29 ม.ค. 2023 เวลา 02:55 • ธุรกิจ

“Economic Moat” แนวคิดป้อมปราการธุรกิจ ของวอร์เรน บัฟเฟตต์

ความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจ ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยให้ธุรกิจนั้นเติบโต และประสบความสำเร็จ
ซึ่ง “วอร์เรน บัฟเฟตต์” นักลงทุนชื่อดังของโลก ได้กล่าวถึงความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจว่า ต้องดูกันที่ธุรกิจมี “Economic Moat” หรือ “คูเมืองทางเศรษฐกิจ” แข็งแกร่งหรือไม่
แล้ว Economic Moat คืออะไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
Economic Moat เปรียบเหมือนปราการที่เป็นคูน้ำล้อมรอบปราสาท ทำหน้าที่ป้องกันปราสาท จากการบุกรุกของศัตรู เหมือนกับสิ่งที่ปกป้องธุรกิจจากคู่แข่ง ให้เข้ามาแข่งขันด้วยยาก
เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น เราลองมาดูตัวอย่างของ Economic Moat ของธุรกิจกันว่ามีอะไรบ้าง
1. ความได้เปรียบด้านต้นทุน (Cost Advantage)
ธุรกิจที่มีต้นทุนต่ำกว่าคู่แข่ง เกิดมาจากหลายปัจจัย อย่างเช่น
- มีอำนาจต่อรองกับซัปพลายเออร์
- มีธุรกิจอยู่ในต้นน้ำและปลายน้ำของอุตสาหกรรม
- มีประสิทธิภาพในการผลิตที่เหนือกว่าคู่แข่ง
ซึ่งหากมีความได้เปรียบเรื่องต้นทุน ก็จะทำให้ธุรกิจมีอัตรากำไรสูงกว่าคู่แข่ง หรือหากมีสงครามราคาในอุตสาหกรรมเกิดขึ้น ธุรกิจก็ยังมีความได้เปรียบ โดยสามารถลดราคาลงมาสู้กับคู่แข่งได้อีกด้วย
2. ความได้เปรียบด้านขนาด (Size Advantage)
ธุรกิจที่มีขนาดใหญ่จะมีความได้เปรียบ ด้านการประหยัดต่อขนาด หรือ Economies of Scale หมายความว่า เมื่อธุรกิจผลิตสินค้าหรือบริการได้มากขึ้น ก็จะทำให้ต้นทุนต่อหน่วย ต่ำกว่าคู่แข่ง
1
สมมติว่า ถ้าเราทำธุรกิจร้านสะดวกซื้อ และมีงบค่าโฆษณาต่อปี 10,000,000 บาท
หากร้านสะดวกซื้อมีจำนวน 100 สาขา หมายความว่า ค่าโฆษณาต่อสาขาจะเท่ากับ 100,000 บาท
แต่ถ้าร้านสะดวกซื้อมีจำนวน 1,000 สาขา หมายความว่า ค่าโฆษณาต่อสาขาจะเท่ากับ 10,000 บาทเท่านั้นเอง
1
3. ความได้เปรียบด้านสินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Advantage)
หลายครั้งความได้เปรียบทางธุรกิจก็อาจมาจากสินทรัพย์ไม่มีตัวตน อย่างเช่น
- สิทธิบัตร และใบอนุญาตต่าง ๆ
- ความจงรักภักดีต่อแบรนด์ของลูกค้า
- ความสามารถของผู้บริหารและพนักงาน
2
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ก็คงต้องนึกถึง Louis Vuitton ที่มีการสร้างการรับรู้ในแบรนด์ได้อย่างยอดเยี่ยม จนเป็นแบรนด์หรูแบรนด์แรก ๆ ที่ผู้บริโภคนึกถึง
4. ต้นทุนของผู้บริโภคในการเปลี่ยนไปใช้สินค้าและบริการอื่นมีสูง (High Switching Costs)
การที่ผู้บริโภคมีต้นทุนในการเปลี่ยนไปใช้สินค้าหรือบริการของคู่แข่งสูง ทำให้ผู้บริโภคไม่อยากเปลี่ยนไปใช้แบรนด์อื่น ซึ่งอาจเกิดจาก
- รู้สึกว่าการดำเนินการยุ่งยาก
- ไม่อยากเปลี่ยนพฤติกรรมที่คุ้นเคยอยู่แล้ว
ตัวอย่างเช่น แอปพลิเคชันสื่อสารและโซเชียลมีเดียอย่าง เฟซบุ๊ก และไลน์ ที่มีคนจำนวนมากใช้งาน จนเกิดเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เรียกว่า “Network Effect” จนทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ ไม่เปลี่ยนไปใช้แอปพลิเคชันอื่น ๆ
หรืออย่างกรณีของ Microsoft Office ก็ถือว่ามี Switching Cost ที่สูง เพราะคนส่วนมากมักใช้โปรแกรมนี้ในการทำงาน
ดังนั้น การที่จะย้ายไปใช้โปรแกรมอื่น ก็อาจทำให้ประสบกับความยุ่งยากในการทำงานเช่นกัน
สุดท้ายแล้ว หากเรากำลังมองหาธุรกิจที่จะลงทุน ก็ควรตรวจสอบว่า ธุรกิจนั้นมี Economic Moat เป็นอย่างไรบ้าง
ซึ่งหากธุรกิจนั้นไม่มี Economic Moat ก็คงยากที่จะอยู่รอดได้ในระยะยาว..
2
ใครอยากมีความรู้เรื่องตลาดหุ้น ลงทุนแมนแนะนำ หนังสือ BLACK SWAN เล่มนี้ ราคา 380 บาท ที่เล่าถึงความล้มเหลวก่อนที่จะสำเร็จของนักลงทุนในตำนาน 12 คน สามารถสั่งซื้อ ได้ที่
1
โฆษณา