5 ก.พ. 2023 เวลา 06:28 • ท่องเที่ยว

ไหว้พระขอพร ชมวังหิ่งห้อยแลนด์มาร์คท่องเที่ยวสุพรรณบุรี สายมูต้องไม่ควรพลาด

เนื่องในวันหยุดสุดสัปดาห์แบบนี้ หลายท่านคงยังไม่มีแพลนการไปท่องเที่ยวไหน อาจจะด้วยความเหนื่อยล้าจากการทำงานมาทั้งสัปดาห์ หรือ ไม่อยากเดินทางท่องเที่ยวอะไรที่ไกลๆ จากพื้นที่ตัวเองมากนัก วันนี้เราจะมาแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดสุพรรณบุรี
แหล่งท่องเที่ยวภาคกลางที่มีสถานที่ท่องเที่ยว มากมายที่โด่งดังมากมาย ไม่ว่าจะวัดวาอารามต่างๆ รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวตลาดน้ำต่างๆ หรือ สวนสัตว์ มีบึงพักผ่อนขนาดใหญ่ก็มี แต่ที่เราจะแนะนำในวันนี้ถือเป็น UNSEEN New Series แห่งใหม่เลยก็ว่าได้ที่พิกัดที่นี้คือ วัดพระสังกัจจายน์องค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เนื้อโลหะหน้าตักกว้าง 9 เมตร สูง 10 เมตร ซึ่งมีความเป็นมาตามคำบอกเล่าของท่านพระครูสิริกิตติคุณ เจ้าอาวาสวัดสังฆจายเถร เจ้าคณะตำบลสระแก้ว อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
เอาไว้ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้ปิดทอง ซึ่งตามประวัติดั่งเดิมสมัยก่อนมีคนจีนมาทำนาและได้ขุดพบพระสังกัจจายน์ในบริเวณลานวัดแห่งนี้ จึงตั้งชื่อว่าวัดสังฆจายเถร ซึ่งเดิมชาวบ้านเรียกชื่อว่าวัดวังฆ้อง ตามชื่อหมู่บ้านว่าเป็นหมู่บ้านวังฆ้อง แต่เมื่อขุดพบพระสังกัจจายน์ สมัยกรุงศรีอยุธยาขึ้นมา จึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นวัดสังฆจายเถรสำหรับที่วัดพระสังกัจจายน์ ยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้กราบไหว้ ขอพรกันอีกมากมายหลายจุด
เช่นรูปปั้นเหล่าเทวดา ท้าวเวสสุวรรณ เจ้าแม่กวนอิม และยักษ์ จัดว่าสวยงามคนที่ชอบถ่ายรูปคงไม่พลาดเดินมาที่วิหารหลังนี้ที่อยู่ใกล้ๆ กัน มีลวดลายปูนปั้นทาด้วยสีทองสลับเงินดูละเอียดมาก ข้างในประดิษฐานองค์พระพุทธนฤมิต (หลวงพ่อดำ) ที่ร่ำลือกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มาก ข้างกันเป็นรอยพระพุทธบาทจำลอง มีศิลปะยักษ์ พร้อมกันนี้ยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกมากมายให้ได้กราบไหว้กัน
ที่สำคัญนอกจากนี้ ยังมีแหล่งท่องเที่ยวยามค่ำคืนอีกที่ ที่ต้องไม่พลาดเลย เพราะถือว่าเป็นแหล่งชมหิ่งห้อยที่เยอะที่สุดในตอนนี้เลยก็ว่าได้ สามารถเรียกได้เลยว่าเป็นวังหิ่งห้อยนั้นคือ แม่น้ำท่าว้า
โดยภายหลังจากเมื่อวันที่อาทิตย์ที่ 8 มกราคม 2566 ทางด้าน ดร.อุดม โปร่งฟ้า พร้อมด้วย ดร.สุจิตรา ทรงมัจฉาที่ ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบสถานที่เพื่อทำการพัฒนานั้น พบว่าที่แม่น้ำท่าหว้า ตำบลสวนแตง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ถือเป็นแม่น้ำสายเก่าแก่และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ซึ่งแต่ก่อนนั้นแม่น้ำท่าว้า ได้รับผลกระทบจากการปล่อยของเสียจากฟาร์มสุกรที่ชาวบ้านได้เลี้ยงไว้ในละแวกใกล้เคียง เป็นสาเหตุหลักทำให้น้ำเน่าเสีย
