Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
1 ก.พ. 2023 เวลา 12:19 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ญี่ปุ่นจะขึ้นได้ไหม ขึ้น(ดอกเบี้ย)ได้หรือเปล่า ?
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 4.3% จากปีก่อนหน้า
และปรับตัวสูงขึ้นติดต่อกันมา 8 เดือนแล้ว
ทำให้ในตอนนี้อัตราเงินเฟ้อญี่ปุ่นสูงสุดในรอบเกือบ 42 ปี
สร้างความกดดันต่อการตัดสินใจของธนาคารกลางว่าจะขึ้นดอกเบี้ยได้สักทีหรือไม่ ?
ในขณะที่ฝั่งรัฐบาลจะเริ่มใช้นโยบายอุดหนุนด้านพลังงานในเดือนกุมภาพันธ์
ซึ่งอาจจะช่วยให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงมาได้บ้าง
อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นก็จะยังคงสูงกว่ากรอบเป้าหมายของธนาคารกลางที่ 2% อยู่ดี
และเงินเฟ้อเหล่านี้ ก็จะถูกส่งผ่านไปให้ผู้บริโภคต้องมาแบกรับราคาสินค้าที่แพงขึ้น
โดยในตอนนี้สัญญาณของภาวะข้าวยากหมากแพงในญี่ปุ่นก็ไม่มีทีท่าว่าจะลดลง
ทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความกังวลใจว่า จะมีการปรับขึ้นของค่าจ้างมาชดเชยเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นได้เพียงพอหรือไม่
จากข้อมูลของบริษัท Teikoku Databank พบว่า ราคาอาหารมากกว่า 20,000 รายการได้ปรับตัวสูงขึ้นในปี 2022 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากราคาต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น
ในส่วนของราคาอาหารที่ไม่รวมอาหารประเภทเน่าเสียง่าย ปรับตัวขึ้นสูงสุดเมื่อเทียบเป็นรายปี
ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบกว่า 41 ปี และราคาสูงแซงหน้าช่วงที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจในช่วงปลายทศวรรษ 1980 และต้นทศวรรษ 1990
ดัชนีสำหรับอาหารที่ไม่รวมอาหารสดในข้อมูลเงินเฟ้อระดับประเทศเพิ่มขึ้น 6.8% ในเดือนพฤศจิกายน 2022 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า
ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 1981
ถึงแม้อัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
แต่เป้าหมายของธนาคารกลางญี่ปุ่น คือ การวางรากฐานระบบวัฏจักรที่ดีในระบบเศรษฐกิจ
ซึ่งหมายถึง ค่าแรงในประเทศควรเพิ่มขึ้นไปผลักดันรายได้ขององค์กรให้มากขึ้น ประชาชนมีรายได้มาจับจ่ายใช้สอย และผลักดันให้เงินเฟ้อมาจากฝั่งผู้บริโภค
แต่ในตอนนี้ การขึ้นค่าจ้างในประเทศก็ยังคงไม่ได้เป็นอย่างที่หวังไว้นัก
จากการสำรวจข้อมูลแรงงานของรัฐบาล พบว่า การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างรายปีอยู่ระหว่าง 1-2% ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา แต่ค่าจ้างที่แท้จริง(ค่าจ้างที่หักผลจากเงินเฟ้อ) ยังคงลดลงตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2022
และเมื่อค่าแรงไม่สัมพันธ์กับค่าครองชีพ ทำให้ตอนสิ้นเดือนตุลาคม สถาบันวิจัย Nomura ออกรายงานว่า ประชาชนชาวญี่ปุ่นกว่า 85.3% รู้สึกต้องแบกรับภาระจากการปรับขึ้นราคาอาหารและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ และต้องหันไปซื้อของในวันที่มีการลดราคาแทน
📌 แล้วธนาคารกลางญี่ปุ่นจะขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่ ?
