7 ก.พ. 2023 เวลา 10:39 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

หุ่นยนต์จิ๋วที่ละลายตัวได้

ในโลกนี้ได้มีการพัฒนาหุ่นยนต์อยู่มากมายที่ออกทั้งแบบลักษณะทั้งความสามารถรวมไปถึงคุณสมบัติต่างๆที่แตกต่างกัน ซึ่งบางตัวก็ออกแบบมาให้ต่างไปอย่างสิ้นเชิง อย่างเช่นหุ่นต์ยนต์จิ๋วตัวนี้ ที่มีลักษณะคล้ายๆกับหุ่นต์ยนต์ T-1000 จากภาพยนต์เรื่อง The Terminator (คนเหล็ก) ที่ละลายตัวจากโลหะกลายเป็นของเหลวและกลับมาก่อตัวเป็นของแข็งหรือรูปร่างลักษณะเดิม ซึ่งหุ่นต์ยนต์จิ๋วก็ใช้เทคนิคเดียวกันนี้
งานวิจัยตีพิมพ์ลงในวารสาร Matter โดยหุ่นต์ยนต์จิ๋วตัวนี้ได้ถูกพัฒนามาจาก ทีมวิศวกรจากมหาวิทยาลัย Chinese University of Hong Kong และมหาวิทยาลัยซุนยัตเซ็นที่เมืองกวางโจวของจีน ที่ได้ประดิษฐ์หุ่นยนต์ขนาดเท่าตัวต่อเลโก้ และได้ทดสอบโดยการเปลี่ยนสถานะในการละลายไหลผ่านกรง และกลับมาก่อตัวรูปร่างเป็นของแข็งเหมือนเดิม
ก่อนหน้านี้ได้มีการสร้างประเภทหุ่นยนต์ที่มีความยืดหยุ่นทำจากวัสดุอ่อนที่เรียกว่า หุ่นยนต์นิ่ม (soft robot) แต่เนื่องจากหุ่นยนต์นิ่มนั้น ควบคุมได้ยากอีกทั้งยังไม่ค่อยมีความแข็งแรงพอในการทำงานบางอย่างได้
แต่สำหรับหุ่นยนต์จิ๋วละลายได้ตัวนี้คือความก้าวหน้าไปอีกขั้้นหนึ่ง
โดยการศึกษาของทีมวิศวกรชาวจีนที่ได้นำหลักการทางสรีรวิทยาของปลิงทะเลและหมึกยักษ์ที่สามารถปรับเปลี่ยนเนื้อเยื่อแต่ละส่วนให้มีความอ่อนหรือแข็ง มาประยุกต์ใช้ เนื่องจากความสามารถในการเปลี่ยนรูปร่างได้ตามใจชอบเพราะเนื้อเยื่อของพวกมันในแต่ละส่วนสามารถปรับเปลี่ยนให้อ่อนและแข็งได้เพื่อหลบซ่อน พลางตัว หรือเข้าไปหากินในที่แคบได้
ซึ่งหุ่นยนต์จิ๋วนี้ใช้ "แกลเลียม" (Ga) โลหะเนื้ออ่อนไม่เป็นพิษที่หลอมละลายได้ในอุณหภูมิเพียง 29.76 องศาเซลเซียสเท่านั้น ต่ำกว่าระดับอุณหภูมิเฉลี่ยภายในร่างกายของคนเราเล็กน้อย
สาเหตุที่สามารถเปลี่ยนสถานะของหุ่นยนต์ตัวนี้ได้คือการฝังอนุภาคแม่เหล็กเข้าไปในโครงสร้างที่ทำจากธาตุแกลเลียม และทำให้แกลเลียมร้อนขึ้นหรือเย็นตัวลงด้วยการเหนี่ยวนำแม่เหล็ก (magnetic induction) ซึ่งอนุภาคแม่เหล็กยังช่วยควบคุมทิศทางการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์ให้เป็นไปตามคำสั่ง โดยหุ่นยนต์จะตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็ก
โดยหุ่นยนต์จิ๋วยังได้ผ่านการทดสอบหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นการปีนป่ายและกระโดดข้ามสิ่งกีดขวาง การนำสิ่งแปลกปลอมออกจากกระเพราะอาหารจำลองหรือแม้แต่การแยกเป็นสองส่วนเพื่อประสานการทำงานก็ทำได้
1
ด้วยความสามารถในการเปลี่ยนสถานะไปมาหรือการเปลี่ยนรูปร่างได้หลายแบบทำให้สามารถ นำไปใช้ประโยชน์ต่างๆได้หลายๆอย่าง เช่น การสำรวจพื้นที่แคบพื้นที่มุมอับเข้าถึงยาก ทางการแพทย์ต่างๆอย่างการซ่อมแซมอวัยวะภายในการลำเลียงยาไปสู่เนื้อเยื่อของเป้าหมาย รวมทั้งงานประกอบวงจรหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดจิ๋ว
นับว่าเป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าของหุ่นยนต์ที่ออกแบบมาให้สามารถใช้งานได้สร้างสรรค์แบบนี้และเชื่อว่าในอนาคตหุ่นย์จิ๋วตัวนี้จะถูกต่อยอดให้มีประสิทธิภาพขึ้นไปอีก
โฆษณา