4 ก.พ. 2023 เวลา 04:40 • สุขภาพ

งีบกี่นาที มีผลดีต่อร่างกาย

มูลนิธิหมอชาวบ้าน เผยว่า การ “งีบ” เป็นวิธีที่ดีที่จะทำให้ร่างกายและสมองได้พักชั่วคราวเหมือนรีเซ็ตใหม่ เมื่อตื่นมาร่างกายจะรู้สึกสดชื่นอีกครั้ง แต่จะงีบอย่างไรไม่ให้หลับลึกและดีต่อร่างกาย วันนี้มีคำตอบ
1. 10 - 20 นาที
เป็นระยะเวลานอนที่เรียกว่าช่วง “Power nap” ช่วยเพิ่มพลังงาน และสร้างความสดชื่นให้กับร่างกาย เหมาะกับคนที่ต้องการตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกกระปรี้กระเปร่า กระฉับกระเฉง สมองปลอดโปร่ง หรือสามารถตื่นขึ้นมาทำกิจกรรมได้หลายอย่าง โดยไม่ค่อยเกิดอาการมึนงง
2. 30 นาที
การนอนช่วงระยะเวลาครึ่งชั่วโมง มักจะส่งผลไม่ค่อยดีต่อระบบร่างกาย ซึ่งนักวิจัยหลายท่านระบุไว้ว่า หากเรานอนในช่วงระยะเวลานี้ หลังจากตื่นขึ้นมาแล้ว จะมีอาการมึนงง ร่างกายยังคงง่วงอยู่ หรือบางคนอาจจะรู้สึกปวดหัวเล็กน้อยด้วย เพียงแค่เพิ่มขึ้นมา 10 นาทีเท่านั้น ก็เห็นผลที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน
3. 60 นาที
หากคุณเลือกนอนงีบสักประมาณ 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง จะช่วยส่งผลต่อระบบความจำของคุณหลังจากตื่นขึ้นมา ทำให้สามารถจดจำแหล่งข้อมูลต่างๆ ได้ดีขึ้น ทำให้สมองอยู่ในขั้น “slow-wave sleep” คือ หลับลึกในระดับหนึ่ง จนปล่อยให้เวลาผ่านไปประมาณ 30 นาที อาการเหล่านั้นจึงจะหายไป เหมาะสำหรับคนที่ทำงานหนัก หรืออ่านหนังสือสอบจนร่างกายอ่อนเพลีย
4. 90 นาที
ช่วงนี้เป็นระยะเวลาการนอนที่สมองและร่างกายได้พักผ่อนอย่างสมบูรณ์แบบ จึงทำให้เริ่มเข้าสู่ความฝัน สร้างความคิดและจินตนาการอย่างเต็มที่ หรืออยู่ในช่วง REM stage (Rapid Eye movement) หลังจากคุณตื่นขึ้นมาแล้วจะอารมณ์ดี และมีความทรงจำแม่นยำขึ้น การนอนในช่วงนี้เท่านั้น
1
จะช่วยทำให้คุณรู้สึกไม่ง่วงซึมหลังจากตื่นนอน ภาวะของการอดนอน หรือนอนหลับไม่เพียงพอ จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ และเกิดโรคร้ายแรงตามมาภายหลังได้ เราจึงต้องมีการนอนงีบระหว่างวันในช่วงระยะเวลาที่พอเหมาะ จะสามารถช่วยเพิ่มอารมณ์ ความตื่นตัว และประสิทธิภาพของการทำงานได้เป็นอย่างดี เคล็ดลับการนอนงีบที่ดีที่สุด
การนอนงีบในตอนกลางวันถึงแม้จะเพียงแค่ 10-20 นาที ก็สามารถช่วยให้คุณรู้สึกสดชื่นได้มากขึ้นเลยทีเดียว เพราะช่วงเวลานี้ จะช่วยทำให้ร่างกายของคุณกลับเข้าสูโหมดปกติได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการทำงานของระบบสมอง ความคิดสร้างสรรค์ และประโยชน์ด้านอื่นๆ อีกมากมาย
โฆษณา