มิลเลส์เห็นพรสวรรค์ของพอตเตอร์จนถึงกับเอ่ยปากว่า “มีหลายคนวาดภาพได้ แต่เธอมีสิ่งที่แตกต่างไป นั่นคือความช่างสังเกต” พ่อเห็นว่าพอตเตอร์ชอบวาดภาพ แต่ก็ไม่เคยเรียนจริง ๆ จัง ๆ จึงส่งเธอไปเรียนศิลปะที่วิทยาลัยศิลปะแห่งชาติ (National Art Training School) ในกรุงลอนดอน ซึ่งปัจจุบันคือ ราชวิทยาลัยศิลปะ (the Royal College of Art)
นอกจากความผิดหวังเรื่องไลเคนแล้ว เส้นทางสายนักวิจัยของพอตเตอร์ก็ยังคงมีอุปสรรคขวากหนาม บทความวิจัยเรื่อง “On the germination of the spores of Agaricineae” ที่พอตเตอร์ส่งไปยังสมาคมลินเนียนแห่งกรุงลอนดอนในปี พ.ศ. 2440 ผ่านการพิจารณา แต่ด้วยความที่สมัยนั้นเป็นยุควิกตอเรียนที่ผู้หญิงไม่ได้เทียบเท่ากับผู้ชาย งานประชุมนี้ห้ามผู้หญิงเข้าร่วม
พอตเตอร์เองก็เห็นพ้องต้องกัน เลยเลือกจดหมายฉบับที่เธอเขียนส่งให้โนเอล ลูกชายของมอร์ เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2436 มาเป็นต้นแบบ พอตเตอร์แต่งเรื่องและวาดภาพประกอบเพิ่มจนได้ออกมาเป็น “เรื่องของปีเตอร์ แรบบิต (The Tale of Peter Rabbit)” แต่ยังไม่มีสำนักพิมพ์ใดตอบรับ เธอจึงตัดสินใจพิมพ์ขายเองเลยในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2444
ที่มาภาพ : Wikimedia Commons
The Tale of Peter Rabbit เวอร์ชันแรกที่พอตเตอร์พิมพ์ขายเองจำนวน 250 เล่มนั้น เป็นขาวดำ มีเฉพาะปกหน้าด้านในที่เป็นภาพสี ขายดีเกินความคาดหมาย แม้แต่เซอร์อาเทอร์ โคนัน ดอยล์ (Arthur Conan Doyle) ผู้เขียนเชอร์ล็อก โฮมส์ ก็ยังสั่งซื้อหนังสือของเธอ ในปีถัดมาระหว่างที่เธอเตรียมพิมพ์ลอตเล็ก ๆ เพิ่ม สำนักพิมพ์เฟรเดริก วอร์น แอนด์โค (Frederick Warne & Co.) สำนักพิมพ์ใหญ่ในอังกฤษที่เคยปฏิเสธพอตเตอร์มาแล้ว กลับมายื่นข้อเสนอให้พอตเตอร์วาดเป็นเวอร์ชันสี ทีแรกพอตเตอร์ไม่สนใจ
แต่สุดท้ายก็ตกลง The Tale of Peter Rabbit ที่จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์เฟรเดริก วอร์น แอนด์โค ออกวางจำหน่ายเป็นครั้งแรกในวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2445 ยอดขายกระฉูดถึง 50,000 เล่มในหนึ่งปี พอตเตอร์มีผลงานตีพิมพ์โดย สำนักพิมพ์เฟรเดริก วอร์น แอนด์โค ถึง 23 เรื่อง หลายเรื่องยังคงความอมตะมาจนทุกวันนี้ โดย The Tale of Peter Rabbit ติดหนึ่งในหนังสือขายดีตลอดกาล แปลมากกว่า 36 ภาษา ยอดจำหน่ายทั่วโลกกว่า 45 ล้านเล่ม
The Tale of Peter Rabbit เวอร์ชันแรกที่บีทริกซ์ พอตเตอร์ พิมพ์ขายเอง
The Tale of Peter Rabbit ที่จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์เฟรเดริก วอร์น แอนด์โค