จากตัวเลขเงินเฟ้อที่ออกมาล่าสุดทำให้ค่าเงินเยนและอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลชนิด 10 ปี ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น
ซึ่งเป็นผลสะท้อนมาจากการคาดการณ์ของตลาดว่า ธนาคารกลางจะเร่งลดการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในไม่ช้า
ในขณะที่ IMF ก็ออกมาแนะนำว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่นควรจะให้อัตราดอกเบี้ยผลตอบแทนพันธบัตรมีความยืดหยุ่นมากขึ้น และ เตรียมพร้อมสำหรับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะสั้นอย่างรวดเร็ว
ในกรณีหากเกิดความเสี่ยงเรื่องเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
อย่างไรก็ตาม IMF ยังคงให้ความเห็นว่า การใช้นโบายแบบผ่อนคลายของธนาคารกลางญี่ปุ่นนั้นก็ยังสมเหตุสมผลอยู่ จากการที่เงินเฟ้อจะสามารถลดลงอยู่ในกรอบ 2% ได้ภายในปี 2024
ยกเว้นว่าค่าแรงจะปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
IMF ยังให้ความเห็นว่า หากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวมีความยืดหยุ่นมากขึ้น จะสามารถช่วยหลีกเลี่ยงอัตราการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นอย่างกระทันหันได้ และจะสามารถช่วยจัดการกับความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ และ ผลกระทบจากการใช้นโยบายแบบผ่อนคลายอย่างยืดเยื้อ
แต่ IMF ก็เห็นว่า หากความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ธนาคารกลางญี่ปุ่น จะต้องยุติการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย และ หันมาเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในระยะสั้น เพื่อตรึงอัตราเงินเฟ้อให้กลับสู่เป้าหมาย 2%
อย่างไรก็ตาม IMF มองว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะสั้นไม่น่าจะเกิดขึ้นในเร็ว ๆ นี้
เพราะธนาคารกลางญี่ปุ่นจะขึ้นดอกเบี้ยก็ต่อเมื่อมีหลักฐานชัดเจนว่าค่าแรงในประเทศจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งการคาดการณ์ของ IMF ก็ไปสอดคล้องกับการออกมาเน้นย้ำของ Kuroda ผู้ว่าการแห่งธนาคารกลางญี่ปุ่นว่า จะยังคงใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย จนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะเปลี่ยนจากฝั่งต้นทุนมาเป็นเงินเฟ้อที่ถูกผลักดันโดยผู้บริโภค
ซึ่งประเด็นนี้ก็เป็นประเด็นที่น่าติดตาม ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นจะคงดอกเบี้ยต่ำไปอีกนานแค่ไหน
เพราะกว่าเงินเฟ้อจะเปลี่ยนจากฝั่งต้นทุน ไปยังฝั่งผู้บริโภคที่มีการใช้จ่ายอย่างแข็งแกร่ง
ประชาชนในประเทศจะต้องเจ็บปวดกับกับเงินเฟ้อ และ ค่าครองชีพที่แพงขึ้นไปอีกสักพัก
หากค่าแรงยังไม่สามารถปรับขึ้นตามได้ทัน
1
แต่ก็มีนักวิเคราะห์บางส่วนมองว่า ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่นคนใหม่
อาจไม่ใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเหมือนกับคุณ Kuroda ที่กำลังจะเกษียณในเดือน เมษายนนี้ ก็เป็นได้
ผู้เขียน : ณิศรา วาดี Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Website :
https://www.bnomics.co
Facebook :
https://www.facebook.com/Bnomics.co
Blockdit :
https://www.blockdit.com/bnomics
Line OA : @Bnomics
https://bit.ly/3eYkTJC
Youtube :
https://www.youtube.com/bnomics
Twitter :
https://twitter.com/bnomics_co
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
ญี่ปุ่น
เงินเยน
เศรษฐกิจญี่ปุ่น
3 บันทึก
7
3
3
7
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย