12 ก.พ. 2023 เวลา 11:18 • ธุรกิจ

ทีมใหญ่หรือเล็กสำคัญกับความสุขของสมาชิกในทีมแค่ไหน

“คนเดียวทำได้น้อย รวมกลุ่มกันทำได้มาก”
Helen Keller, นักเขียนชาวอเมริกัน, สตรีตาบอดและหูหนวกคนแรกที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาในสหรัฐฯ
มนุษย์มีความสามารถในการรวมกลุ่มกันเพื่อทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อความรุ่งโรจน์ของอารยธรรมต่างๆ ทั่วโลกมานานตราบเท่าที่ประวัติศาสตร์ได้จารึกไว้ นับตั้งแต่กองทัพโรมัน เหล่าขุนนางจีนโบราณ ไปจนถึงทีมอไจล์ (agile)ในแคลิฟอร์เนีย ผู้คนต่างมองว่าความสามารถในการจัดการและเป็นผู้นำกลุ่มคนจำนวนมากคือเครื่องหมายแห่งความสำเร็จ แม้ดูเหมือนว่าการรวมกลุ่มของผู้คนนั้นจะมีจำนวนเท่าไรก็ได้ แต่การที่กลุ่มจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้นั้นจำเป็นต้องมีการจำกัดจำนวนคนภายในกลุ่ม
ตัวเลขของดันบาร์
ผู้ที่เสนอตัวเลขนี้คือ Robin Dunbar ซึ่งเป็นนักมานุษยวิทยาที่มีชื่อเสียง [1] เขาอธิบายว่า คนเราสามารถรักษาความสัมพันธ์ที่มั่นคงกับผู้คนประมาณ 150 คนเป็นอย่างมาก Gore-Tex บริษัทสัญชาติอเมริกันซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูงก็ยึดถือหลักการนี้ Gore-Tex ถึงขั้นจำกัดจำนวนพนักงานในอาคารไว้ไม่เกิน 150 คน เพื่อให้พนักงานรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มและร่วมงานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ [2]
งานวิจัยมากมายในการศึกษาเหล่านี้เก็บข้อมูลจากสังคม WEIRD ซึ่งย่อมาจาก Western (ตะวันตก) Educated (มีการศึกษา) Industrialized (อยู่ในสังคมอุตสาหกรรม) Rich (ร่ำรวย) และ Democratic (เป็นประชาธิปไตย) และข้อมูลจำนวนมากของเราเก็บได้จากการศึกษาสังคมเอเชียซึ่งมีน้อยชิ้นกว่า
ดังนั้นเราจึงทำการวิจัยเบื้องต้นโดยใช้ความคิดเห็นรายวันที่ได้รับจากการสำรวจความสุขรายวันบนแพลตฟอร์มของ Happily.ai คำถามของเราคือ เราสามารถวัดอิทธิพลและความสัมพันธ์ของขนาดทีมที่มีต่อความสุขของพนักงานได้หรือไม่ การที่มีจำนวนพนักงานในทีมมากขึ้นมีผลกระทบต่อความสุขในระดับที่วัดได้หรือไม่
ทีมที่ดีควรมีขนาดเท่าไร หัวหน้างานควรมีลูกน้องกี่คน
สมมติฐานของเราคือ หัวหน้าที่มีลูกน้องมากกว่าเจ็ดคน มีแนวโน้มมากที่สมาชิกในทีมจะมีความสุขน้อยลง
เราเก็บข้อมูลจากทีมงาน 381 ทีมซึ่งมีพนักงาน 2,263 คนเป็นเวลานานกว่าหนึ่งปี เรานิยามคำว่าทีม “ที่มีความสุข” คือทีมที่สมาชิกมากกว่า 75% รายงานว่าตนเองมีความสุข ส่วนทีมที่ “ไม่ค่อยมีความสุข” คือทีมที่ไม่เข้าเกณฑ์ข้างต้นที่กล่าวมา
เราได้ศึกษาหัวหน้างานของทีมขนาดต่างๆ และเปรียบเทียบความสุขของแต่ละทีม โดยจัดประเภทให้หัวหน้างานที่มีลูกน้องมากกว่าเจ็ดคนเป็นหัวหน้างานที่มีลูกน้องมากเกินไป ทีมงานที่หัวหน้ามีลูกน้องมากเกินไปมีจำนวน 99 ทีมจาก 381 ทีม — และในบรรดา 99 ทีมนั้น มีเพียง 18 ทีมที่มีความสุข
จากข้อมูลของเรา หัวหน้างานที่มีลูกน้องมากเกินไปมีแนวโน้มมากขึ้น 4 เท่าที่จะมีทีมที่ไม่ค่อยมีความสุข
