Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
DoctorWantTime
•
ติดตาม
6 ก.พ. 2023 เวลา 02:31 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ทางเลือกในการย้าย PVD ไป RMF เมื่อออกจากงาน
เรามีทางเลือกอะไรบ้าง ถ้าเราออกจากงาน โดยที่ยังไม่เข้าเงื่อนไขการนำเงินออกจาก PVD โดยไม่เสียภาษี มาอ่านกัน...
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund (PVD) นั้นถือเป็นสวัสดิการที่ดีอย่างหนึ่งที่นายจ้างมีให้กับมนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ โดยเงินที่เราได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะมี 4 ส่วน แบบนี้...
1. เงินสะสม เงินที่เราถูกหักจากเงินเดือนของเราทุกเดือนเข้าไปอยู่ในกอง PVD
2. ผลประโยชน์ของของเงินสะสม คือ กำไรที่งอกเงยขึ้นมาจากเงินต้นในส่วน “เงินสะสม”
3. เงินสมทบ คือ เงินที่นายจ้างจ่ายสมทบเข้ามาเติมให้เราทุกเดือน
4. ผลประโยชน์ของเงินสมทบ คือ กำไรที่งอกเงยขึ้นมากจากเงินต้น ในส่วนของ “เงินสมทบ”
ซึ่งเวลาที่เราได้รับใบ PVD ที่เขาส่งมาให้เราดูจะเห็นแยกเป็น 4 ส่วนแบบนี้ชัดเจน
ซึ่งเงินทั้ง 4 ส่วนเหล่านี้ จะได้รับยกเว้นภาษี ถ้าเป็นการออกจาก PVD ด้วย 2 ลักษณะนี้เท่านั้น
1. ออกจากกอง PVD และออกงานโดยมีอายุ ≥ 55 ปี บริบูรณ์ และต้องเป็นสมาชิกกองทุนมา ≥ 5 ปี
2. เสียชีวิต/ ทุพพลภาพ
ถ้าไม่ใช่กรณีที่บอกข้างบน จะต้องเสียภาษี โดยรายได้ที่นำมาคำนวณภาษีนั้น จะนำมาจากเงินใน 3 ส่วนคือ ผลประโยชน์ของเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินสมทบนะ โดยที่เงินสะสมของเราเองที่ได้รับคืนมา หรือเงินในส่วนแรกไม่ต้องนำมาคิดภาษี
เมื่อลาออกจากงาน และไม่ได้มีความจำเป็นต้องใช้เงิน ไม่อยากเสียภาษีเงินที่นำออกมาจาก PVD จะมีทางเลือก
- ขอคงเงินกองทุนไว้ก่อนเพื่อนับอายุต่อไป ทั้งเราและนายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินเข้าไปในกอง PVD เพิ่มเติม แต่จะมีค่าธรรมเนียมคงเงิน ปีละ 500 บ.
- โอนย้ายไป PVD ที่ใหม่ ถ้าที่ทำงานใหม่มี PVD
- โอนย้ายเข้าไปในกอง RMF for PVD ได้ ซึ่งจะได้นับอายุต่อโดยไม่ต้องลงทุนเพิ่ม เงินที่โอนย้ายจาก PVD ไป RMF ไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้นะ และต้องเป็น RMF ที่ “รองรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ" ซึ่งตอนนี้ก็มีหลากหลาย บลจ. หลากหลายสินทรัพย์และนโยบายลงทุน
การโอน PVD ไป RMF
- เลือกสินทรัพย์ที่ต้องการลงทุน ตามความเสี่ยงที่เรายอมรับได้ และผลตอบแทนที่คาดของเรา
- ดูว่ามีของ บลจ. ไหนบ้างที่มี RMF for PVD ที่เราต้องการ
- ดูเทียบผลการดำเนินงาน ค่าธรรมเนียม ลองนำของแต่ละ บลจ. มาเทียบกัน
- เปิดบัญชีกองทุนรวม RMF for PVD กับ บลจ. ที่เราเลือกไว้ ซึ่งจะเป้นบัญชีกองทุนแยกต่างหากจาก RMF ปกติ
- ติดต่อ PVD เดิม เพื่อขอโอนไปย้ง RMF for PVD ที่ต้องการ
PVD นั้นถือเป็นสวัสดิการที่ดี เพราะทำให้เรามีวินัยในการออม นายจ้างช่วยเราออมเพิ่มด้วย เหมือนได้เงินเดือนเพิ่ม แถมลดหย่อนภาษีได้ และเราก็ควรศึกษาเรื่องเงื่อนไข ติดตามผลประโยชน์ รวมถึงเรามีทางเลือกอะไรบ้างถ้าออกจาก PVD หรือออกจากงานด้วยนะ
หมอยุ่งอยากมีเวลา พูดคุยเรื่องหุ้นและกองทุน เข้าใจง่าย ใช้ได้จริง
ติดตามความรู้ทางการเงินแบบเข้าใจง่าย
ในช่องทางอื่นๆ ได้ที่
📌www.doctorwanttime.com
📌www.youtube.com/@doctorwanttime
📌www.facebook.com/doctorwanttime
#หมอยุ่งอยากมีเวลา
#กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
#ภาษี
#PVD
#ออกจากงาน
#ออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
#rmfforpvd
#RMF
#กองทุนรวม
ภาษี
กองทุนรวม
มนุษย์เงินเดือน
1 บันทึก
4
2
1
4
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย