร์มอื่นๆ อย่างที่รับทราบกันทั่วไปว่าการถูกรางวัลจะได้รับเงินเต็มโดยไม่ต้องเสียภาษี(ที่ไม่มีอยู่แล้ว)และค่าธรรมเนียม โดยทางแพลตฟอร์มจะจ่ายเงินรางวัลให้เต็มจำนวน
ที่มา: https://www.facebook.com/kongsalak11/
กรณีที่ทางแพลตฟอร์มออนไลน์นำสลากที่ถูกรางวัลไปขึ้นเงินแทน ขั้นตอนนี้จะมีเพียงผู้ถูกรางวัลและสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล แต่ก็จะมีบุคคลที่ 3 เพิ่มขึ้นมา ซึ่งเป็นผู้ที่นำสลากของผู้ถูกรางวัลนำไปรับรางวัลแทนนั่นเอง
ดังนั้นการที่ผู้ถูกรางวัลสลากกินแบ่งฯรับเงินมาจากตัวแทนหรือแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เป็นบุคคลที่ 3 ก็หมายความว่าเป็นผู้มีรายได้ ซึ่งจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ยิ่งมีรายได้มากสัดส่วนการจ่ายภาษีก็มากตาม โดยเปรียบเทียบตามข้อมูลการเสียภาษีเบื้องต้นดังนี้
ขั้นเงินได้สุทธิตั้งแต่ เงินได้สุทธิจำนวนสูงสุดของขั้น อัตราภาษี ภาษีสูงสุดในแต่ละขั้นเงินได้ ภาษีสะสมสูงสุดของขั้น
รายได้ <150,000 บาท/ปี ยกเว้นการจ่ายภาษี
รายได้เกิน 150,000-300,000 บาท/ปี อัตราภาษี 5%
รายได้เกิน 300,000-500,000 บาท/ปี อัตราภาษี 10%
รายได้เกิน 500,000-750,000 บาท/ปี อัตราภาษี 15%
รายได้เกิน 750,000-1,000,000 บาท/ปี อัตราภาษี 20%
รายได้เกิน 1,000,000-2,000,000 บาท/ปี อัตราภาษี 25%
รายได้เกิน 2,000,000-5,000,000 บาท/ปี อัตราภาษี 30%
รายได้เกิน 5,000,000 บาท/ปีขึ้นไป อัตราภาษี 35%
ที่มา: กรมสรรพากร
ที่มา: Kapook Money
ยกตัวอย่างกรณีที่ถูกรางวัลที่หนึ่ง อาจจะต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดาในอัตรา 35% หรือ 2,100,000 บาท เงินรางวัลที่ได้มาก็จะเหลืออยู่ 3,900,000 บาท
หากผู้ถูกรางวัลกับแพลตฟอร์มออนไลน์แล้วไม่ได้แนบบัตรประชาชนให้ไปด้วย โดยให้ตัวแทนนำรางวัลไปขึ้นแทนโดยการใช้ชื่อผู้อื่น อาจจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7% ด้วย รวมแล้วอาจจะต้องจ่ายถึง 42% หรือ 2,520,000 บาท
1
ทั้งหมดทั้งสิ้นแล้วก็อาจจะทำให้ผู้ถูกสลากรางวัลที่1 เหลือเงินเพียง 3,480,000 บาท หรือ 58% ของรางวัล
เพื่อความสบายใจก็ควรสอบถามเรื่องนี้กับแพลตฟอร์มออนไลน์ว่าจะต้องรับในแบบเงื่อนไขใด หากรับแบบผู้มีรายได้บุคคลธรรมดา ก็เอารางวัลไปขึ้นเงินเองจะดีกว่า
ลาภจากการถูกรางวัลอาจจะกลายเป็นทุกขลาภก็ได้หากไม่รอบคอบเรื่องการจ่ายภาษี
ที่มา:  Ruay
โฆษณา