Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
IPST Thailand
•
ติดตาม
31 ม.ค. 2023 เวลา 02:53 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
⚠️ Malware ภัยร้ายในยุคดิจิทัล
ไม่นานมานี้มีข่าวดังกรณี “สายชาร์จดูดเงิน” เป็นเหตุให้มีผู้เสียหายสูญเงินหลายแสน แท้จริงแล้วเกิดจากการถูกมิจฉาชีพหลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชันหาคู่ที่แฝง “มัลแวร์” ลงในโทรศัพท์มือถือ ทำให้มิจฉาชีพล่วงรู้ข้อมูลการทำธุรกรรมของเหยื่อ และควบคุมโทรศัพท์เพื่อสวมรอยทำธุรกรรมแล้วโอนเงินออกจากบัญชี ซึ่งไม่เกี่ยวกับเรื่องสายชาร์จดูดข้อมูลตามที่เป็นข่าวไปก่อนหน้านั้น ด้านแบงก์ชาติและสมาคมธนาคารไทยเตือนอย่าหลงกลมิจฉาชีพชวนโหลดแอปฯ ปลอม เพราะมันอาจมีมัลแวร์อันตรายแฝงอยู่
จากข่าวข้างต้น สิ่งที่น่ากลัวไม่ใช่ “สายชาร์จโทรศัพท์” แต่เป็น “มัลแวร์” ที่แฝงตัวอยู่ในแอปพลิเคชันปลอมต่างหาก วันนี้แอดมินจะพาทุกคนมาทำความรู้จักมัลแวร์และวิธีป้องกันกันภัยจากมัลแวร์เบื้องต้นกัน
มัลแวร์ (Malware) ย่อมาจากคำว่า Malicious Software คือ โปรแกรมที่เข้ามาในเครื่องคอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน หรือแท็บเล็ต เพื่อสร้างความเสียหายให้กับข้อมูลหรืออุปกรณ์ มัลแวร์มีหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะมีรูปแบบการโจมตีและสร้างความเสียหายแตกต่างกัน
ตัวอย่างประเภทของมัลแวร์
1) ไวรัส (Virus) >> แฝงตัวมากับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือไฟล์ เริ่มโจมตีได้เมื่อไฟล์ที่มีไวรัสถูกเปิดใช้งาน ไฟล์ในเครื่องที่ถูกโจมตีจะเกิดความเสียหายอย่างหนัก
2) สปายแวร์ (Spyware) >> เก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้หรือองค์กรแบบลับๆ (ขโมยข้อมูล) เพื่อส่งกลับไปยังแฮกเกอร์หรือนำไปขายต่อ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต รายละเอียดบัญชีซื้อของออนไลน์
3) โทรจัน (Trojan) >> เป็นเครื่องมือที่แฮกเกอร์ใช้ในการ "เปิดประตู" ให้ระบบ เพื่อการโจมตีขั้นถัดไป เช่น การเข้ามาล้วงข้อมูล แอบดูกิจกรรมการใช้งานคอมพิวเตอร์ หรือขโมยรหัสผ่าน
4) เวิร์ม (Worm) >> แพร่กระจายผ่านเครือข่ายด้วยการเจาะระบบผ่านช่องโหว่แล้วคัดลอกตัวเอง โดยหนอนไวรัสอาจขโมยข้อมูลที่ละเอียดอ่อน เปลี่ยนการตั้งค่าความปลอดภัย หรือความเสียหายอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับประเภทของหนอนไวรัสนั้น
5) รูทคิท (Rootkit) >> ติดตั้งตัวเองโดยอาศัยช่องโหว่ของระบบ เมื่อสำเร็จแล้วจะยากต่อการตรวจจับและลบทิ้ง เหยื่อจะไม่รู้ตัวว่ากำลังโดนโจมตีอยู่
6) แรนซัมแวร์ (Ransomware) >> ล็อคไฟล์ในเครื่องไม่ให้เข้าถึงได้ บังคับให้ผู้เสียหายจ่ายเงินเพื่อแลกกับรหัสปลดล็อคไฟล์
7) คีย์ล็อกเกอร์ (Keylogger) >> เน้นการดักจับข้อมูลการใช้งานคีย์บอร์ด เพื่อขโมยรหัสผ่านไปหาผลประโยชน์
ข้อแนะนำในการป้องกันมัลแวร์
1) อัปเดตคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ในเครื่องให้ทันสมัยอยู่เสมอ
2) ติดตั้งโปรแกรมป้องกันมัลแวร์ (Anti-malware) บนคอมพิวเตอร์
3) ควรทำการสแกนไวรัสทุกครั้งก่อนใช้งานอุปกรณ์เชื่อมต่อ เช่น แฟลชไดร์ฟ (USB)
4) ไม่คลิกลิงก์โฆษณาหรือหน้าต่าง pop-up บนเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ
5) ไม่ดาวน์โหลดโปรแกรมจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ
6) หลีกเลี่ยงการเปิดอีเมลและไม่ดาวน์โหลดไฟล์แนบที่ส่งมาจากอีเมลที่ไม่รู้จัก
เรียนรู้เรื่องมัลแวร์และการใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัยได้ที่
1) คลิปการสอนออนไลน์ Project 14 ของ สสวท. >>
https://youtu.be/D9LHgMzpbbA
2) หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยี ป.5 เรื่อง การใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัย
อ้างอิง
https://www.microsoft.com/.../security-101/what-is-malware
https://www.antivirus.in.th/tips/1245.html
#Malware #มัลแวร์ #ไวรัส #สปายแวร์ #โทรจัน #เวิร์ม #รูทคิท #แรนซัมแวร์ #คีย์ล็อกเกอร์ #เทคโนโลยี #การป้องกันมัลแวร์ #ยุคดิจิทัล
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย