30 ม.ค. 2023 เวลา 14:59 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์

The Face of Anne;

Review Part 2; (contain spoilers) คนที่ไม่ถูกเลือก คือคนที่ไม่มีความหมาย
มนุษย์มีสัญชาตญาณในเรื่อง self-optimization อยู่ในทุกคนเมื่อถูก ‘ล้อมรอบ’ ด้วยสังคมที่ให้ค่ากับ value factor ด้านใดด้านหนึ่ง
ในภาพยนต์เรื่องนี้มีหลายมุมมองที่เน้นการใช้ visual storytelling มากกว่าในการเล่าถึง value factor เหล่านั้น และหลายครั้งเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ทุกคนที่จะเข้าถึงได้
ถ้าจะยกว่าเป็นหนังที่สะท้อนการเมือง, การศึกษา, ภาวะโรคจิตเภท, หรือแม้แต่ beauty standard ก็จะสามารถเล่าถึง storytelling โดยผูกกับทุกหัวข้อที่กล่าวมาได้ ไม่ว่าผู้กำกับจะตั้งใจเล่าถึงจุดนั้น หรือผู้ชมตีความไปในหัวข้อนั้นเองก็ตาม
อาจจะเป็นทั้งจุดเอกลักษณ์หรือจุดอ่อนของภาพยนตร์ก็ได้ เมื่อ core message จำเป็นต้องตีความจากหลายๆ มุม มันอาจจะเป็นสิ่งที่ถนัดสำหรับนักวิจารณ์ แต่สำหรับคนดูทั่วไปนั้นมันไม่ใกล้เคียงกับความบันเทิงที่ตามหาเลย
สิ่งที่สามารถอธิบายได้ก็คงจะเป็น privilege blindness หรือการที่คนที่มี privilege จะมองไม่เห็นปัญหาที่ถูกแก้ไขไปเรียบร้อยโดยการเป็นเจ้าของ privilege นั้น และจะพยายามปฏิเสธการมีอยู่ของปัญหาเพื่อที่จะยังคงเก็บ privilege ไว้กับตัว
มันอาจเรียกว่าความเห็นแก่ตัวก็ได้ แต่ถ้าจะอธิบายตามหลัก self-optimization มันก็เป็นเพียงพฤติกรรมมนุษย์ตามปกติทั่วไป เพราะพวกเราจำเป็นต้องคงไว้ซึ่ง self esteem ที่จะยังคงอยู่ในสังคมต่อไปได้
.
พวกเราทุกคนสนใจเพียงแค่ว่าคนอื่นจะคิดยังไงกับตัวเอง
.
ในเนื้อเรื่อง ตัวละคร Anne ที่ถูกเลือกไม่มีท่าทีที่จะหันกลับมาดูคนที่เหลือ ส่วนคนที่ไร้ความหมายได้เพียงแต่ “เฝ้าดู” ท่ามกลางปัญหาที่ต้องกลับไปเผชิญหน้า ราวกับเป็นชีวิตประจำวันไปซะแล้ว
สภาวะลูปในเนื้อเรื่องสามารถตีความได้หลายประเด็น ทุกคนตีความต่างกัน แต่ที่มั่นใจได้แน่ๆ คือผู้กำกับคงไม่ได้คิดเยอะขนาดนั้นหรอก อย่างที่กล่าวในรีวิว Part 1 ว่าเป็นหนังที่ต้องใช้สมองส่วน System I มาก ต่อจากนี้จะเป็นเพียงการตีความลูปจากมุมมองของผู้เขียน
Loop storytelling ไม่ใช่เรื่องใหม่ในวงการภาพยนตร์ การนำวิธีเล่านี้มาใช้กับหนังที่สามารถตีความได้ตั้งแต่แรกว่าไม่ได้ตั้งอยู่ใน dimension 3+1 แบบปกติ (space + time) สามารถบ่งบอกถึงภาวะย้ำคิดย้ำทำ ภาวะอารมณ์ซึมเศร้า หรือภาวะ Truma แบบรวมๆ ก็ได้
สิ่งที่มีร่วมกันในภาวะที่กล่าวมาคือ การที่ไม่สามารถออกจากสภาวะนี้ได้จากแค่แรงผลักดันของจิตสำนึกอย่างเดียว เป็นการใช้ลูป while true ที่ไม่มีคำสั่งเบรก
การที่ผู้ชมจะสามารถตีความได้ผ่านมุมมองนี้จำเป็นต้องได้รับประสบการณ์ร่วมจากภาวะอารมณ์ที่กล่าวมา ส่วนคนที่ไม่เคยสัมผัสก็จะไม่ได้เห็นมุมมองนี้แบบชัดเจนเท่าที่ควร เป็น privilege blindness ทางประสมการณ์ร่วมจากการที่ไม่รับรู้ถึงสภาวะแบบนี้
#moviecouple
ป.ล. เป็น Scene ที่เห็นทำให้นึกถึง MV เพลง Start Again ของ FEVER
.
โฆษณา