4 ก.พ. 2023 เวลา 12:00 • ข่าว

สรุป ปมร้อน “ปลาหยก” ส่อล่มตั้งแต่ยังไม่เริ่ม!

เรียกได้ว่าเป็นปมร้อนต่อเนื่อง นับตั้งแต่มีข่าวการเตรียมเปิดตัว “ปลาหยก” หรือ Jade Perch ของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF โดยถูกตั้งคำถามว่า มันใช่ชนิดเดียวกันกับ “ปลาเก๋าหยก” หนึ่งในสัตว์น้ำที่อยู่ในบัญชี “ห้ามเพาะเลี้ยง” ตามประกาศกฎกระทรวงในปี 2564​ หรือไม่
2
โดยล่าสุด ก็ได้คำตอบชัดเจนแล้วว่า “เป็นชนิดเดียวกัน” ซึ่งเจ้าปลาหยก หรือ ปลาเก๋าหยก ถูกเปิดตัวอย่างเป็นทางการเรียบร้อยแล้วใน “งานเกษตรแฟร์ 2566” โดยมีการวางขายทั้งแบบปลาปรุงสุกและแบบเนื้อปลาสดให้นำกลับไปประกอบอาหารเอง ซึ่งผู้จัดเผยว่า การเปิดตัวครั้งนี้ถือเป็นที่แรกและที่เดียวในประเทศไทย
สำหรับการเปิดตัวปลาเก๋าหยกนั้น เปรมศักดิ์ วนัชสุนทร ผู้จัดการสูงสุดด้านงานวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จาก CPF ระบุว่า ต้องการผลักดันให้ปลาชนิดนี้เป็น “สัตว์น้ำเศรษฐกิจชนิดใหม่” ของไทย เนื่องจากเป็นปลาที่ได้รับความนิยมในทวีปเอเชีย และมีเริ่มมีการเพาะเลี้ยงไปแล้วในบางประเทศ เช่น เวียดนาม และ มาเลเซีย
5
รวมถึงต้องการให้เป็นทางเลือกของคนที่รักสุขภาพ เนื่องจากปลากเก๋าหยกเป็นปลาที่มีโปรตีนสูง มีคอลลาเจน ดีเอชเอ และโอเมก้ากา 3 มากกว่าปลาแซลมอนถึง 3 เท่า พร้อมกันนี้ยังเผยอีกด้วยว่า การเพาะเลี้ยงดังกล่าวเป็นการเลี้ยงในระบบปิดและได้รับการตรวจสอบจากกรมประมงเรียบร้อยแล้ว
2
🐟 CPF เปิดใจ ทำไมต้อง “ปลาหยก”​?
ในด้านโอกาสทางเศรษฐกิจของปลาเก๋าหยกนั้น “เปรมศักดิ์ วนัชสุนทร” ผู้จัดการสูงสุดด้านงานวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จาก CPF ระบุว่า แม้ว่าปลาเก๋าหยกจะเป็นปลาที่อยู่ในบัญชีสัตว์น้ำที่ห้ามเพาะเลี้ยงในราชอาณาจักร พ.ศ.2564 แต่ขณะเดียวกันก็เป็นปลาที่ใหม่ในแง่ของเศรษฐกิจ ทำให้มองเห็นโอกาสในการทำตลาดจากปลาดังกล่าว
4
ทางบริษัทเล็งเห็นจากความนิยมบริโภคในหลายพื้นที่ ทั้ง จีน ไต้หวัน ฮ่องกง มาเลเซีย ทำให้คุ้มค่าที่จะลงทุนทดลองเพาะพันธุ์ปลาดังกล่าว ซึ่งการจะเพาะเลี้ยงได้นั้น ต้องทำเรื่องไปยัง “กรมประมง” เพื่อขออนุมัติทดลองเพาะเลี้ยง โดยขั้นแรกมีการนำเข้ามาเพื่อทดลองเพาะเลี้ยงในบ่อที่เป็นระบบปิดและไม่มีการปล่อยน้ำออกไปข้างนอก เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาหลุดออกไปสู่ธรรมชาติ จึงจำเป็นต้องใช้น้ำแบบหมุนเวียนในฟาร์ม
แต่ทั้งนี้ ในกระบวนการทดลองเพาะพันธุ์พบว่า ตัวปลายังมีปัญหาอยู่ เช่น อ่อนแอ ป่วยง่าย ไม่แข็งแรง ทำให้เพาะพันธุ์ยาก แต่ถ้าหากสามารถศึกษาวิธีการเพาะพันธุ์ได้อย่างละเอียดแล้วก็เชื่อว่าจะเป็นสัตว์น้ำอีกหนึ่งชนิดที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรชาวไทย
1
🐟 กรมประมงยืนยัน แค่อนุมัติ “ศึกษาวิจัย”
2
