Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
•
ติดตาม
6 ก.พ. 2023 เวลา 05:00 • สิ่งแวดล้อม
การสื่อสารของช้างป่า สามารถส่งเสียงหัวเราะหรือแสดงความยินดีให้กันได้
ช้างป่าเป็นสัตว์สังคม และมีการสื่อสารกันได้หลายวิธี ทั้งการใช้งวงสัมผัสตัวกัน การส่งเสียง และการรับแรงสั่นสะเทือนโดยประสาทสัมผัสที่เท้า เป็นต้น ช้างป่าสามารถ สื่อสารกันด้วยเสียงผ่านระยะทางไกลได้มากกว่า 10 กิโลเมตร เป็นคลื่นเสียงที่มีความถี่ต่ำกว่าความถี่เสียงที่มนุษย์ได้ยิน เสียงของช้างป่าแต่ละแบบจะแสดงการสื่อสารหลายชนิด เช่น
"โฮก"... เสียงเรียกสมาชิกในฝูงมารวมกัน มักส่งเสียงในช่วงก่อนออกเดินทาง หากิน ขณะกําลังหากิน และขณะจะเดินกลับที่พัก
1
"แปร๋น"... เสียงแสดงอาการตกใจ มีหลายระดับความดัง และมีพฤติกรรมติดตาม ด้วยการหนีหรือการเข้าทําร้าย
"แอ๋งๆ".. เสียงแสดงอาการหงุดหงิดรําคาญ มักมีพฤติกรรมการส่ายหัวและ โยกตัวพร้อมกันไปด้วย
ก้นเอง
"เอ๊ก-เอ๊ก".. เป็นเสียงแสดงความยินดีหรือเป็นเสียงหัวเราะที่ช้างใช้สื่อสาร
เสียงต่ำพร้อมแสดงปลายงวงแตะพื้นดิน แสดงว่ากําลังพบกับอันตราย!!!
สำหรับการไล่แมลงและอาการคันของช้างป่า ช้างป่าจะไล่แมลงที่มารบกวนโดยใช้หางปัด และใช้งวงเป่าลมเพื่อไล่แมลง แต่หากแมลงมีจํานวนมาก มักใช้กิ่งไม้ปัดไล่บริเวณลําตัวในส่วนที่หางและงวงปัดไม่ถึง เช่น สีข้าง ท้ายทอย หลัง ท้อง อาจใช้งวง สาดฝุ่น พ่นโคลนหรือน้ำ เพื่อไล่แมลงแทน หรือถูบริเวณที่คันกับต้นไม้ หรือเสาไฟฟ้าโดยเฉพาะบริเวณสีข้าง ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้ต้นไม้ขนาดใหญ่หรือเสาไฟฟ้าหักโค่นล้มหรือเอน
อ้างอิง: คู่มือ การติดตามและผลักดันช้างป่า. สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2558
ที่มา : กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า Wildlife Research Division
#ช้างป่า #กรมอุทยาน #กรมอุทยานแห่งชาติ #การสื่อสารของช้างป่า #dnp #prdnp
เรื่องเล่า
สิ่งแวดล้อม
สื่อทางเลือก
บันทึก
4
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ช้าง สัตว์บกที่ใหญ่ที่สุดในโลก
4
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย