Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
BETTERCM
•
ติดตาม
10 ก.พ. 2023 เวลา 16:59 • สุขภาพ
DICLOFENAC POTASSIUM
🤔ยาไดโคลฟีแนค โซเดียมกับโพแทสเซียม ต่างกันยังไง
Diclofenac potassium ละลายน้ำได้ดีกว่า Diclofenac sodium นอกจากนี้ Diclofenac potassium มีระยะเวลาการออกฤทธิ์ที่ไวกว่าที่ 30 – 54 นาที เทียบกับ Diclofenac sodium ที่ 2 – 4 ชั่วโมง
ในส่วนของข้อห้ามใช้นั้น
ยา Diclofenac sodium ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
ส่วน Diclofenac potassium ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง (แต่อย่างไรก็ตามไม่แนะนำการใช้ยากลุ่ม NSAIDs ในผู้ป่วยโรคไต)
ในเรื่องของความปลอดภัยจากการใช้ยาพบว่า Diclofenac sodium เกิดอาการไม่พึงประสงค์เช่น คลื่นไส้อาเจียน, กรดไหลย้อน, ท้องเสีย นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร โรคตับ และโรคหัวใจ
ส่วน Diclofenac potassium เกิดอาการไม่พึงประสงค์ เช่น ท้องเสีย, ท้องผูก, จุกเสียด เวียนหัว
อย่างไรก็ตามยังพบอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงเช่น ความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular-related) และ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น
ดังนั้นความเหมาะสมของการใช้ยาจึงขึ้นอยู่กับความแตกต่างของผู้ป่วยเฉพาะราย
🤔ต้องการทราบว่า ยาที่เป็นรูปเกลือโพแทสเซียม เช่น diclofenac potassium, ibuprofen potassium มีผลอย่างไรต่อการทำงานของหัวใจหรือไม่
โดยทั่วไปเมื่อฉีดโพแทสเซียมคลอไรด์ เข้าหลอดเลือดในขนาด 10 มิลลิอิควิวาเลนท์ จะทำให้ระดับโพแทสเซียมในเลือดเพิ่มขึ้นได้ประมาณ 0.1 มิลลิอิควิวาเลนท์ต่อลิตร สำหรับยากินที่ทำในรูปเกลือโพแทสเซียม มักจะมีปริมาณโพแทสเซียมอยู่น้อยมาก
เช่น ยา diclofenac potassium ขนาด 50 มิลลิกรัม ในบางชื่อการค้า มีปริมาณโพแทสเซียมเพียง 0.15 มิลลิอิควิวาเลนท์ ทำให้หลังกินยา ระดับโพแทสเซียมในเลือดเพิ่มขึ้นได้น้อยมากแทบไม่ส่งผลต่อระดับโพแทสเซียมในเลือดเลย จึงมีโอกาสส่งผลต่อการทำงานของหัวใจต่ำมาก
อย่างไรก็ตามผู้ป่วยโรคหัวใจควรระมัดระวังปริมาณโพแทสเซียมที่อาจได้จากแหล่งอื่นๆ เพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดจากภาวะโพแทสเซียมที่มากเกินไป
😀มีปัญหาเรื่องการใช้ยาเชิญปรึกษาเภสัชกร
.
.
💢
http://www.prachanath.su.ac.th/DIS/prachanath/answerq/ansform.php?Q_id=45
https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/qa_full.php?id=5138
ภาพ.cover จาก
https://www.fda.moph.go.th/sites/drug/Shared%20Documents/Drug-information/PIC/Diclofenac-K_50_PIL20170315.pdf
อ่านเพิ่มเติม
ทำไมยา Diclofenac potassium จึงดูดซึมได้ดีกว่า และออกฤทธิ์เร็วกว่า Diclofenac sodium
https://anotherquestionfromsomewhere.wordpress.com/2019/07/14/ทำไมยา-Diclofenac-potassium-จึงดูดซึมได้ด/
Diclofenac salts: potassium or sodium? - The Pharmaceutical Journal
.
.
https://pharmaceutical-journal.com/article/ld/diclofenac-salts-potassium-or-sodium
.
.
.
