4 ก.พ. 2023 เวลา 02:43 • สุขภาพ

#EP02 มาเดากันซิว่า...แคลเซียมเสริมกระดูกมีเกลือทั้งหมดกี่ชนิด?

วันหนึ่ง...
'มีแคลเซียมตัวไหน...แนะนำในผู้ป่วยเสี่ยงโรคนิ่วบ้างครับ?'
'มีแคลเซียมตัวไหน...ดูดซึมได้ดีที่สุดเหรอคะ?'
เมื่อวันหนึ่งคุณได้รับคำถามเกี่ยวกับแคลเซียมเยอะมา จนไม่แน่ใจเช่นกันว่าเรารู้จักเจ้าตัวแคลเซียมเสริมมากแค่ไหน เดี๋ยวเรามาคุยกันค่ะ
แคลเซียม แคลเซียม แคลเซียม แร่ธาตุสำคัญที่ได้ยินกรอกหูมาตั้งแต่เด็กว่าเกี่ยวกับฟันและกระดูก แทรกอยู่ในผลิตภัณฑ์แทบทุกชนิด หรือมองแคบมาหน่อยคือสายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่วางขายตามร้านยา
ถึงจะเห็นมากมายละลานตา แต่แท้ที่จริง แคลเซียมเสริมถูกแบ่งได้ตามเกลือซึ่งมีปริมาณ Calcium element ต่างกัน ในตลาดมีสองประเภทหลักๆ ได้แก่
1️⃣ Calcium Carbonate
- Calcium element: 40%
- ข้อดี: ปริมาณแคลเซียมมากที่สุด ราคาถูกที่สุด
- ข้อเสีย: นำมาด้วยอาการข้างเคียงอย่าง 'ท้องผูก' หรือแก๊สในท้อง ไม่สบายท้อง มากที่สุด
- ตัวอย่าง: Calvin Plus 1500 (equiv to elemental Ca 600 mg) Caltrate Plus 1500 (equiv to elemental Ca 600 mg) Chalkcap 1000 mg (equiv to elemental Ca 400 mg)
2️⃣Calcium Citrate
- Calcium element: 21%
- ข้อดี: ดูดซึมได้ดีที่สุด ไม่จำเป็นต้องใช้กรดในกระเพาะเหมือนตัวอื่น (เหมาะกับคนสูงอายุซึ่งมีกรดในกระเพาะอาหารน้อย)
-ข้อเสีย: แพง มีปริมาณ Ca Element ต่ำต้องทานหลายครั้ง (น้อยกว่า carbonate ตั้งสองเท่า!)
- ตัวอย่าง: ยังไม่ค่อยมีผลิตภัณฑ์มากนัก
ที่มีอีกสองชนิดแต่ไม่ค่อยนิยมเนื่องจากปริมาณ Ca element ต่ำ ถึงแม้จะอยู่ในรูปที่ละลายได้ดีกว่า และอาจเป็นทางเลือกในคนที่ท้องผูกจาก
1️⃣ calcium lactate (13% elemental calcium)
2️⃣ calcium gluconate (9% elemental calcium)
มีอยู่ชนิดหนึ่งที่ชื่อแปลกๆ หน่อย ได้แก่
1️⃣ ossein-hydroxyapatite compound (Ossopan®) เป็นสารประกอบที่สร้างมาจากกระดูกของหมู (Bovine bone) ที่ประกอบด้วยแคลเซียมในรูป Calcium phosphate
- มีสองขนาด ได้แก่ 200 mg (มี calcium phosphate 100 mg ซึ่งหมายถึงมี Ca element ประมาณ 39 mg (39%)) และ 800 mg (มี calcium phosphate 400 mg ซึ่งหมายถึงมี Ca element ประมาณ 156 mg)
- ข้อดี: สารประกอบนี้นอกจากมีแคลเซียม ยังมีแร่ธาตุอื่นๆด้วย เช่น แมกนิเซียม ฟอสฟอรัส ฯลฯ และไม่ทำให้เกิดแก็ซ หรืออาการท้องผูก
- ข้อเสีย: แพง มีปริมาณแคลเซียมน้อยซึ่งต้องกินเยอะมาก จึงเหมาะกับเป็นผลิตภัณฑ์เสริมแร่ธาตุ ไม่ใช่การบำบัดรักษา
มีแคลเซียมในรูปเกลืออื่นที่นิยมใช้เพื่อการรักษาภาวะ Hyperphosphatemia ในคนไข้โรคไต ได้แก่
1️⃣ calcium acetate (25.3% elemental calcium) ซึ่งสามารถใช้สำหรับเสริมแคลเซียมได้เช่นกัน แต่อาจไม่นิยมเพราะ Ca element ต่ำ หรืออาจจะให้ในคนไข้ Renal failure เพื่อควบสอง Indication ไป
- ตัวอย่าง Calcetate tab 1000 mg (equiv to elemental Ca 253 mg) Calcetate-M tab 667 mg (equiv to elemental Ca 169 mg)
2️⃣ จริงๆ ใช้ Calcium carbonate ในภาวะ Hyperphosphatemia ด้วย ค่อนข้างนิยมเพราะถูกเลย แต่ต้องระวังคนไข้ Renal failure ที่มีระดับแคลเซียมสูง
มาสรุปกันหน่อย...
