7 ก.พ. 2023 เวลา 03:06 • สุขภาพ

ข้อปฏิบัติตัวเมื่อมีอาการวูบ หรือพบเห็นคนมีอาการ

แนวทางปฏิบัติสำหรับตัวเราเอง หรือกรณีพบเห็นผู้อื่นมีอาการผิดปกติ มีดังนี้
1
  • หากตัวเราเองมีอาการหน้ามืด วูบ หมดสติ
  • 1.
    เมื่อมีอาการโหวง ๆ วูบ ๆ คล้ายจะเป็นลม อย่ายืนอยู่เฉย ๆ เพราะอาจล้มได้รับบาดเจ็บได้ พยายามหาหลักพิงที่มั่นคงก่อน
  • 2.
    หากเดินไหว ให้พยายามหาสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ถ้าหายใจไม่สะดวกให้นั่งลงช้า ๆ พยายามสูดหายใจลึก ๆ
  • 3.
    หากอาการแย่มาก ให้นอนราบสักพักเพื่อให้เลือดไหลเวียนไปยังสมองได้ดีขึ้น ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ให้รีบบอกคนใกล้ตัวแล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
1
  • หากพบเห็นคนมีอาการหน้ามืด วูบ หมดสติ
ทำการตรวจสอบว่าหมดสติหรือไม่ โดยการตะโกนเรียกดัง ๆ และเขย่าที่ไหล่ ดูว่าคนไข้รู้เรื่องหรือได้ยินที่เราพูดหรือเปล่า หากผู้ป่วยรู้สึกตัว อย่าพึ่งให้ลุกนั่งทันที (เพราะความดันอาจจะตก) ควรให้พักต่ออีกราว ๆ 15 นาที ระหว่างนั้นให้รีบขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น
1
  • กรณีที่ผู้ป่วยมีสติ หรือยังรู้สึกตัวอยู่
1
  • 1.
    ถ้าอาการยังแย่อยู่ หรือมีอาการกึ่งหมดสติ อย่าพึ่งให้อาหารและน้ำ
  • 2.
    จัดให้คนไข้นอนหงายราบ ยกขาสูงขึ้น จัดสิ่งแวดล้อมให้อากาศถ่ายเทได้ดี (ห้ามมีคนมุง) เช็ดใบหน้า คอ แขนและขา ด้วยผ้าชุบน้ำ
  • 3.
    ช่วยให้ผู้ป่วยเชิดคางให้ยกขึ้น จะทำให้ทางเดินหายใจเปิดโล่ง
2
  • กรณีผู้ป่วยหมดสติ ไม่รู้สึกตัว
ให้ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ (Cardiopulmonary resuscitation : CPR)
สำหรับขั้นตอนในการทำ CPR เบื้องต้นมีหลักการดังนี้
1
1. อันดับแรกให้เราประเมินสถานการณ์ก่อน ว่าเรามีความพร้อมที่จะเข้าไปช่วย และมีความปลอดภัยในการเข้าไปช่วยหรือไม่ เช่น ถ้าคนไข้ถูกไฟช็อต ก็ต้องตัดไฟก่อนเข้าช่วยเหลือ (scene safety)
2. ให้เราประเมินว่าคนไข้หมดสติไปจริงหรือไม่ โดยปลุกเรียกผู้ป่วยด้วยเสียงที่ดัง และตบไหล่ทั้งสองข้าง เพื่อประเมินการตอบสนองของผู้ป่วย
3. หากพบว่าไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ หรือ หายใจเฮือก (agonal breathing หรือ gasping) ให้รีบโทรขอความช่วยเหลือที่สายด่วน 1669 พร้อมร้องขอเครื่อง AED ที่อยู่ใกล้ที่สุด ให้มาที่จุดเกิดเหตุทันที
3
4. ช่วยเหลือฟื้นคืนชีพ ด้วยการกดหน้าอก จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหงาย วางส้นมือข้างหนึ่งตรงครึ่งล่างของกึ่งกลางกระดูกหน้าอก และวางมืออีกข้างทับประสานกันไว้ เริ่มการกดหน้าอก ด้วยความลึก 5-6 เซนติเมตร ในอัตราเร็ว 100-120ครั้งต่อนาที โดยไม่จำเป็นต้องช่วยหายใจ (start hand-only CPR)
2
อาการหน้ามืด วูบ หมดสติ มีได้หลายสาเหตุ จึงควรทำความเข้าใจแนวทางสังเกตเบื้องต้น และหมั่นประเมินอาการอย่างละเอียด เพราะบางกรณีอาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรงอย่าง โรคหัวใจ หรือ โรคทางสมอง บางรายอาจเกิดอาการขึ้นอย่างฉับพลันและเสียชีวิต อย่างที่เป็นข่าวอยู่บ่อยครั้ง ดูแล้วก็น่าใจหาย
2
ดังนั้น หากเรามีการศึกษาแนวทางสังเกตและวิธีรับมือไว้ล่วงหน้า จะได้เข้าช่วยเหลือได้ทันกาล และลดความเสี่ยงที่ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ หรืออย่างน้อย ถ้ามีคนรอบตัวเกิดอาการหน้ามืด วูบขึ้นมา และไม่ได้มีอาการรุนแรงมาก เราจะได้ดูแลพวกเขาได้อย่างเหมาะสม ก่อนนำตัวไปรักษาต่อไป
3
ผู้เขียนบทความ : นพ.สุทัศน์ คันติโต
ศึกษาแพ็คเกจตรวจสุขภาพ https://hubs.ly/Q01Bt3G-0
1
โฆษณา