หลังจากมีงานสัมมนา ปลาหยก วากิวแห่งสายน้ำ สัตว์เศรษฐกิจใหม่ของไทย อุดมด้วยโอเมก้า 3 ​เพื่อเปิดตัวปลาหยกในงานเกษตรแฟร์ 2566 ช่วงเช้าของวันที่ 3 ก.พ.66 พอตกเย็นในวันเดียวกัน “เฉลิมชัย สุวรรณรักษ์” อธิบดีกรมประมง ได้ออกมาชี้แจงถึงกรณีดังกล่าว โดยสรุปได้ดังนี้
2
- ปี 2561 บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ได้ขออนุญาตกรมประมงนำเข้าปลาเก๋าหยกเพื่อการศึกษาวิจัยการเพาะเลี้ยง
- หลังจากระยะทดลองได้ชำแหละปลาทั้งหมดเป็นเนื้อปลา เหลือเพียงพ่อแม่พันธุ์ จำนวน 40 คู่
1
- เมษายน 2565 CPF ขออนุญาตดำเนินการ “ศึกษาวิจัยการเพาะพันธุ์ การเลี้ยง และการตลาด” ผลิตภัณฑ์ปลา Jade perch ในระบบปิดน้ำหมุนเวียนเชิงพาณิชย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสัตว์น้ำเศรษฐกิจชนิดใหม่
3
- กรมประมงอนุญาตให้ศึกษาวิจัยดังกล่าว โดยผ่านมติของคณะกรรมการด้านความหลากหลายและด้านความปลอดภัยทางชีวภาพของกรมประมง (IBC) ซึ่งต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข คือ “เพื่อการศึกษาวิจัย”​และ ต้อง “ดำเนินการในพื้นที่ที่กรมประมงอนุญาต” เท่านั้น รวมถึง “ห้ามเคลื่อนย้ายปลามีชีวิตออกจากบริเวณที่อนุญาตโดยเด็ดขาด”
1
- สำหรับการเก็บเกี่ยวผลผลิตจากการทดลองฯ กรมประมงอนุญาตให้จำหน่ายเป็นผลผลิตที่ไม่มีชีวิตเท่านั้น เช่น ปลาแช่แข็ง รวมถึงจำหน่ายในช่องทางของบริษัทในเครือตามที่บริษัทเสนอแผนการศึกษามาเท่านั้น เช่น ซีพีเฟรชมาร์ท โลตัส แม็คโคร
4
ที่สำคัญ คือ การดำเนินการศึกษาวิจัยต้องรายงานให้กรมประมงรับทราบทุกขั้นตอน ตลอดจนต้องส่งผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์แก่กรมประมง
3
🐟 ข้อกังวลผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
แม้ว่าทางผู้ประกอบการยืนยันว่ามีการขออนุญาตทดลองเพาะเลี้ยง? มีใบอนุญาต และได้รับการตรวจสอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามระยะเวลาที่กำหนด แต่ก็ยังมีบางภาคส่วนที่กังวลว่าหากเกิดข้อผิดพลาดมีปลาหลุดเข้าสู่แหล่งน้ำธรรมชาติแล้วอาจจะเกิดปัญหาตามมาได้
4
"วินิจ ตันสกุล" นักวิชาการอิสระด้านพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ปรึกษาสมาคมส่งเสริมกิจการประมงไทย เปิดเผยกับกรุงเทพธุรกิจออนไลน์ว่า แม้ปลาเก๋าหยกจะเข้ามาในไทยโดยถูกกฎหมาย แต่ก็ยังไม่พบข้อมูลที่ชัดเจนว่าหากหลุดไปสู่ธรรมชาติจะสร้างผลเสียแก่สิ่งแวดล้อมตามที่หลายฝ่ายกังวลหรือไม่
2
เนื่องจากเป็นปลาที่เลี้ยงเฉพาะในฟาร์มแบบปิดเท่านั้น จึงไม่สามารถหาตัวอย่างปลาที่อยู่ตามธรรมชาติมาทำการศึกษาโดยการผ่าท้องดูได้ว่าหากพวกมันหลุดไปสู่ธรรมชาติแล้วพวกมันจะกินอะไรบ้าง เนื่องจากปลาเก๋าหยกแม้ว่าจะไม่ใช่ปลานักล่าแต่ก็เป็นปลาที่กินเยอะดังนั้นอาจจะเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำและพืชน้ำได้ แต่ก็เป็นเพียงข้อสังเกตเท่านั้น
3
โฆษณา