🔸ตัวแรกที่นิยมเลือกใช้ คือ Calcium carbonate เนื่องจากถูกและมี Ca element มากที่สุด ขนาดสูงสุดในตลาดตอนนี้คือ 1500 mg นั่นหมายถึงจะได้แคลเซียมสูงสุดอยู่ที่ 600 mg/ครั้ง นี่หมายถึงหากทานถูกเวลา และไม่ได้มีปัญหาอะไรในกระเพาะ แต่...
🔸ถ้าคนสูงอายุซึ่งมักมีภาวะกรดในกระเพาะอาหารต่ำ จะแนะนำ Calcium citrate ซึ่งดูดซึมได้ดีที่สุด ทานเวลาไหนก็ได้ แต่อาจต้องทานมากกว่า carbonate ซักสองเท่า
🔸ถ้าหากทาน Calcium แล้ว 'ท้องผูก' ทำตามสเตปนี้ก่อน ได้แก่ ดื่มน้ำเยอะๆ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินให้ทานกากใยเพิ่มขึ้น หากทำทั้งหมดแล้วไม่ดีขึ้น ให้ลองเปลี่ยนรูปแบบเกลืออื่น ไม่ว่าจะเป็นเกลือ Citrate Lactate หรือ Phosphate
🔸สำหรับ Calcium acetate จะแปลกเล็กน้อยตรงที่นิยมใช้รักษาภาวะ Hyperphosphatemia มากกว่า หรือใช้เสริมแคลเซียมในผู้ป่วยโรคไตไปเลย
🔸แคลเซียมทุกตัวระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคนิ่ว โดยหากจำเป็นต้องใช้ ก็ให้มีการติดตามระดับแคลเซียมกับคุณหมอเป็นระยะๆ บ่อยครั้งคุณหมออาจเห็นถึงประโยชน์ในการทานและรับความเสี่ยงโดยติดตามเป็นระยะได้ หรืออีกอย่างที่มีแนะนำได้เพื่อลดความเสี่ยง ได้แก่ ทานน้ำเยอะๆ ลดการทาน oxalate-rich foods เช่น spinach, rhubarb, rice bran, buckwheat, almonds และ miso
แคลเซียมตัวใหม่ล่าสุด
1️⃣ Calcium L-treonate เป็นยาที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่
- โดยให้เชื่อมต่อกับเกลือ L-Threonate ซึ่งเป็น active metabolite ของ vitamin C ประโยชน์ของเจ้าเกลือนี้คือมีรายงานว่าสามารถกระตุ้น vitamin C uptake และ prolongs the retention of vitamin C in human T-lymphoma cells ซึ่ง Vitamin ถือเป็น Marker ของการทำวานเซลล์สร้างกระดูกอย่าง Ostoblast และยังกระตุ้นการสังเคราะห์คอลลาเจนด้วย
- ถือเป็นประโยชน์สองเด้ง ทั้งให้แคลเซียม ทั้งเสริมสร้างกระดูก
- อย่างไรก็ตาม การศึกษาก็ยังไม่ได้มีเยอะมาก (เราเห็นอันเดียวเองเป็นการทดลองในเฟส 1 ซึ่งบอกได้ว่าเจ้าเกลือ l-threonate นั้นไม่ได้อันตราย ดูดซึมเร็วภายในสองชั่วโมง อาหารยิ่งเพิ่มการดูดซึม และขับออกได้อย่างรวดเร็วไม่สะสม
- และเรายังหาส่วนที่เคลมเรื่องดูดซึมแคลเซียมได้มากเกือบ 90% ไม่เจอ หรือไม่ทำให้ท้องผูกเป็นนิ่วด้วย ส่วนนี้ยังคงไม่มีความชัดเจน
💬 ทิ้งท้าย...ร่างกายในความอิ่มตัวในการดูดซึมแคลเซียมแต่ละครั้ง ประมาณ 500 mg เอง ดังนั้น ต่อให้กินครั้งหนึ่งเข้าไป 2000 mg ร่างกายก็เอาไปได้มากที่สุดประมาณ 500 mg อยู่ดี ดังนั้น หากอยากให้ร่างกายได้แคลเซียมมากขึ้น ให้แยกมื้อค่ะ
Ref:
2. สนี ดิษฐบรรจง. ภาวะแคลเซียมสูงในเลือด (Hypercalcemia). ภาควิชาอายรุศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์รพ.รามาธิบดี
3. salacrm01. 2564. ว่าด้วยเรื่อง CALCIUM. จาก https://www.salaosot.com/Blog/ว่าด้วยเรื่อง_calcium-blog.aspx
4. Pradeep Arora. 2021. Chronic Kidney Disease (CKD) Medication. from https://emedicine.medscape.com/article/238798-medication#2
5. Weill Medical College of Cornell University. Calcium Equivalents. from http://www-users.med.cornell.edu/~spon/picu/calc/cacalc.htm
6. Watto, M.F. & Williams, P. M. 2022. Kidney Stones: What Hurts and What Helps. from https://www.medscape.com/viewarticle/965489#vp_2
7. Wang HY, Hu P, Jiang J. Pharmacokinetics and safety of calcium L-threonate in healthy volunteers after single and multiple oral administrations. Acta Pharmacol Sin. 2011 Dec;32(12):1555-60. doi: 10.1038/aps.2011.138. Epub 2011 Oct 10. PMID: 21986570; PMCID: PMC4010217.
8. Manouchehr Saljoughian. 2015. Pros and Cons of Calcium Supplements. from https://www.uspharmacist.com/article/pros-and-cons-of-calcium-supplements
9. ถาม-ตอบเกี่ยวกับบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2551
โฆษณา