Voltaren XR, Cataflam (diclofenac) dosing, indications, interactions, adverse effects, and more - Medscape Reference
diclofenac (Rx)
https://reference.medscape.com/drug/voltaren-xr-cataflam-diclofenac-343284
.
.
VOLTFAST - Medsafe
VOLTFAST. ®. Diclofenac Potassium. 50mg Powder for oral solution. What is in this leaflet. This leaflet answers some common questions about Voltfast.
https://medsafe.govt.nz/consumers/cmi/v/voltfast.pdf
.
.
.
.
เรื่องอื่นๆเกี่ยวกับ diclofenac
diclofenac users showed a 20 percent greater rate of "atrial fibrillation, ischemic stroke, heart failure, heart attack, or heart-related death in the 30 days following their prescription fill" than those who took acetaminophen or ibuprofen.
New Warning About Anti-Inflammatory Drug
https://www.newsmax.com/t/health/article/884829
Diclofenac: new contraindications and warnings -
GOV.UK
https://www.gov.uk/drug-safety-update/diclofenac-new-contraindications-and-warnings
ห้ามใช้ diclofenac กับผู้เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิตจาก CVD death
Contraindications
• Established congestive heart failure (NYHA II-IV), ischemic heart disease, peripheral arterial disease and/or cerebrovascular disease.
https://www.medicines.org.uk/emc/product/4515/smpc
US FDA ออกคำเตือนใหม่ของการใช้ยาทุกตัวในกลุ่ม NSAID
... การใช้ NSAID ในอาทิตย์แรก อาจทำให้เกิดหัวใจล้มเหลว หรือ หัวใจขาดเลือด และเมื่อใช้ในระยะเวลานานขึ้น ในขนาดที่สูงขึ้น โอกาสเกิดโรคดังกล่าวก็จะเพิ่มขึ้น ...
เนื่องจาก ในระยะเวลาที่ผ่านมา โรคหัวใจล้มเหลวที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยากลุ่มดังกล่าวมีปริมาณเพิ่มขึ้น โดยไม่สามารถให้ข้อมูลที่แน่ชัดได้ว่า โรคดังกล่าวเกิดจากการใช้ยาตัวไหน
ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หัวใจวายหรือภาวะหัวใจล้มเหลว ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มดังกล่าว
ส่วนคนปกติ ควรใช้ให้น้อยที่สุด ในขนาดต่ำที่สุด ในระยะเวลาที่สั้นที่สุด
NSAID เป็นตัวย่อของ กลุ่มยาแก้ปวด ลดไข้ และต้านการอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ อาทิเช่น ASPIRIN IBUPROFEN DICLOFENAC DOSANAC PONSTAN VOLTAREN DIFELENE ARCOXIA CELEBREX MOBIC GOFEN NUROFEN POX และอื่นๆอีกมาก สอบถามเพิ่มเติมได้จากเภสัชกรที่เติมความรู้ให้กับตัวเองอยู่ตลอดเวลา ...
http://edition.cnn.com/2015/07/10/health/fda-painkillers/index.html
.
.
ยาในกลุ่ม NSAID ทั้งที่เจาะจงและที่ไม่เจาะจงกับ COX–2 นี้ เวลาใช้ต้องระวังหรือใช้ไม่ได้ในคนที่มีตับและไตไม่สมบูรณ์
ยา Naproxen Ibuprofen Diclofenac Celecoxib Etoricoxib Lumiracoxib Rofecoxib พบความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหลายเท่าต่อการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจ เส้นเลือดสมองตีบ และการเสียชีวิตที่เกี่ยวกับระบบหัวใจและเส้นเลือดทั้งหมด (ซึ่งรวมหัวใจล้มเหลว จากกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอลง หัวใจเต้นผิดปกติ ลิ่มเลือดอุดเส้นเลือดในปอดเข้าไปด้วย)
นอกจากนั้นยังมีผลข้างเคียงทำให้เกิดหัวใจวาย ยา ได้แก่ Cele–brex (Celecoxib) Arcoxia (Etoricoxib) Dynastat (Parecoxib) ยาในกลุ่ม NSAID และไม่ได้มีฤทธิ์เจาะจงต่อ COX-2 มีหลายตัว เช่น Voltaren (Diclofenac) Indocid (Indomethacin) Clinoril (Sulindac) (Phenylbutazone) Ponstan (Mefenamic acid) Mobic (Meloxicam) Feldene (Piroxicam) Brufen (Ibuprofen) Naprosyn (Naproxen) Aspirin (Acetylsalicylic acid) (Nimesulide)
เมื่อรวมความเสี่ยงอันเกี่ยวเนื่องกับระบบหัวใจและเส้นเลือดทั้งหมด
ตัวที่อันตรายที่สุด คือ Etoricoxib (4.07 เท่า) Diclofenac(3.98 เท่า) Ibuprofen (2.39 เท่า) Celecoxib (2.07 เท่า) Lumiracoxib (1.89 เท่า) Rofecoxib (1.58 เท่า) และ Naproxen (0.98 เท่า)
https://www.thairath.co.th/content/500657
.