นี่ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจนัก — การที่มีลูกน้องมากขึ้นหมายความว่าหัวหน้างานต้องรับภาระงานมากขึ้น และทำให้เพื่อนร่วมทีมผูกพันกันน้อยลง แล้วเราจะหาอัตราความสุขสูงสุดสำหรับทีมแต่ละขนาดและค้นพบจุดสมดุลระหว่างขนาดทีมกับความสุขได้หรือไม่ ผลลัพธ์ที่ได้อยู่ในรูปที่ 1 ด้านล่าง
จากรูปที่ 1 เราจะเห็นได้ว่าทีมที่มีสมาชิกสูงสุดหกคนมีความเป็นไปได้ที่จะได้รับอัตราความสุขของทีมถึง 100% แต่หากขนาดทีมเพิ่มขึ้นเกินจำนวนนี้ อัตราความสุขสูงสุดของทีมก็จะลดลงตามไปด้วย
รูปที่ 1 ขนาดทีม vs. ความสุขสูงสุดของทีม
แล้วทีมในอุดมคติควรมีกี่คนล่ะ
ผลการศึกษาและงานวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่าทีมในอุดมคติควรมีหกคน งานวิจัยโดย Maximilien Ringelmann ชี้ว่าผลิตภาพจะลดลงลงฮวบฮาบหากทีมมีจำนวนเกินหกคน เนื่องจากสมาชิกมีสำนึกรับผิดชอบน้อยลง และเกิดปัญหาการกินแรงคนอื่น (free-rider problem) ตามที่เห็นด้านล่างนี้ [4]
credit: https://pt.slideshare.net/ellaabyou/ringelmann-effect/12
หัวหน้าทีมขนาดใหญ่มักรู้เรื่องนี้ได้โดยสัญชาตญาณ Evan Wittenberg ผู้อำนวยการของ Wharton Graduate Leadership Program กล่าวว่า “เราไม่คำนึงถึงเรื่องขนาดทีมก็จริง แต่เรารู้ว่ามันเป็นเรื่องสำคัญ ห้าหรือหกคนคือขนาดที่พอเหมาะ”[5] เรารู้ว่ายิ่งมีลูกน้องมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งใช้เวลามากเท่านั้นในการติตตามช่วยเหลือสมาชิกในทีมแต่ละคน ลองคิดดูว่าจะเป็นอย่างไร หากคุณต้องพูดคุยความคืบหน้ากับลูกน้อง 15 คนเป็นรายสัปดาห์ แค่คิดถึงงานเอกสารก็ปวดหัวแล้ว!
ปัจจัยอื่นที่ควรพิจารณา
เราต้องพิจารณาปัจจัยอื่นอีกมากมายที่ส่งอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของทีมและผลิตภาพ ทั้งประเภทของงาน ความซับซ้อนของลำดับงาน ความชัดเจนของเป้าหมาย การจ้างพนักงานที่มีประสิทธิภาพ การบรรจุคนเข้าทำงาน ฯลฯ [5], [6]
คุณสมบัติของหัวหน้างานก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึงเมื่อต้องกำหนดว่าทีมควรมีขนาดใหญ่แค่ไหน Jim Harter หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ฝ่าย Workplace Management and Well-Being ที่ Gallup อธิบายว่า “ขนาดของทีม — และพลวัตอื่นๆ ของทีม — มีอิทธิพลต่อความรู้สึกผูกพันต่อองค์กรก็จริง แต่ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือคุณภาพของหัวหน้างานหรือผู้นำทีม”[7]
ทีมงานมีความสุข = ทำงานมีความสุข
เรารู้แล้วว่าโดยทั่วไปทีมเล็กมักจะดี เพราะทำให้หัวหน้างานทำงานง่ายขึ้น พนักงานรู้สึกมีสำนึกรับผิดชอบมากขึ้น และลดปัญหาการกินแรงกันในบรรดาสมาชิกทีม ทุกคนรู้สึกมีความสุข และรู้สึกว่างานของตนมีคุณค่ายิ่งขึ้นเพราะได้มีบทบาทสำคัญในงานมากขึ้น
เรายังรู้อีกด้วยว่าในทางปฏิบัติเป็นไปไม่ได้ที่จะให้หลายองค์กรย่อขนาดทีมงานต่างๆ ให้เหลือเพียง 6 คน ดังนั้นสิ่งที่เราควรทำคือพัฒนาทักษะของหัวหน้างานแทน หนทางที่ได้ผลมายาวนานในการทำให้หัวหน้างานเรียนรู้ทักษะการบริหารจัดการทีมนั้น คือการฝึกอบรมและการเป็นพี่เลี้ยง (mentorship) ซึ่งทั้งสองทางนี้ต้องใช้ทั้งเวลาและเงิน
ที่ Happily.ai เรายังมีบทความอีกมาหมาย อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
เอกสารอ้างอิง
[2] Malcolm Gladwell, The Tipping Point, 2000, page 38
โฆษณา