แต่ปัจจุบันได้มีหน่วยงานเข้าไปพัฒนาให้ความรู้การกำจัดของเสียแก่ชาวบ้านที่เลี้ยงฟาร์มสุกร แนะนำแนวทางการกำจัดของเสียจนปัจจุบันไม่ได้ทิ้งน้ำเสียลงแม่น้ำแล้ว จึงทำให้แม่น้ำท่าว้ามีสภาพใสสะอาดขึ้นดีขึ้นมาก ทางกรมเจ้าท่าได้เข้าขุดลอกเพื่อคืนชีวิตคืนสภาพระบบนิเวศที่สมบูรณ์ให้แก่แม่น้ำท่าว้า และคาดหวังว่าจะสามารถพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในอนาคตต่อไปได้
จนปัจจุบัน แม่น้ำท่าว้า ใสสะอาดไร้มลพิษ ทำมีหิ่งห้อยมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งหากจะเปรียบเสมือน ก็จะคล้ายคลึงกับที่อัมพวา จังหวัดสุมทรสงคราม แต่ที่นี้แม่น้ำท่าว้าแห่งนี้ มีระบบนิเวศที่สมบูรณ์มากกว่าและมีหิ่งห้อยออกมาให้เห็นเป็นจำนวนมาก แตกต่างจากหิ่งห้อยที่อัมพวาซึ่งตอนนี้แทบจะไม่มีหิ่งห้อยให้เห็นแล้วนั้น ดังนั้นที่แม่น้ำท่าว้า จังหวัดสุพรรณบุรีจึง
ควรค่าแก่การอนุรักษ์ยิ่งนัก จึงขอเชิญ นักท่องเที่ยวทุกท่านมาดูหิ่งห้อย ที่ถือว่าเป็น UNSEEN แห่งใหม่ของจังหวัดสุพรรณบุรีเลยก็ได้ ซึ่งการันตีตลอดระยะทาง ระยะทาง 1 กิโลเมตรกว่าๆ ท่านจะพบหิ่งห้อย 4 ละเมาะ ตีว่ามากมายเลยจริงๆ ภายหลังจากการลงพื้นที่ไปพบว่ามีอยู่เป็นจำนวนมากจริงๆ และจะเร่งทำการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวต่อไปในอนาคต
ทั้งนี้ดร.อุดม โปร่งฟ้า กล่าวว่า นับตั้งแต่นาทีนี้เป็นต้นไป ตนเชื่อมั่นว่าคนไทยทั้งประเทศและคนทั้งโลก จะหันมามอง อำเภอสวนแตง จังหวัดสุพรรณบุรี ในฐานะแหล่งท่องเที่ยวเชิงระบบนิเวศที่มีความสมบูรณ์มีความสวยงามทางธรรมชาติที่สร้างสรรค์มาให้มนุษย์ ทั้งนี้ ต้องได้รับความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนเจ้าของพื้นที่ ที่จะเป็นผู้ได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยว และเสียประโยชน์ ก็คือต้องเสียสละ
เพราะเป็นเรื่องของธรรมชาติของระบบนิเวศ ดังนั้น ความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนที่เคยเป็นอยู่มาอย่างไรก็แล้วแต่ คำว่า นิเวศ ไม่สามารถที่จะพัฒนาไปสู่ความเจริญแบบที่จะเป็นได้ เพราะบางจุดบางพื้นที่ที่พบมวลหิ่งห้อยในระยะทางประมาณ 1.5 กม. ของเส้นทางการล่องเรือ จะต้องเป็นระบบที่เราจะต้องรักษาระบบนิเวศของเขาไว้
จึงขอพี่น้องประชาชนมีความเข้าใจมีความเสียสละ “ในฐานะที่ตนเป็นตัวตั้งตัวตี เป็นผู้ริเริ่มที่จะทำเศรษฐกิจของภาพรวมของจังหวัดสุพรรณบุรีทั้งหมดในภาคกลางคืนฟื้นคืนกลับมาโดยเร็ว ทำพื้นที่ ต.สวนแตง ให้เป็นแหล่งดึงดูดเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ของจังหวัดสุพรรณบุรีให้ได้” ส่วนทางด้าน นายปริญญา เขมะชิต รอง ผวจ.สุพรรณบุรี กล่าวว่า ความคิดริเริ่มของ ดร.อุดม จะสำเร็จได้ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ดีของประเทศไทยต่อไปในอนาค ตนเชื่อมั่นว่าเป็นไปได้แน่นอน.
ทั้งนี้จากการลงพื้นที่แม่น้ำท่าว้าเที่ยวชมดูหิ่งห้อย ได้มีการบันทึกภาพความสวยงามนี้มาให้ทุกท่านได้เห็นกันก่อน ตามลิงค์นี้ https://fb.watch/in1eTCETPE
และอยากจะขอเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวทุกท่านได้ลองไปพิสูจน์และสัมผัสด้วยตาของท่านเองได้ที่ แม่น้ำท่าว้าจังหวัดสุพรรณบุรี
โฆษณา