.
ยาส่งผลต่อการทำงานของไต ทำให้ไตทำงานได้ลดลง ได้แก่ยา NSAID เช่น Aspirin, Diclofenac, Ibuprofen, Indomethacin, Naproxen และ Piroxicam เป็นต้น รวมไปถึงยากลุ่มอื่นๆ เช่น ยาต้านมะเร็ง ยากดภูมิคุ้มกัน ยาต้านไวรัส เป็นต้น
นอกจากนี้การใช้ยาในกลุ่มนี้ร่วมกับยาอื่นอาจส่งเสริมให้เกิดพิษต่อไตที่รุนแรงเพิ่มขึ้น เช่น ในกรณีผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยาเพื่อกดภูมิคุ้มกันของร่างกาย เช่น Cyclosporine ยาดังกล่าวมีอาการข้างเคียงของยาที่ทำให้เกิดพิษต่อไตได้อยู่แล้ว ต่อมาเนื่องจากภูมิคุ้มกันของร่างกายของผู้ป่วยต่ำอาจติดเชื้อราขึ้นได้ จึงรับประทานยาฆ่าเชื้อรา Ketoconazole หรือ Itraconazole ซึ่งยาที่กล่าวไป 2 ตัวหลังจะทำให้ระดับยา Cyclosporine ในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้น และทำให้โอกาสเกิดพิษต่อไตสูงขึ้นตามไปด้วย
ดังนั้นนอกจากผู้ป่วยจะต้องใช้ยาอย่างระมัดระวังแล้ว ต้องแจ้งชื่อยาหรือนำตัวอย่างยาที่ตนเองใช้ให้กับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งที่เข้ารับการรักษา
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/244/วิธีการดูแลไต/
.
.
มีผู้รวบรวมข้อมูลของ ibuprofen, diclofenac, naproxen, indomethacin และ piroxicam ซึ่งเป็น non-selective NSAIDs กับความเสี่ยงต่อ GI bleeding เทียบกับ paracetamol
จากข้อมูลอาจถือได้ว่า ibuprofen เป็น NSAID ที่มีความเสี่ยงต่ำสุดต่อ GI bleeding โดยที่ขนาดยาน้อยกว่า 1,200 มิลลิกรัม/วัน มีความเสี่ยงต่ำเทียบได้กับ paracetamol ซึ่ง paracetamol นั้นไม่ว่าจะใช้ในขนาดต่ำ (<2,000 มิลลิกรัม/วัน) หรือขนาดสูง (≥4,000 มิลลิกรัม/วัน) เมื่อดูค่าเฉลี่ยอาจกล่าวได้ว่าไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อ GI bleeding แต่หากใช้ ibuprofen ขนาด ≥1,200 มิลลิกรัม/วัน จะเสี่ยงต่อการเกิด GI bleeding มากกว่า paracetamol
ส่วนยาอื่นที่กล่าวข้างต้นแม้ใช้ในขนาดต่ำ กล่าวคือ diclofenac <75 มิลลิกรัม/วัน, indomethacin ≤50 มิลลิกรัม/วัน, naproxen <500 มิลลิกรัม/วัน และ piroxicam ≤10 มิลลิกรัม/วัน ล้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อ GI bleeding ได้มากโดยเฉพาะ piroxicam
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/news_week_full.php?id=1289
.
.
POSTED 2023.02.11
บทความอื่น
💉DICLOFENAC💊
https://www.blockdit.com/posts/632c31aef1344c9fd2d43392
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย