30 ม.ค. 2023 เวลา 12:24 • ข่าวรอบโลก

ยุโรปเกิดวิกฤตขาดแคลนยาอย่างหนัก โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะและยาแก้ปวดลดไข้

เกิดสถานการณ์การขาดแคลนยาสามัญและยาเฉพาะโรคในยุโรปอย่างหนัก
ตั้งแต่ปลายปี 2022 มีรายงานจากประเทศต่าง ๆ ในยุโรปว่ากำลังตกอยู่ในภาวะขาดแคลนยาสามัญหลายชนิด ที่ไม่อาจหาซื้อได้ในร้านขายยาทั่วประเทศ
จากการสำรวจใน 29 ประเทศ ร้านขายยาถึง 1 ใน 4 ที่ขาดแคลนยาราว 600 รายการ ส่วนอีก 20% ของประเทศทั้งหมด ประสบภาวะยาขาดตลาดราว 300 รายการ
ยกตัวอย่างบางประเทศ เช่น มีการขาดแคลนยา 300 รายการในเบลเยี่ยม 400 รายการในเยอรมนี 600 รายการในออสเตรีย
แต่ที่เห็นจะหนักสุดคืออิตาลี ที่ขาดแคลนยามากถึง 3,000 รายการ
และมี 3 ใน 4 ที่รายงานเพิ่มเติมว่า การขาดแคลนดังกล่าว ส่งผลต่อจำนวนผู้เสียชีวิตที่เพิ่มขึ้น
ตัวยาหลัก ๆ ที่ขาดแคลน คือยาปฏิชีวนะอย่าง อะม๊อกซิซิลิน ที่เป็นยาที่ใช้ในโรคระบบทางเดินหายใจ
ยาสามัญอย่างยาพาราเซตามอล ยาแก้ไอสำหรับเด็กหลายชนิด รวมทั้งยาความดันโลหิตสูง ก็ขาดแคลนอย่างหนักเช่นกัน
แล้วอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ยาขาดแคลน?
สาเหตุที่ยาเกิดการขาดแคลนก็คือ ภาวะอุปทานที่ตึงตัว สวนทางกับอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ช่วงที่ผ่านมา การเพิ่มขึ้นของต้นทุนพลังงานและราคาวัตถุดิบทำให้ผู้ผลิตยาหลายราย ลดกำลังการผลิตลง บางรายก็เกิดภาวะขาดสภาพคล่องจนต้องปิดกิจการ
1
ส่วนภาวะอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น เกิดจากการที่ผู้คนติดเชื้อโรคระบบทางเดินหายใจอย่างไข้หวัดใหญ่ ไวรัส RSV รวมทั้งการระบาดของ Step A ที่ทำให้เกิดความต้องการใช้ยาแบบทวีคูณในเวลาสั้น ๆ
มีคำอธิบายถึงสาเหตุที่ผู้คนเกิดการติดเชื้อโรคประจำฤดูกาลกันมากขึ้น ก็เพราะช่วงปีที่มีการล็อกดาวน์จากโควิด 19 ร่างกายคนเรามีภูมิคุ้มกันต่อโรคประจำฤดูที่ต่ำลง เพราะมีการติดเชื้อลดลงมากจากการล็อกดาวน์
เมื่อทุกคนกลับมาใช้ชีวิตแบบเดิมอีกครั้ง ความอ่อนแอของภูมิต้านทานจึงทำให้มีคนติดเชื้อโรคประจำฤดูกาลมากขึ้นนั่นเอง
1
สำหรับแนวทางแก้ไข รัฐบาลหลายประเทศใช้วิธีออกกฎหมายห้ามการส่งออกยาที่มีการผลิตในประเทศตัวเอง
หรือไม่ก็แก้กฎหมายให้มีการนำเข้ายาง่ายขึ้น ผ่อนปรนข้อจำกัดในเรื่องราคาและปริมาณการนำเข้าให้คล่องตัวและเพียงพอต่อความต้องการ
แต่การที่ต่างคนต่างแก้ปัญหาด้วยการรักษาปริมาณยาในสต๊อคของตัวเองแบบนี้ อาจทำให้บางประเทศที่ไม่มีความพร้อมเดือดร้อนหนักขึ้นไปอีก
ในขณะที่ผู้นำประเทศหลายประเทศต่างมีความพยายามหาทางแก้ไขปัญหานี้อยู่ ผู้นำในยุโรปบางคนกลับบอกว่า ไม่ต้องทำอะไรหรอก
แค่รอให้ปัญหาขาดแคลนถึงจุดพีคสุด จำนวนผู้ป่วยพีคสุด เดี๋ยวอุปทานยาก็วิ่งมาหาตลาดเอง...
3
ฟังดูเหมือนเป็นการเสนอวิธีการแก้ปัญหาแบบไม่ได้แก้อะไรเลยนะครับแบบนี้.....
References;
ติดตามอ่านบทความได้ที่
โฆษณา