3 ก.พ. 2023 เวลา 05:00 • หนังสือ

#การเขียนเค้าโครงเรื่องดีอย่างไร

เรามาหาคำตอบกันค่ะ
'โครงเรื่อง' เป็นการกำหนดแนวทางการเขียน การเรียบเรียงข้อมูล การจัดลำดับความคิด และการจัดลำดับหัวข้อ หลังจากที่เรารวบรวมข้อมูลมาแล้ว
การเขียนโครงเรื่องจึงเป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญในงานเขียน แต่ก็มิได้หมายความว่าผู้เขียนจะต้องเขียนตามโครงเรื่องที่วางไว้เสมอ เพราะเมื่อลงมือเขียนจริงอาจมีการปรับเปลี่ยนโครงได้ตามความเหมาะสม
นอกจากนี้การเขียนโครงเรื่องยังช่วยให้เราไม่สับสนเวลาเขียน หรือเขียนหัวข้อใดข้อหนึ่งยาวเกินไป และอาจจะลืมเขียนบางหัวข้อ
ดังนั้น การเขียนโครงเรื่องก่อนที่จะลงมือเขียนเนื้อหาอย่างจริงจัง จะทำให้งานเขียนมีความสมบูรณ์มากที่สุด และงานนั้นก็จะออกมาอย่างราบรื่นอีกด้วยค่าา
#ประโยชน์ของโครงเรื่อง💘
การเขียนโครงเรื่องมีประโยชน์ในการเขียนของเราอยู่หลายประการ ดังนี้ค่ะ
1. โครงเรื่องช่วยในการนำเสนอเนื้อหา 👍🏻
ทำให้ผู้เขียนเตรียมเนื้อหาได้อย่างเหมาะสมกับจุดมุ่งหมายในการเขียน รู้จักกำหนดขอบข่ายของเนื้อหา รวมทั้งช่วยให้เห็นแนวทางการเรียบเรียงความคิด ว่าควรจะใช้รูปแบบใด และมีเนื้อหาในประเด็นหรือหัวข้อใดที่เรายังไม่รู้ดีพอหรือยังหารายละเอียดไม่ได้ เราก็สามารถเตรียมความรู้เหล่านี้เพิ่มเติมได้อีก
2. โครงเรื่องช่วยแบ่งหัวข้อได้ชัดเจน 🧐
การแบ่งหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อยอย่างชัดเจน ทำให้ผู้เขียนสามารถจัดลำดับความสำคัญเพื่อเชื่อมโยงหัวข้อย่อยกับหัวข้อย่อย หัวข้อใหญ่กับหัวข้อย่อยได้ง่ายขึ้น
3. โครงเรื่องช่วยเขียนเรื่องอย่างมีเหตุผล 😊
ทำให้ผู้เขียนมองเห็นความสัมพันธ์ของประเด็นต่างๆ ในเนื้อหาจากโครงเรื่องได้ชัดเจน ว่ามีประเด็นหรือหัวข้อใดเกี่ยวข้องกันบ้าง และความคิดของประเด็นต่างๆ เหล่านั้นเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างไร จึงจะทำให้เนื้อหามีน้ำหนักและสมเหตุสมผล
4. โครงเรื่องช่วยในการวางสัดส่วนของเรื่องได้เหมาะสม 😍
โครงเรื่องช่วยให้ทราบว่าควรเขียนในประเด็นอะไรบ้าง มีประเด็นใดที่ไม่ควรเขียน หรือประเด็นใดควรนำความคิดหรือรายละเอียดมาสนับสนุนมากน้อยแค่ไหน จึงจะพอเหมาะกับความยาว ซึ่งจะช่วยให้สัดส่วนของเรื่องเหมาะสม
5. โครงเรื่องช่วยไม่ให้ลืมหัวข้อเรื่องที่จะเขียน 🥰
ในขณะเขียนเราอาจจะจดจ่อกับเรื่องที่เขียนจนลืมเขียนหัวข้ออื่นๆ ได้ แต่การเขียนโครงเรื่องจะช่วยเตือนความจำให้เราไม่ลืมเขียนหัวข้อนั้นๆ
6. โครงเรื่องช่วยไม่ให้สับสนเวลาเขียน 🤩
การเขียนโครงเรื่องก่อนลงมือเขียนเปรียบเสมือนการเขียนฉบับร่างของงานเขียน เมื่อลงมือเขียนจึงสามารถเขียนตามหัวข้อต่างๆ ที่ผู้เขียนได้วางโครงเรื่องไว้ทำให้ไม่เกิดความสับสนเวลาเขียน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://ajsurat.blogspot.com
โฆษณา