11 ก.พ. 2023 เวลา 01:52 • ท่องเที่ยว

ทมิฬนาดู (10) .. เทวาลัยวรทราชาเปรุมาล เมืองกาญจีปุรัม

วรตราชัปเปรุมาฬโกยิล (ทมิฬ: வரதராஜப் பெருமாள் கோயில்) หรือ วรทราชาเปรูมาล(ฮินดี: वराधराजा पेरूमल मन्दिर) (Varadharaja Perumal Temple) หรือ “วิษณุกาญจี” (Vishnu Kanchi) เป็นเทวาลัยที่สร้างอุทิศแด่ “พระวิษณุ” องค์ที่ถือว่าสำคัญที่สุดในเมืองกาญจีปุรัม ซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงของอาณษจักรปัลลละ รัฐทมิฬนาดู.
จากจารึกจำนวนราว 350 จารึกจากสมัยราชวงศ์ต่างๆหลายุค ทำให้เรารู้ว่าเทวาลัยแห่งนี้ได้รับทรัพย์บริจาคมาจากหลายแหล่ง และได้รับการบูรณะฟื้นฟูครั้งใหญ่ (Renovated) โดยราชวงศ์โจฬะในปี 1053
ต่อมาได้มีการขยายอาณาเขตของเทวาลัยให้ใหญ่โตในรัชสมัยของกษัตริย์ Kulottunga Chola I และกษัตริย์ Vikrama Chola .. ในศตวรรษที่ 14 มีการสร้างกำแพงและโคปุรัมเพิ่มขึ้นโดยกษัตริย์โจฬะองค์ต่อๆมา
เทวาลัยแห่งนี้ เป็นเทวาลัยพระวิษณุที่สำคัญที่สุด 1 ใน 4 แห่งของประเทศอินเดีย
เทวาลัยวรทราชาเปรุมาส … เป็นหนึ่งใน 108 ทิพยเทสัม (Divya Desam) หรือเทวสถานพระวิษณุทั้ง 108 แห่งที่อาฬวารทั้ง 12 คนเคยเสด็จเยือน เทวสถานตั้งอยู่ในย่านชานเมืองของกาญจิปุรัมซึ่งมีเทวสถานพระวิษณุตั้งอยู่อีกหลายแห่ง และเชื่อกันว่า รามานุชะชะ (Ramanuja) ปราชญ์อินดูไวษณวะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดองค์หนึ่งของปรัชญาวิษิศตทไวตะ เคยอาศัยอยู่ที่เทวาลัยแห่งนี้ด้วย
เชื่อกันว่า .. หากได้ไปเยือนเทวาลัยที่ยิ่งใหญ่ 4 แห่ง คือ Ekambareswarar Temple .. Kamakshi Amman Temple .. Srirangam และ Varadharaja ในคราวเดียวกัน จะเป็นการแสวงบุญที่ยิ่งใหญ่
เราเดินทางไปชมเทวาลัยในวันที่อากาศร้อนพอสมควร แต่ก็ยังเห็นผู้คนมากมายที่เลื่อมใส ศรัทธา หลั่งไหลเข้ามาชม มาสักการะเทพเทวะที่ศักดิ์สิทธิ์กันไม่ขาดสาย .. โคปุรัมสีขาวสูงใหญ่เป็นหมุดหมายที่มองเห็นได้ในระยะไกล
ชาวทมิฬในเสื้อผ้าอาภรณ์สีสันสดใส จัดจ้าน ที่มุ่งหน้ามาแสวงบุญ
เจ้าถิ่น .. เห็นประจำทุกเทวาลัย .. โคหรือวัวสำหรับชาวฮินดูจึงถือเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ ชาวฮินดูจึงไม่ฆ่าโคและกินเนื้อวัว ซึ่งอาจจะมาจาก เรื่องของ “โคอุสุภราช” หรือ “โตนนทิ” พาหนะของพระอิศซร ซึ่งในความเชื่อของชาวฮินดูไม่เพียงแต่เป็นสัตว์พาหนะตัวหนึ่งเท่านั้น แต่ยังได้รับการบูชาดุจดั่งเทพเจ้าองค์หนึ่ง ในพิธีการมงคลแบบฮินดู พราหมณ์จะนำมูลโคมาเจิมหน้าผาก ถือว่าเป็นมงคลประการที่ 7
เรายืนบนลานโล่ง หลังโคปุรัมชั้นแรก .. มองเห็นโคปุรัมชั้นใน และหลังคาสีทองของเทวาลัยประธาน
ระหว่างโคปุรัม กับเทวาลัยชั้นใน เป็นที่ตั้งของมณฑปที่ค่อนข้างสูง
โคปุรัมทางด้านทิศตะวันออก เป็นอันที่สูงที่สุดในหมู่โคปุรัมทั้งหมด .. ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลก ที่ราชาโคปุรัมของเทวาลัยแห่งนี้ไม่ใช่อันที่สูงที่สุดเหมือนเทวาลัยอื่น
เทวาลัยแห่งนี้ไม่อนุญาติให้คตนในศาสนาอื่นเข้าไปในพื้นที่ชั้นในได้ แต่ก็เข้าไปได้ถึงระดับหนึ่ง .. แต่น่าเสียดายที่วันนี้เราไม่สามารถเข้าไปยังชั้นอื่นๆของเทวาลัยได้ด้วยมีพิธีกรรมที่กำลังดำเนินอยู่
ภาพของเทวาลัย มณฑป และเสาธวัชสดมภ์ ในสถาปัตยกรรม ดราวิเวียน .. เป็นองค์ประกอบของภาพที่สวยงาม ลงตัว ดูสง่างาม สมกับฐานะการเป็นเทวาลัยแห่งพระวิษณุที่สำคัญที่สุดในเมืองนี้
ความงดงามของศาสนสถานในอีกมุมหนึ่ง
เทวาลัยประธานหันหน้าไปทางทิศตะวันตก และมีกำแพงล้อมรอบ 7 ชั้น .. รูปสลักขององค์เทพที่เป็นประธานได้รับการออกแบบในลักษณะที่มีมุมที่ทำให้เกิดการตกลงมาของแสงพระอาทิตย์มากระทบที่รูปสลักขององค์เทพพอดี ในวันที่ 15 หลังวัน Chitra Purnima
เล่าเรื่องราวของเทวาลัยวราทราชาเปรุมาส ตามที่ฝรั่งเขียนเอาไว้ให้ฟังคร่าวๆนะคะ
ปรุณัมของฮินดูกล่าวว่า .. พระนางสรัสวตี (Saraswati) ได้สาปพระอินทร์ให้กลายเป็นช้างที่ต้องร่อนเร่ไปตามที่ต่างๆ แต่องค์อินทร์พ้นคำสาปด้วยพลังแห่งเทพวิษณุ และพระอินทร์ได้สร้างจิ้งจกเงิน-ทอง ซึ่งเป็นประจักษ์พยานในพิธีกรรม ไว้ในเทวาลัยนี้
หลังจากนั้นพระวิษณุได้ทำพิธี yagna เพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งการเกิดขึ้นที่นี่ .. แต่เทวีสุรัสวดีเข้ามา ..ขัดขวาง โดยให้สายน้ำที่เชี่ยวกรากจากแม่น้ำ วากาวาตี (Saraswati in the form of river) เข้ามาชะล้างทำลาย .. แต่พระวิษณุได้เอนร่างลงต้านสายน้ำ และทำพิธีต่อจนสำเร็จ
พระวิษณุได้หลอมรวมพระองค์พร้อมกับแสงจากพระอาทิตย์หลายพันดวงเข้าไว้เป็นรูปสลักองค์เทพ 'อทิวรทราชา' ซึ่งเป็นเทวรูปพระวิษณุในมูรติยืน ที่ทำจากไม้มะเดื่อ และประดิษฐานอยู่ที่เทวาลัยแห่งนี้ .. ต่อมาเมื่อเกิดการรุกรานจากกลุ่มสุลต่านจากเดลลี รูปสลักไม้ขององค์เทพประธานของเทวาลัยได้ถูกนำไปซ่อนไว้ในสระน้ำของเทวาลัย
หลังจากเวลาผ่านไปเนิ่นนาน .. ได้มีการค้นพบเทวรูปไม้มะเดื่อองค์นี้อีกครั้ง และมีการอัญเชิญขึ้นจากน้ำ เพื่อให้ผู้คนสักการะทุกๆ 40 ปี เป็นเวลาครั้งละ 48 วัน และเชื่อว่าเมื่อนำเทวรูปกลับลงไปในบ่อ ฝนจะตกอย่างหนัก
ส่วนเทพองค์ประธานเทพประธานองค์ปัจจุบัน ในมูรติยืน สูง 3 เมตร สลักขึ้นด้วยหินแกรนิต .. ถูกนำมาจากเทวลาลัยใกล้เคียง คือ เทวาลัย Narashima
มีจารึกราว 350 จารึกจากสมัยราชวงศ์ต่างๆที่กล่าวถึงการบริจาคทรัพย์ให้กับเทวาลัยวราธราชา เปลุมาล แห่งนี้ รวมถึงมีจารึกที่กล่าวถึง การเข้ามาบูรณะเทวาลัยของราชวงศ์โจฬะในปี 1053 และการขยายขอบเขตพื้นที่ของเทวาลัย ในรัชสมัยของ the great Chola kings Kulottunga Chola I และ Vikrama Chola
ในช่วงศตวรรษที่ 14.. กษัตริย์แห่โจฬะองค์ต่อมา ได้มีการสร้างกำแพงและโคปุรัมเพิ่ม เมื่อมีการรุกรานจากพวกโมกุลในช่วงปี 1688
ใครบางคนบอกว่า .. ด้านในหลังกำแพงที่เราไม่ได้เข้าไปชมนั้น สวยงามมาก .. เป็นงานศาสนศิลป์ที่น่าชื่นชม น่าภาคภูมิใจที่บรรพบุรุษของชาวทมิฬได้ทิ้งไว้ให้ลูกหลานเรียนรู้ และสืบสาน รักษา เพื่อส่งต่อให้คนรุ่นหลังในโลก ได้เห็นงานศิลป์ที่งดงามของคนเอเซียที่เป็นมรดกของโลก
เทวาลัยแห่งนี้มีมณฑปอยู่หลายอัน ซึ่งปกติคงไม่ได้เปิดให้สาธารธชนเข้าไปชม .. เพราะเห็นมีที่กั้น ที่บอกเป็นนัยๆว่า “ห้ามเข้า”
“.. ตามมาทางนี้เร็วๆด้วยครับ”
“โอกาสที่จะได้ขึ้นไปชมมณฑปนี้ยากมากนะครับ” .. ไกด์ของเราตะโกนบอก
สิ่งที่เราเห็นในมณฑป 100 เสานั้น ยอดเยี่ยมมากในเชิงงานศิลป์ และแตกต่างไปจากเทวาลัยอื่นๆที่เราได้ชมไปแล้ว ..
