Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
การเงินย่อยง่ายกับหมอใช้
•
ติดตาม
3 ก.พ. 2023 เวลา 12:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ทำไมถึงควรมีบัญชีเงินฝากหลายบัญชี?
คนจำนวนไม่น้อยเก็บเงินทุกอย่างไว้ในบัญชีเดียวกัน บัญชีเดียวนี้เป็นทั้งบัญชีรับเงินเดือน บัญชีใช้จ่าย บัญชีผ่อนบ้าน บัญชีสำหรับค่าน้ำค่าไฟค่าโทรศัพท์ ค่าประกัน เงินสำหรับลงทุน หรือเป็นเงินเก็บสำหรับอนาคต
ถามว่าผิดไหม? มันก็ไม่ได้ผิดหรอก แค่ถ้าเราไม่รอบคอบ มันอาจจะนำมาซึ่งความยุ่งเหยิงทางการเงินในชีวิต
ลองนึกภาพตามนะครับ สมมติมีเงินในบัญชีนี้ 300,000 บาท ในนี้เป็นเงินเก็บไปสัก 200,000 บาท มีเงินเหลือไว้ใช้จ่ายประมาณ 100,000 บาท (แต่ตัวเลขในบัญชีโชว์ 300,000 บาทนะ) ถ้าปีนี้จะจ่ายเงินทริปไปเที่ยวต่างประเทศรวมๆ 50,000 บาท ค่ากินค่าอยู่ค่าที่พักค่าน่าไฟค่าโทรศัพท์รวมๆ ใช้ไป 30,000 บาท โทรศัพท์พัง จะต้องซื้อใหม่ ราคา 25,000 บาท ณ ตอนนี้ตัวเลขเงินในบัญชีเราจะอยู่ที่ โอเค แล้วก็จะมีค่านั่นค่านี้...195,000 บาท
เฮ้ย! เผลอกินเงินเก็บไป 5,000 แล้วนะ!
นี่ก็ตัวอย่างง่ายๆ ครับ
อีกความปวดหัวนึงที่เจอได้ คือเวลาเราจะยื่นขอสินเชื่อกับธนาคารครับ เวลายื่นกู้เนี่ย สิ่งสำคัญมากที่ธนาคารจะต้องขอดูคือรายการเดินบัญชี (Statement) ครับ มันเป็นหลักประกันว่าเรามีรายได้มากพอไหมในการจะมาจ่ายหนี้เขา เรามีพฤติกรรมการใช้จ่ายเป็นยังไง ซึ่งถ้าเรามีบัญชีเดียวหมุนเงินทุกอย่าง ตัว Statement เราจะยุ่งเหยิงมาก ทำให้เราต้องมานั่งปวดหัวคอยชี้แจงกับเจ้าหน้าที่ธนาคาร ซึ่งรังแต่จะทำให้เสียอารมณ์กันทุกฝ่าย
ถ้าจะว่ากันในแง่จิตวิทยา การที่เราเห็นตัวเลขเงินในบัญชีเยอะๆ มันจะทำให้เราใช้เงินมือเติบโดยไม่รู้ตัวครับ มันให้ความรู้สึกว่าเรามีเงิน เราจ่ายได้ ไม่มีปัญหา อารมณ์เหมือนรูดบัตรเครดิตที่ทำให้เรามีอำนาจซื้อมากขึ้นโดยไม่ต้องแคร์เงินในบัญชีสักเท่าไหร่ ซึ่งสุดท้ายแล้วความยับยั้งชั่งใจในการจับจ่ายของเราจะลดลงครับ
ถามว่าควรมีสักกี่บัญชี ผมขออย่างน้อยสัก 4 บัญชีครับ (ใครจะมีมากกว่านี้ ตามอัธยาศัยเลยครับ ตัวผมมีมากกว่า 10 บัญชี)
1) บัญชีเงินสำรองฉุกเฉิน
บัญชีนี้เป็นบัญชีกึ่งปิดตายครับ เข้าแล้วห้ามออก เอาไว้กันตาย เรื่องนี้ผมจะอธิบายอีกทีในโพสต์ต่อๆ ไปครับ
2) บัญชีเงินเก็บ เงินออม เงินลงทุน เงินสำหรับความมั่งคั่งในอนาคต
ตามชื่อเลยครับ เงินเก็บเรา แยกเป็นสัดส่วนชัดเจนไปเลย
3) บัญชีสำหรับค่าใช้จ่ายรายปี (หรือรายครึ่งปี ราย 3 เดือน ว่ากันไป)
บัญชีนี้เราเก็บเงินก้อนไว้จ่ายพวกค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ครับ เช่น ภาษี ประกัน ค่าซ่อมบำรุงรถยนต์ ฯลฯ เพื่อที่เวลาจะต้องจ่ายเงินก้อนจริงๆ จะได้ไม่ต้องหน้ามืดหมุนเงินไม่ทัน
4) บัญชีสำหรับใช้จ่ายทั่วไป
ค่าใช้จ่ายรายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือน เราหมุนเงินทุกอย่างในบัญชีนี้ได้เลยครับ
แค่แยกบัญชีแค่นี้ เงินเราก็จะมีระเบียบมากขึ้นแล้วครับ เราสามารถมองพฤติกรรมการใช้จ่ายเราได้มากขึ้น จัดเงินเป็นสัดเป็นส่วนป้องกันปัญหาในอนาคตได้ดีขึ้น ไม่ต้องควักเงินควักเนื้อหมุนเงินไม่ทันเหมือนที่เราเคยเห็นหลายๆ คนเป็นกัน
ขอให้มีสุขภาพการเงินที่ดีครับ
--------------------------------------------------------------
บริการฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย
• วางพื้นฐานความรู้ทางการเงิน
• แนะนำการเงินส่วนบุคคล
• ที่ปรึกษาการลงทุน
• ตัวแทนประกันชีวิต-สุขภาพ-โรคร้ายแรง
• วางแผนภาษี และวางแผนเกษียณ
"สุขภาพการเงินที่ดี นำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดี"
นพ.ศุภณัฐ โสภณอุดมสิน
- AFPT™ (Associate Financial Planner Thailand)
- IP (Investment Planner)
- ใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุน เลขที่ 119333
- ใบอนุญาตตัวแทนประกันชีวิต เลขที่ 6401051989
Facebook : การเงินย่อยง่ายกับหมอใช้
Blockdit : การเงินย่อยง่ายกับหมอใช้
Email :
suphanat.sphn@gmail.com
#การเงินย่อยง่ายกับหมอใช้ #drchaifinance #วางแผนการเงิน #ที่ปรึกษาการลงทุน #ประกันชีวิต #ประกันสุขภาพ #ประกันโรคร้าย
การเงิน
การลงทุน
พัฒนาตัวเอง
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย