6 ก.พ. 2023 เวลา 06:37 • สุขภาพ

Karoshi syndrome หรือที่ญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลีใต้ เรียกว่าทำงานจนตาย

ทั้ง 3 ประเทศนี้มีเกณฑ์วินิจฉัยด้วยนะ
ตัวอย่างเช่น ของไต้หวัน ปี 2010
เกณฑ์ในด้านเวลาการทำงาน (overwork criteria: working hours) คือ
1.มีการทำงานเต็มที่ 84 ชั่วโมง ทุกสองสัปดาห์
มี OT และ
1.OT 92 ชั่วโมงหรือมากกว่าในช่วงหนึ่งเดือนก่อนเกิดเหตุ
2. OT เฉลี่ย 72 ชั่วโมงหรือมากกว่า ต่อเดือนระหว่าง 2-6 เดือนก่อนเกิดเหตุ
3. OT เฉลี่ย 37 ชั่วโมงหรือมากกว่าต่อเดือนระหว่างหกเดือนที่ผ่านมาก่อนเกิดเหตุ
นอกจากนี้ยังมีเกณฑ์ทางด้านจิตใจ ซึ่งจะใช้เครื่องมือวัด 3 แบบ คือ
1. เหตุการณ์ผิดปกติ: เหตุการณ์ซึ่งทำให้เกิดความเครีดยทางจิตใจ (extreme psychological tensions) ตื่นตระหนก (excitement) กลัว (fear) เครียด (stress) อย่างมาก การทำงานที่ต้องใช้แรงอย่างมาก หรือมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมในการทำงานอย่างมาก (dramatic change)
2. การทำงานหนักระยะสั้น (short term overwork) การทำงาน OT อย่างมากก่อนเกิดเหตุ หรือมีสถานการณ์ที่ทำให้เกิดภาระหนักด้านจิตใจ (ตามที่ประเมินโดยใช้เครื่องมือ)
3. การทำงานหนักระยะยาว การทำ OT ก่อนเกิดเหตุการณ์ (ดูเกณฑ์ OT) หรือสถานการณ์ที่ทำให้เกิดภาระหนักทางจิตใจหรือสุขภาพจิต ตามที่เครื่องมือใช้ประเมิน
ส่วนของญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้อ่านได้จากข้อมูลของสมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย https://www.aoed.org/articles/2020/september/karoshi/
โฆษณา