กษัตริย์ของราชวงศ์โจฬะหลายพระองค์ เป็นผู้บูรณะฟื้นฟูเทวาลัยแห่งนี้ .. งานสถาปัตยกรรมในยุคโจฬะได้มีการพัฒนาขึ้นสู่จุดสูงสุดเรื่อยๆ เป็นการสถาปนาเทวาลัยขึ้นใหม่ด้วยการระดมทรัพยากรทั่วอาณาจักร ทั้งทรัพย์สิน ความรู้ และผู้คน ประกาศความยิ่งใหญ่ของอาณาจักร
.. ศาสนศิลป์ในยุคนี้จึงมีความแตกต่างจากสมัยปัลวะอย่างเห็นได้ชัด
เราเดินขึ้นไปชมศาลา 100 เสา (มีคนท้องถิ่นถือโอกาสตามเข้าไปชมด้วยอีกไม่น้อย) .. สิ่งที่โดดเด่นมาก คือ ประติมากรรมหินสลักเล่าเรื่องตามปกรณัม หรือตำนานเรื่อง รามายนะ และมหาภารตะยุทธ์ ซึ่งนับว่าเป็นงานสถาปัตยกรรมชิ้นเอกทีเดียวในพื้นที่ด้านนอกนี้
ต้นเสาทุกต้นในด้านหนึ่งของมณฑป .. ตกแต่งให้โดดเด่นด้วยหินสลักรูปม้าศึกที่มีนักรบอยู่บนหลังม้าล้อมรอบเสาแต่ละต้น หินสลักเหล่านี้แม้จะติดอยู่กับเสา แต่การสลักหินทำได้จนเกือบเหมือนประติมากรรมลอยตัว
.. ภาพม้าเหมือนกำลังจะหลุดออกจากเสาหิน พร้อมที่จะพานักรบทะยานไปข้างหน้า เหมือนมีชีวิตจริงๆ ซึ่งแตกต่างจากประติมากรรมหินสลักในเทวาลัยสมัยปัลวะ
กลางมณฑป .. เป็นที่ตั้งของแท่นขนาดใหญ่ที่อยู่บนหลังเต่า อาจจะเป็นที่ตั้งรูปเคารพ หรือแท่นทำพิธีบางอย่าง .. ฉันไม่มีความรู้พอที่จะบอกได้แน่ชัดค่ะ
บนมณฑปยังมีเครื่องไม้ เพื่อใช้ในวัตถุประสงค์บางอย่าง
เครื่องไม้ ท่ามกลางรูปสลักหิน
อีกด้านหนี่งของมณฑป .. มีเสาในรูปแบบและประดับด้วยงานสลักหินเข้าไปในเนื้อเสาด้วยลวดลายที่เราเคยเห็นมาแล้ว ลวดลายสวยงามค่ะ
สถาปัตยกรรมที่โดดเด่นของเทวาลัยแห่งนี้ คือ รูปสลักหินรูปโซ่ ที่สลักขึ้นมาจากก้อนหินก้อนเดียว ห้อยลงมาจากมุมหลังคา .. น่าทึ่งว่าสามารถทำได้อย่างไร
ข้างศาลาเป็นสระน้ำ ที่มีศาลาหลังคาสีทองอยู่กลางน้ำ .. เดาว่าคงไม่ใช่สระน้ำที่มีรูปเคารพของพระวิษณุอยู่ในสระนี้แน่นอน
 
เนื้อความบางส่วนจาก : https://en.wikipedia.org/wiki/Varadharaja_Perumal_Temple,_Kanchipuram
โฆษณา