4 ก.พ. 2023 เวลา 13:00 • ท่องเที่ยว

วัดอินทาราม

วัดนี้ไม่ปรากฏว่าผู้ใดสร้างและสร้างมาแต่ครั้งใด เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงตั้งเมืองธนบุรีเป็นเมืองหลวง ทรงพอพระราชหฤทัยวัดนี้ และทรงบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ และสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง ชั้นเอกพิเศษ ใช้เป็นที่ประกอบพระราชกุศลอย่างใหญ่ ๆ หลายครั้ง
เนื่องด้วยวัดนี้มีความสงบวิเวก เหมาะแก่การประพฤติปฏิบัติธรรม ที่สำคัญทรงถวายพระเพลิงพระบรมศพพระราชนนี (พระมารดาของพระองค์) ณ วัดอินทาราม ครั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จสวรรคตในปี 2325 ก็ได้มีการนำพระศพมาฝั่งไว้ที่วัดอินทารามแห่งนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าเสวยราชสมบัติแล้ว และทรงรับวัดอินทารามไว้เป็พระอารามหลวง
ต่อมาถึงสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วัดอินทารามได้ทรุดโทรมเพราะขาดผู้ทำนุบำรุงดูแล ก็ได้มีพระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) ต้นตระกูล “ศรีเพ็ญ” มาปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่อีกครั้งเสร็จแล้วทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และให้เป็นอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร
พระอุโบสถหลังใหม่ เป็นที่ประดิษฐาน "พระพุทธชินวร" พระประธานของวัด ปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย ซึ่งพระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) ได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดเมื่อครั้นบูรณปฏิสังขรณ์วัดใหม่
พระอุโบสถหลังเดิม สร้างขึ้นด้วยศิลปะแบบธนบุรี แต่เดิมไม่มีหน้าต่างภายใน พระพุทธรูปฉลองพระองค์ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นพระประธานภายในพระอุโบสถหลังเดิม ปางตรัสรู้ ภายในองค์พระประดิษฐานพระบรมราชสรีรังคารของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
พระเจดีย์ประดิษฐานพระบรมอัฐิของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และพระอัครมเหสีของพระองค์ มีจุดสังเกตคือ เจดีย์ที่มียอดเป็นลักษณะบัวกลุ่มเถา 7 ชั้น เป็นเจดีย์ที่บรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ส่วนเจดีย์องค์ถัดไปที่มียอดลักษณะเป็นปล้องไฉน 13 ปล้อง เป็นเจดีย์ที่บรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จกรมหลวงบาทบริจา (พระนางสอน) ผู้เป็นพระอัครมเหสีของพระองค์ นี่คือไฮไลท์อย่างแรกเลยที่น่าสนใจสำหรับเด็กฝั่งธนฯ
ส่วนไฮไลท์ที่ 2 ที่เราประทับใจ ไปกี่ครั้งก็ต้องแวะ จะเป็นศาลารายสี่องค์ เป็นโบสถ์มหาอุตม์ คือเป็นกุฏิพุทธอนุสรณ์ รวม 4 กุฏิ และมีเจดีย์ 3 องค์ คั่นอยู่ระหว่างกุฏิ
กุฏิแรก มีลักษณะเป็นรูปหีบพระศพพระพุทธองค์ ขณะยื่นพระบาทออกมาให้พระมหากัสสปะได้นมัสการ ส่วนกุฏิหัวและท้ายประดิษฐานพระปางไสยาสน์ขนาดเท่าพระพุทธองค์ ยาว 4 เมตร 48 เซนต์ ส่วนกุฏิสุดท้ายจะมีพระองค์เล็กๆ มีบันไดแดงเล็กๆ สามารถขึ้นไปยืนชมใกล้ๆได้ หรือถวายดอกไม้
1
กุฏิทั้ง 4 มีลักษณะ มีประตูทางเข้าบานเดียวเท่านั้น แต่ไม่มีหน้าต่าง ทางวัดเปิดให้เข้าชมได้ทุกวัน เป็นศาลารายที่ไม่กว้างใหญ่เท่าใด บันไดขึ้นไปค่อนข้างชันเอาเรื่อง ถึบแม้จะไม่กี่คั่น ส่วนภาพจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงาม ค่อนข้างเริ่มลางเลือน ปูนภายในก็มีลักษณะผุกร่อนตามกาลเวลา ค่อนข้างโทรมเลยที่เดียว ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเสียดายมากสำหรับคนรุ่นหลังรุ่นต่อไป ที่ไม่แน่ใจว่าจะได้ชมกันอีกต่อไปหรือเปล่า อันนี้ความคิดเราอ่าน่ะ
ลักษณะประตูกุฏิทั้ง 4
ก็จะประมาณนี้ รูปอาจเยอะนิดหนึ่ง เพราะเราไปมาหลายรอบอยู่สำหรับวัดนี้ ก็หวังจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจของฝั่งธนฯ ให้คนมาเยี่ยมเยือน ส่วนครั้งต่อไปเราจะมาแชร์เรื่องการฉีดเข็ม 6 ไฟเซอร์ แบบครึ่งโดส คั่นนิดหนึ่ง ต้อนรับการเปิดประเทศอย่างเป็นทางการ กันการเบื่อวัด5555 สุดท้ายขออัปเดตว่าตอนนี้เหลือแค่ 3 วัดสำหรับทริปนี้ คือ วัดเวฯ วัดโพธินิมิตรฯ และวัดนาคปรก สรุปวัดอินทารามวรวิหารเป็นวัดที่ 6 แล้วสำหรับการเดินทางครั้งนี้ ใกล้จบล่ะ
อ้างอิง
โฆษณา